ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 24.71 จุด ขณะนักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 2 ชั่วโมง 1 นาทีที่แล้ว
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรและมีท่าทีระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่ทางการสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานประจำเดือนก.ค.ในวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม ดาวโจนส์ปิดลบเพียงเล็กน้อยเนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าตลาดแรงงานสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้น และข่าวที่ว่าคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) เลื่อนเวลาการใช้กฎห้ามทำช็อตเซลล์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 24.71 จุด หรือ 0.27% แตะที่ 9,256.26 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 5.64 จุด หรือ 0.56% แตะที่ 997.08 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดลดลง 19.89 จุด หรือ 1% แตะที่ 1,973.16 จุด ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 1.38 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วน 3 ต่อ 2 ส่วนปริมาณการซื้อขายในตลาด Nasdaq มีอยู่ราว 2.45 พันล้านหุ้น นักลงทุนจับตาดูตัวเลขว่างงานนอกภาคการเกษตรา (nonfarm payroll) ประจำเดือนก.ค.ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยในช่วงเย็นวันนี้ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขว่างงานจะลดลง 325,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการลดลงในอัตราที่ช้าลงเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่ทรุดตัวลง 467,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนดังกล่าวจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 26 ปีที่ 9.6% คอนราด เดอควาดอส หัวหน้านักวิเคราะห์จาก RDQ Economics ในกรุงนิวยอร์ก กล่าวกับบลูมเบิร์กว่า "ตัวเลขจ้างงานเดือนก.ค.ของสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตัวในอัตราที่ช้าลง หลังจากทางการสหรัฐเผยจีดีพีไตรมาส 2 ของสหรัฐหดตัวลงในอัตรา 1%ต่อปี น้อยกว่าที่คาดว่าจะหดตัว 1.5% นับเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปีของสหรัฐ ใกล้จะสิ้นสุดลง ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และนายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐ คาดการณ์ว่าอัตราว่างงานของสหรัฐจะพุ่งขึ้นเหนือระดับ 10% ในเร็วๆนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งเฟดและไกธ์เนอร์มั่นใจว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มจะกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง หลังจากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ของสหรัฐหดตัวลงในอัตรา 1% ต่อปี น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า จะหดตัว 1.5% หลังจากตลาดอสังหาริมทรัพย์มีเสถียรภาพและรัฐบาลเพิ่มงบประมาณการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นนิวยอร์กขานรับข่าวที่ว่า SEC อาจเลื่อนเวลาในการออกคำสั่งห้ามทำชอร์ตเซลล์ในตลาดหุ้นออกไปอีกระยะหนึ่ง เพราะต้องการทราบเสียงตอบรับจากประชาชนว่าควรดำเนินการดังกล่าวหรือไม่ หลังจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัต รวมถึง นายบาร์นีย์ แฟรงค์ คณะกรรมการด้านการเงินแห่งสภาคองเกรส ได้กดดัน SEC ให้ใช้มาตรการคุมเข้มด้านการทำชอร์ตเซลล์ หลังจากดัชนี S&P 500 ร่วงลง 38% เมื่อปีที่แล้ว กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 1 ส.ค.ร่วงลง 38,000 ราย แตะระดับ 550,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ที่ 588,000 ราย แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 580,000 ราย หุ้นกลุ่มการเงินดีดตัวขึ้นหลังจากบริษัท อเมริกัน เอ็กซ์เพรส (เอเม็กซ์) รายงานว่าตัวเลขขาดทุนจากเงินกู้บัตรเครดิตชะลอตัวลง ข่าวดังกล่าวช่วยหนุนหุ้นเอเม็กซ์ปิดบวก 3.1% หุ้นซิตี้กรุ๊ปปิดบวก 6.5% ส่วนหุ้นกลุ่มค้าปลีกร่วงลงหลังจากบริษัทค้าปลีกหลายแห่งรายงานยอดขายที่ย่ำแย่ โดยหุ้นเวท ซีล ปิดลบ 1.8% และหุ้นลิมิเต็ด แบรนด์ส ปิดร่วง 13%
ภาวะตลาดหุ้นโตเกียว: นิกเกอิลบ 23.42 จุดเช้านี้ ขณะตลาดจับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 2 นาทีที่แล้ว
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปรับตัวลงในช่วงเช้าวันนี้ เพราะได้รับแรงกดดันจากการปิดลบของดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์ก นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีท่าทีระมัดระวังก่อนที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานในเย็นวันนี้
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า หลังจากตลาดเปิดทำการได้เพียง 15 นาที ดัชนีนิกเกอิขยับลง 23.42 จุด หรือ 0.23% แตะที่ระดับ 10,364.67 จุด โบรกเกอร์กล่าวว่า ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นโตเกียวซบเซาช่วงเช้านี้ หลังจากตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่นักลงทุนเทขายทำกำไรและมีท่าทีระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่ทางการสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานประจำเดือนก.ค.ในวันศุกร์ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขว่างงานจะลดลง 325,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการลดลงในอัตราที่ช้าลงเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่ทรุดตัวลง 467,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนดังกล่าวจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 26 ปีที่ 9.6% หุ้นกลุ่มรถยนต์ เหล็กและสินแร่เหล็ก และกลุ่มโลหะ ร่วงลง แต่หุ้นกลุ่มสิ่งทอ กลุ่มกระดาษและเยื่อกระดาษ และกลุ่มประกัน ดีดตัวขึ้นในช่วงเช้านี้
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดบวก 43.40 จุด หลังธนาคารกลางอังกฤษขยายโครงการซื้อพันธบัตร
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 30 นาทีที่แล้ว
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มการเงิน หลังจากธนาคารกลางอังกฤษตัดสินใจขยายตัวเวลาโครงการซื้อพันธบัตร และหลังจากมีรายงานว่าราคาบ้านและภาคการผลิตในอังกฤษปรับตัวขึ้น
สำนักข่าวบลูเบิร์กรายงาน ดัชนี FTSE 100 ปิดบวก 43.40 จุด หรือ 0.93% แตะที่ 4,690.53 จุด หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 4,647.13-4,729.58 จุด แกรี่ เบเกอร์ นักวิเคราะห์จากแบงค์ ออฟ อเมริกา กล่าวว่า นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มการเงินอย่างคับคั่ง หลังจากธนาคารกลางอังกฤษมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% และขยายโครงการซื้อพันธบัตรอีก 5 หมื่นล้านปอนด์ รวมเป็น 1.75 แสนล้านปอนด์ แม้มีสัญญาณบ่งชี้ว่าอัตราการหดตัวของเศรษฐกิจอังกฤษจะเริ่มชะลอตัวแล้วก็ตาม ธนาคารกลางอังกฤษได้เริ่มใช้โครงการ Quantitative Easing หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อผ่อนคลายแรงกดดันต่อสภาพคล่องและเพิ่มอุปทานเงินในประเทศผ่านทางการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน ทั้งนี้ ข่าวดังกล่าวช่วยหนุนหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มการเงินดีดตัวขึ้น ธนาคารลอยด์ แบงกิ้ง ปิดพุ่ง 12% หุ้นรอยัล แบงค์ ออฟ สก็อตแลนด์ ปิดบว 9.8% หุ้นเอวิวาซึ่งเป็นบริษัทประกันรายใหญ่ปิดบวก 5.4% นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนหลังจากรายงานของฮาลิแฟกซ์ที่ระบุว่า ราคาบ้านในอังกฤษเดือนก.ค.พุ่งขึ้นเกือบ 2 เท่าสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากดีมานด์อสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นขณะที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยคลี่คลายลง โดยราคาบ้านปรับตัวขึ้น 1.1% แตะ 159,623 ปอนด์ หรือ 269,850 ดอลลาร์ มากกว่าที่นักวิเคราะห์ของบลูมเบิร์กคาดว่าราคาจะขยับขึ้นเพียง 0.6% สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า ภาคการผลิตของอังกฤษในเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 0.4% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอ่อนตัวลง 0.1
ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองคำปิดร่วง $3.40 หลังดอลล์ร่วง
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 1 ชั่วโมง 19 นาทีที่แล้ว
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์ นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีท่าทีระมัดระวังก่อนที่กระทรวงพลังงานสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลจ้างงานในช่วงเย็นวันศุกร์ตามเวลาประเทศไทย
สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 962.90 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 3.40 ดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 958.20-974.30 ดอลลาร์ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 14.645 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 11.50 เซนต์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 6 เซนต์ หรือ 2.1% ปิดที่ 2.7520 ดอลลาร์/ปอนด์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1,263.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ดิ่งลง 29.70 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 271.10 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 8.10 ดอลลาร์ บลูมเบิร์กรายงานว่าสัญญาทองคำได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์ หลังจากธนาคารกลางอังกฤษและยุโรปตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานนี้ นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีท่าทีระมัดระวังก่อนที่กระทรวงพลังงานสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลจ้างงานในวันศุกร์ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขว่างงานจะลดลง 325,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการลดลงในอัตราที่ช้าลงเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่ทรุดตัวลง 467,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนดังกล่าวจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 26 ปีที่ 9.6%
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์พุ่งเทียบยูโร-ปอนด์ หลังธนาคารกลางอังกฤษ-ยุโรปตรึงดอกเบี้ย
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 51 นาทีที่แล้ว
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินยูโรและปอนด์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) หลังจากธนาคารกลางอังกฤษและยุโรปตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานี้ และหลังจากธนาคารกลางอังกฤษตัดสินใจขยายเวลาโครงการซื้อพันธบัตรเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของระบบการเงินในประเทศ นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูตัวเลขจ้างงานสหรัฐซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันศุกร์
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.40% เมื่อเทียบสกุลเงินยูโรที่ระดับ 1.4352 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธ 1.4409 ยูโร/ดอลลาร์ และทะยานขึ้น 1.18% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ 1.6780 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6981 ปอนด์/ดอลลาร์ นอกจากนี้ ดอลลาร์ดีดตัวขึ้น 0.50% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 95.380 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 94.910 เยน/ดอลลาร์ และพุ่งขึ้น 0.24% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0645 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0619 ฟรังค์/ดอลลาร์ ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.14% แตะระดับ 0.8393 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับ 0.8405 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 0.49% แตะที่ 0.6699 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.6732 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ดอลลาร์สหรัฐทะยานขึ้นแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินปอนด์ หลังจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 1% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการใช้เงินสกุลยูโรเมื่อปี 2542 ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 0.5% และขยายโครงการซื้อพันธบัตรอีก 5 หมื่นล้านปอนด์ รวมเป็น 1.75 แสนล้านปอนด์ บลูมเบิร์กรายงานว่า การตัดสินใจตรึงอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้เป็นไปตามความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอังกฤษเริ่มฟื้นตัวขึ้น ทั้งนี้ แม้มีสัญญาณบ่งชี้ว่าอัตราการหดตัวของเศรษฐกิจอังกฤษจะเริ่มชะลอตัวแล้ว แต่ธนาคารกลางอังกฤษก็ตัดสินใจที่จะดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าการตัดสินใจเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ธนาคารฯยังคงมีท่าทีระมัดระวัง และการยุติโครงการซื้อสินทรัพย์เร็วเกินไปอาจทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของอังกฤษยืดเยื้อออกไปได้ ธนาคารกลางอังกฤษได้เริ่มใช้โครงการ Quantitative Easing หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อผ่อนคลายแรงกดดันต่อสภาพคล่องและเพิ่มอุปทานเงินในประเทศผ่านทางการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน นักเศรษฐศาสตร์จากบาร์เคลย์ส แคปิตอล คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยุโรปจะขยายตัว 0.3% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวอย่างเต็มที่คงไม่ง่ายนัก เนื่องจากอัตราว่างงานยังพุ่งสูงและดัชนีราคาผู้บริโภคยังร่วงเร็วสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดว่าเศรษฐกิจยุโรปจะยังคงอ่อนแอในปีหน้า
ภาวะตลาดน้ำมัน NYMEX: วิตกตัวเลขจ้างงานสหรัฐ ถ่วงน้ำมันดิบปิดลบ 3 เซนต์
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 1 ชั่วโมง 40 นาทีที่แล้ว
สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงต่ำกว่าระดับ 72 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อตัวเลขจ้างงานของสหรัฐซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันศุกร์ และสต็อกน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นเกินคาดซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอทำให้ดีมานด์พลังงานหดตัวลงด้วย
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 3 เซนต์ ปิดที่ 71.94 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 71.94-70.60 ดอลลาร์ ขณะที่สัญญาน้ำมันเบนซินเดือนส.ค.ลดลงแตะระดับ 2.0607 ดอลลาร์/แกลลอน และสัญญาน้ำมันฮีทติ้งออยล์ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 2.02 เซนต์ ปิดที่ 1.9367 ดอลลาร์/แกลลอน ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 68 เซนต์ ปิดที่ 74.83 ดอลลาร์/บาร์เรล แอนดรูว์ เลโบว์ นักวิเคราะห์จาก MF Global กล่าวกับเอพีว่า นักลงทุนมีท่าทีระมัดระวังและเทขายสัญญาน้ำมันดิบ ก่อนที่กระทรวงพลังงานสหรัฐจะเผยตัวเลขว่างงานนอกภาคการเกษตรา (nonfarm payroll) ประจำเดือนก.ค. โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขว่างงานจะลดลง 325,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการลดลงในอัตราที่ช้าลงเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่ทรุดตัวลง 467,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนดังกล่าวจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 26 ปีที่ 9.6% นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบที่สะท้อนให้เห็นว่าดีมานด์พลังงานหดตัวลง ยังเป็นอีกปัจจัยที่กดดันสัญญาน้ำมันดิบลงด้วย โดยสต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ก.ค.พุ่งขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรล แตะที่ 349.5 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 800,000 บาร์เรล ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 161.5 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 200,000 บาร์เรล แตะที่ 212.9 ล้านบาร์เรล น้อยกว่าที่คาดว่าจะร่วงลง 1.0 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันลดลง 0.1% แตะที่ 84.5% อย่างไรก็ตาม บาร์เคลย์ส แคปิตอล คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบ NYMEX จะพุ่งขึ้นเหนือระดับ 74 ดอลลาร์/บาร์เรลในเร็วๆนี้ หลังจากราคาเคลื่อนไหวในลักษณะ “inside bar" ซึ่งบ่งชี้ว่าราคามีแนวโน้มในช่วงขาขึ้น "น้ำมันดิบ NYMEX ส่อเค้าทะยานขึ้นแตะ 74 ดอลลาร์เร็วๆนี้ ซึ่งจะเป็นการปรับตัวเหนือระดับสูงสุดของปีนี้ หลังจากราคาเคลื่อนไหวในลักษณะ inside bar โดยสัญญาน้ำมันดิบ NYMEX เดือนก.ย.ที่ทะยานขึ้นแตะ 71.97 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อคืนนี้ ได้พุ่งขึ้นไปทำนิวไฮในรอบ 1 ปีที่ 74.66 ดอลลาร์เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่น้ำมันดิบเบรนท์ตลาดลอนดอนพุ่งแตะระดับสูงสุดของปีที่ 74.89 ดอลลาร์เมื่อวันที่ 4 ส.ค." แมคเนลี เคอร์รี นักวิเคราะห์ด้านเทคนิคจากบาร์เคลย์ส แคปิตอล กล่าว
ธนาคารกลางยุโรปตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ 1% ในการประชุมวันนี้
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 13 ชั่วโมง 40 นาทีที่แล้ว
ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 1% ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของนักวิเคราะห์ ทั้งนี้ อีซีบีได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 1% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการใช้เงินสกุลยูโรเมื่อปี 2542 ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา
เยอรมนีเผยยอดสั่งซื้อโรงงานเดือนมิ.ย.ทะยานสูงสุดในรอบ 2 ปี
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 13 ชั่วโมง 54 นาทีที่แล้ว
กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อของโรงงานประจำเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้นมากสุดในรอบสองปี นับเป็นสัญญาณล่าสุดที่ชี้ว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีซึ่งมีขนาดใหญ่สุดในยุโรป กำลังฟื้นตัวจากภาวะถดถอย โดยยอดสั่งซื้อกระโดดขึ้น 4.5% จากเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2550 และเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันแล้ว ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ที่บลูมเบิร์กสำรวจความคิดเห็นคาดว่า ยอดสั่งซื้อจะขยายตัว 0.6%
ยอดสั่งซื้อดังกล่าวบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจเยอรมนีกำลังหลุดพ้นจากภาวะถดถอยครั้งรุนแรงสุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกช่วยกระตุ้นดีมานด์สินค้าส่งออก ขณะที่รัฐบาลคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเยอรมนีจะหดตัวลง 6% ในปีนี้ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนคาดว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นอย่างเร็วสุดก็ไตรมาส 3 นี้ โดยความเชื่อมั่นทางธุรกิจเองก็ปรับตัวขึ้นมาเป็นเดือนที่ 4 แล้วเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ไซมอน จังเคอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของคอมเมิร์ซแบงค์ เอจี กล่าวว่า ช่วงครึ่งหลังของปีนี้คงจะมีสัญญาณที่เป็นบวกออกมาอีก ความผันผวนเริ่มลดลงและดีมานด์เริ่มฟื้นตัวขึ้นทีละน้อย ยอดการสั่งซื้อที่สูงขึ้นในเดือนมิ.ย.ได้รับปัจจัยหนุนจากยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่ทะยานขึ้นถึง 8.3% โดยยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกจากประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรพุ่งขึ้น 13.2% ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกนอกยุโรปเพิ่มขึ้น 4.8%
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 2 ชั่วโมง 1 นาทีที่แล้ว
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรและมีท่าทีระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่ทางการสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานประจำเดือนก.ค.ในวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม ดาวโจนส์ปิดลบเพียงเล็กน้อยเนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าตลาดแรงงานสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้น และข่าวที่ว่าคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) เลื่อนเวลาการใช้กฎห้ามทำช็อตเซลล์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 24.71 จุด หรือ 0.27% แตะที่ 9,256.26 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 5.64 จุด หรือ 0.56% แตะที่ 997.08 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดลดลง 19.89 จุด หรือ 1% แตะที่ 1,973.16 จุด ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 1.38 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วน 3 ต่อ 2 ส่วนปริมาณการซื้อขายในตลาด Nasdaq มีอยู่ราว 2.45 พันล้านหุ้น นักลงทุนจับตาดูตัวเลขว่างงานนอกภาคการเกษตรา (nonfarm payroll) ประจำเดือนก.ค.ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยในช่วงเย็นวันนี้ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขว่างงานจะลดลง 325,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการลดลงในอัตราที่ช้าลงเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่ทรุดตัวลง 467,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนดังกล่าวจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 26 ปีที่ 9.6% คอนราด เดอควาดอส หัวหน้านักวิเคราะห์จาก RDQ Economics ในกรุงนิวยอร์ก กล่าวกับบลูมเบิร์กว่า "ตัวเลขจ้างงานเดือนก.ค.ของสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตัวในอัตราที่ช้าลง หลังจากทางการสหรัฐเผยจีดีพีไตรมาส 2 ของสหรัฐหดตัวลงในอัตรา 1%ต่อปี น้อยกว่าที่คาดว่าจะหดตัว 1.5% นับเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปีของสหรัฐ ใกล้จะสิ้นสุดลง ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และนายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐ คาดการณ์ว่าอัตราว่างงานของสหรัฐจะพุ่งขึ้นเหนือระดับ 10% ในเร็วๆนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งเฟดและไกธ์เนอร์มั่นใจว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มจะกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง หลังจากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ของสหรัฐหดตัวลงในอัตรา 1% ต่อปี น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า จะหดตัว 1.5% หลังจากตลาดอสังหาริมทรัพย์มีเสถียรภาพและรัฐบาลเพิ่มงบประมาณการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นนิวยอร์กขานรับข่าวที่ว่า SEC อาจเลื่อนเวลาในการออกคำสั่งห้ามทำชอร์ตเซลล์ในตลาดหุ้นออกไปอีกระยะหนึ่ง เพราะต้องการทราบเสียงตอบรับจากประชาชนว่าควรดำเนินการดังกล่าวหรือไม่ หลังจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัต รวมถึง นายบาร์นีย์ แฟรงค์ คณะกรรมการด้านการเงินแห่งสภาคองเกรส ได้กดดัน SEC ให้ใช้มาตรการคุมเข้มด้านการทำชอร์ตเซลล์ หลังจากดัชนี S&P 500 ร่วงลง 38% เมื่อปีที่แล้ว กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 1 ส.ค.ร่วงลง 38,000 ราย แตะระดับ 550,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ที่ 588,000 ราย แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 580,000 ราย หุ้นกลุ่มการเงินดีดตัวขึ้นหลังจากบริษัท อเมริกัน เอ็กซ์เพรส (เอเม็กซ์) รายงานว่าตัวเลขขาดทุนจากเงินกู้บัตรเครดิตชะลอตัวลง ข่าวดังกล่าวช่วยหนุนหุ้นเอเม็กซ์ปิดบวก 3.1% หุ้นซิตี้กรุ๊ปปิดบวก 6.5% ส่วนหุ้นกลุ่มค้าปลีกร่วงลงหลังจากบริษัทค้าปลีกหลายแห่งรายงานยอดขายที่ย่ำแย่ โดยหุ้นเวท ซีล ปิดลบ 1.8% และหุ้นลิมิเต็ด แบรนด์ส ปิดร่วง 13%
ภาวะตลาดหุ้นโตเกียว: นิกเกอิลบ 23.42 จุดเช้านี้ ขณะตลาดจับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 2 นาทีที่แล้ว
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปรับตัวลงในช่วงเช้าวันนี้ เพราะได้รับแรงกดดันจากการปิดลบของดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์ก นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีท่าทีระมัดระวังก่อนที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานในเย็นวันนี้
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า หลังจากตลาดเปิดทำการได้เพียง 15 นาที ดัชนีนิกเกอิขยับลง 23.42 จุด หรือ 0.23% แตะที่ระดับ 10,364.67 จุด โบรกเกอร์กล่าวว่า ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นโตเกียวซบเซาช่วงเช้านี้ หลังจากตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่นักลงทุนเทขายทำกำไรและมีท่าทีระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่ทางการสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานประจำเดือนก.ค.ในวันศุกร์ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขว่างงานจะลดลง 325,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการลดลงในอัตราที่ช้าลงเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่ทรุดตัวลง 467,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนดังกล่าวจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 26 ปีที่ 9.6% หุ้นกลุ่มรถยนต์ เหล็กและสินแร่เหล็ก และกลุ่มโลหะ ร่วงลง แต่หุ้นกลุ่มสิ่งทอ กลุ่มกระดาษและเยื่อกระดาษ และกลุ่มประกัน ดีดตัวขึ้นในช่วงเช้านี้
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดบวก 43.40 จุด หลังธนาคารกลางอังกฤษขยายโครงการซื้อพันธบัตร
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 30 นาทีที่แล้ว
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มการเงิน หลังจากธนาคารกลางอังกฤษตัดสินใจขยายตัวเวลาโครงการซื้อพันธบัตร และหลังจากมีรายงานว่าราคาบ้านและภาคการผลิตในอังกฤษปรับตัวขึ้น
สำนักข่าวบลูเบิร์กรายงาน ดัชนี FTSE 100 ปิดบวก 43.40 จุด หรือ 0.93% แตะที่ 4,690.53 จุด หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 4,647.13-4,729.58 จุด แกรี่ เบเกอร์ นักวิเคราะห์จากแบงค์ ออฟ อเมริกา กล่าวว่า นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มการเงินอย่างคับคั่ง หลังจากธนาคารกลางอังกฤษมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% และขยายโครงการซื้อพันธบัตรอีก 5 หมื่นล้านปอนด์ รวมเป็น 1.75 แสนล้านปอนด์ แม้มีสัญญาณบ่งชี้ว่าอัตราการหดตัวของเศรษฐกิจอังกฤษจะเริ่มชะลอตัวแล้วก็ตาม ธนาคารกลางอังกฤษได้เริ่มใช้โครงการ Quantitative Easing หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อผ่อนคลายแรงกดดันต่อสภาพคล่องและเพิ่มอุปทานเงินในประเทศผ่านทางการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน ทั้งนี้ ข่าวดังกล่าวช่วยหนุนหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มการเงินดีดตัวขึ้น ธนาคารลอยด์ แบงกิ้ง ปิดพุ่ง 12% หุ้นรอยัล แบงค์ ออฟ สก็อตแลนด์ ปิดบว 9.8% หุ้นเอวิวาซึ่งเป็นบริษัทประกันรายใหญ่ปิดบวก 5.4% นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนหลังจากรายงานของฮาลิแฟกซ์ที่ระบุว่า ราคาบ้านในอังกฤษเดือนก.ค.พุ่งขึ้นเกือบ 2 เท่าสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากดีมานด์อสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นขณะที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยคลี่คลายลง โดยราคาบ้านปรับตัวขึ้น 1.1% แตะ 159,623 ปอนด์ หรือ 269,850 ดอลลาร์ มากกว่าที่นักวิเคราะห์ของบลูมเบิร์กคาดว่าราคาจะขยับขึ้นเพียง 0.6% สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า ภาคการผลิตของอังกฤษในเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 0.4% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอ่อนตัวลง 0.1
ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองคำปิดร่วง $3.40 หลังดอลล์ร่วง
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 1 ชั่วโมง 19 นาทีที่แล้ว
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์ นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีท่าทีระมัดระวังก่อนที่กระทรวงพลังงานสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลจ้างงานในช่วงเย็นวันศุกร์ตามเวลาประเทศไทย
สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 962.90 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 3.40 ดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 958.20-974.30 ดอลลาร์ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 14.645 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 11.50 เซนต์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 6 เซนต์ หรือ 2.1% ปิดที่ 2.7520 ดอลลาร์/ปอนด์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1,263.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ดิ่งลง 29.70 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 271.10 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 8.10 ดอลลาร์ บลูมเบิร์กรายงานว่าสัญญาทองคำได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์ หลังจากธนาคารกลางอังกฤษและยุโรปตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานนี้ นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีท่าทีระมัดระวังก่อนที่กระทรวงพลังงานสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลจ้างงานในวันศุกร์ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขว่างงานจะลดลง 325,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการลดลงในอัตราที่ช้าลงเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่ทรุดตัวลง 467,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนดังกล่าวจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 26 ปีที่ 9.6%
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์พุ่งเทียบยูโร-ปอนด์ หลังธนาคารกลางอังกฤษ-ยุโรปตรึงดอกเบี้ย
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 51 นาทีที่แล้ว
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินยูโรและปอนด์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) หลังจากธนาคารกลางอังกฤษและยุโรปตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานี้ และหลังจากธนาคารกลางอังกฤษตัดสินใจขยายเวลาโครงการซื้อพันธบัตรเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของระบบการเงินในประเทศ นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูตัวเลขจ้างงานสหรัฐซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันศุกร์
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.40% เมื่อเทียบสกุลเงินยูโรที่ระดับ 1.4352 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธ 1.4409 ยูโร/ดอลลาร์ และทะยานขึ้น 1.18% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ 1.6780 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6981 ปอนด์/ดอลลาร์ นอกจากนี้ ดอลลาร์ดีดตัวขึ้น 0.50% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 95.380 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 94.910 เยน/ดอลลาร์ และพุ่งขึ้น 0.24% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0645 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0619 ฟรังค์/ดอลลาร์ ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.14% แตะระดับ 0.8393 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับ 0.8405 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 0.49% แตะที่ 0.6699 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.6732 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ดอลลาร์สหรัฐทะยานขึ้นแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินปอนด์ หลังจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 1% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการใช้เงินสกุลยูโรเมื่อปี 2542 ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 0.5% และขยายโครงการซื้อพันธบัตรอีก 5 หมื่นล้านปอนด์ รวมเป็น 1.75 แสนล้านปอนด์ บลูมเบิร์กรายงานว่า การตัดสินใจตรึงอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้เป็นไปตามความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอังกฤษเริ่มฟื้นตัวขึ้น ทั้งนี้ แม้มีสัญญาณบ่งชี้ว่าอัตราการหดตัวของเศรษฐกิจอังกฤษจะเริ่มชะลอตัวแล้ว แต่ธนาคารกลางอังกฤษก็ตัดสินใจที่จะดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าการตัดสินใจเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ธนาคารฯยังคงมีท่าทีระมัดระวัง และการยุติโครงการซื้อสินทรัพย์เร็วเกินไปอาจทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของอังกฤษยืดเยื้อออกไปได้ ธนาคารกลางอังกฤษได้เริ่มใช้โครงการ Quantitative Easing หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อผ่อนคลายแรงกดดันต่อสภาพคล่องและเพิ่มอุปทานเงินในประเทศผ่านทางการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน นักเศรษฐศาสตร์จากบาร์เคลย์ส แคปิตอล คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยุโรปจะขยายตัว 0.3% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวอย่างเต็มที่คงไม่ง่ายนัก เนื่องจากอัตราว่างงานยังพุ่งสูงและดัชนีราคาผู้บริโภคยังร่วงเร็วสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดว่าเศรษฐกิจยุโรปจะยังคงอ่อนแอในปีหน้า
ภาวะตลาดน้ำมัน NYMEX: วิตกตัวเลขจ้างงานสหรัฐ ถ่วงน้ำมันดิบปิดลบ 3 เซนต์
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 1 ชั่วโมง 40 นาทีที่แล้ว
สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงต่ำกว่าระดับ 72 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อตัวเลขจ้างงานของสหรัฐซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันศุกร์ และสต็อกน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นเกินคาดซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอทำให้ดีมานด์พลังงานหดตัวลงด้วย
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 3 เซนต์ ปิดที่ 71.94 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 71.94-70.60 ดอลลาร์ ขณะที่สัญญาน้ำมันเบนซินเดือนส.ค.ลดลงแตะระดับ 2.0607 ดอลลาร์/แกลลอน และสัญญาน้ำมันฮีทติ้งออยล์ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 2.02 เซนต์ ปิดที่ 1.9367 ดอลลาร์/แกลลอน ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 68 เซนต์ ปิดที่ 74.83 ดอลลาร์/บาร์เรล แอนดรูว์ เลโบว์ นักวิเคราะห์จาก MF Global กล่าวกับเอพีว่า นักลงทุนมีท่าทีระมัดระวังและเทขายสัญญาน้ำมันดิบ ก่อนที่กระทรวงพลังงานสหรัฐจะเผยตัวเลขว่างงานนอกภาคการเกษตรา (nonfarm payroll) ประจำเดือนก.ค. โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขว่างงานจะลดลง 325,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการลดลงในอัตราที่ช้าลงเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่ทรุดตัวลง 467,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนดังกล่าวจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 26 ปีที่ 9.6% นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบที่สะท้อนให้เห็นว่าดีมานด์พลังงานหดตัวลง ยังเป็นอีกปัจจัยที่กดดันสัญญาน้ำมันดิบลงด้วย โดยสต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ก.ค.พุ่งขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรล แตะที่ 349.5 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 800,000 บาร์เรล ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 161.5 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 200,000 บาร์เรล แตะที่ 212.9 ล้านบาร์เรล น้อยกว่าที่คาดว่าจะร่วงลง 1.0 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันลดลง 0.1% แตะที่ 84.5% อย่างไรก็ตาม บาร์เคลย์ส แคปิตอล คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบ NYMEX จะพุ่งขึ้นเหนือระดับ 74 ดอลลาร์/บาร์เรลในเร็วๆนี้ หลังจากราคาเคลื่อนไหวในลักษณะ “inside bar" ซึ่งบ่งชี้ว่าราคามีแนวโน้มในช่วงขาขึ้น "น้ำมันดิบ NYMEX ส่อเค้าทะยานขึ้นแตะ 74 ดอลลาร์เร็วๆนี้ ซึ่งจะเป็นการปรับตัวเหนือระดับสูงสุดของปีนี้ หลังจากราคาเคลื่อนไหวในลักษณะ inside bar โดยสัญญาน้ำมันดิบ NYMEX เดือนก.ย.ที่ทะยานขึ้นแตะ 71.97 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อคืนนี้ ได้พุ่งขึ้นไปทำนิวไฮในรอบ 1 ปีที่ 74.66 ดอลลาร์เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่น้ำมันดิบเบรนท์ตลาดลอนดอนพุ่งแตะระดับสูงสุดของปีที่ 74.89 ดอลลาร์เมื่อวันที่ 4 ส.ค." แมคเนลี เคอร์รี นักวิเคราะห์ด้านเทคนิคจากบาร์เคลย์ส แคปิตอล กล่าว
ธนาคารกลางยุโรปตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ 1% ในการประชุมวันนี้
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 13 ชั่วโมง 40 นาทีที่แล้ว
ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 1% ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของนักวิเคราะห์ ทั้งนี้ อีซีบีได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 1% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการใช้เงินสกุลยูโรเมื่อปี 2542 ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา
เยอรมนีเผยยอดสั่งซื้อโรงงานเดือนมิ.ย.ทะยานสูงสุดในรอบ 2 ปี
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 13 ชั่วโมง 54 นาทีที่แล้ว
กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อของโรงงานประจำเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้นมากสุดในรอบสองปี นับเป็นสัญญาณล่าสุดที่ชี้ว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีซึ่งมีขนาดใหญ่สุดในยุโรป กำลังฟื้นตัวจากภาวะถดถอย โดยยอดสั่งซื้อกระโดดขึ้น 4.5% จากเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2550 และเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันแล้ว ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ที่บลูมเบิร์กสำรวจความคิดเห็นคาดว่า ยอดสั่งซื้อจะขยายตัว 0.6%
ยอดสั่งซื้อดังกล่าวบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจเยอรมนีกำลังหลุดพ้นจากภาวะถดถอยครั้งรุนแรงสุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกช่วยกระตุ้นดีมานด์สินค้าส่งออก ขณะที่รัฐบาลคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเยอรมนีจะหดตัวลง 6% ในปีนี้ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนคาดว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นอย่างเร็วสุดก็ไตรมาส 3 นี้ โดยความเชื่อมั่นทางธุรกิจเองก็ปรับตัวขึ้นมาเป็นเดือนที่ 4 แล้วเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ไซมอน จังเคอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของคอมเมิร์ซแบงค์ เอจี กล่าวว่า ช่วงครึ่งหลังของปีนี้คงจะมีสัญญาณที่เป็นบวกออกมาอีก ความผันผวนเริ่มลดลงและดีมานด์เริ่มฟื้นตัวขึ้นทีละน้อย ยอดการสั่งซื้อที่สูงขึ้นในเดือนมิ.ย.ได้รับปัจจัยหนุนจากยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่ทะยานขึ้นถึง 8.3% โดยยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกจากประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรพุ่งขึ้น 13.2% ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกนอกยุโรปเพิ่มขึ้น 4.8%
Comments
Post a Comment