News Update : 17/08/2009

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 76.79 จุด หลังนลท.วิตกความเชื่อมั่นผู้บริโภค
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2009 07:43:00 น.
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงรุนแรงเมื่อคืนนี้ (14 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังกับรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือนสิงหาคมโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ที่ร่วงลงมากกว่าคาดการณ์ ซึ่งสร้างความกังวลว่าผู้บริโภคอาจลดการใช้จ่ายต่อไปเพราะกลัวว่าจะตกงาน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับตัวลง 76.79 จุด หรือ 0.8% แตะที่ 9,321.40 จุด หลังจากที่ร่วงลงถึง 165 จุดเมื่อได้มีการเปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 8.64 จุด หรือ 0.9% แตะที่ 1,004.09 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดร่วง 23.83 จุด หรือ 1.2% แตะที่ 1,985.52 จุด ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่เบาบางที่ 1.09 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วน 5 ต่อ 2 โดยหุ้นร่วงลงทั่วทั้งกระดาน นำโดยหุ้นกลุ่มการเงิน พลังงาน และบริษัทผลิตวัสดุ หลังจากที่หุ้นเหล่านี้เดินหน้าคึกคักในช่วงหลายวันที่ผ่านมา และแรงขายที่ส่งเข้าถ่วงตลาดในวันศุกร์ได้สกัดกั้นช่วงขาขึ้นในสองวันที่ผ่านมา และทำให้ดัชนีปิดท้ายสัปดาห์ร่วงลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์ โดยดาวโจนส์ปิดท้ายสัปดาห์ลดลง 0.5% ส่วน S&P 500 ลบ 0.6% และ Nasdaq ร่วง 0.7% ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคช่วงครึ่งแรกของเดือนสิงหาคม ลดลงสู่ระดับ 63.2 จาก 66.0 ซึ่งการใช้จ่ายของผู้บริโภคนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นจากภาวะถดถอย เนื่องจากคิดเป็นสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดในสหรัฐ โดยการเปิดเผยข้อมูลที่น่าผิดหวังล่าสุดนี้มีขึ้นเพียงหนึ่งวันหลังจากที่วานนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกในเดือนก.ค.ปรับตัวลดลง 0.1% ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.7% ขณะที่กระทรวงแรงงานเปิดเผยตัวเลขชาวสหรัฐที่ขอรับสวัสดิการระหว่างว่างงานซึ่งพุ่งสูงเกินคาดแตะที่ระดับ 558,000 ราย นอกจากนั้น เมื่อวันศุกร์ กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนก.ค.ซึ่งทรงตัว หลังจากที่ขยับขึ้นเล็กน้อยในเดือนมิ.ย. แต่ตัวเลขดังกล่าวไม่ส่งผลกับตลาดหุ้นมากนัก รวมไปถึงรายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมากเกินคาดก็ไม่ได้ดึงดูดความสนใจนักลงทุนในวอลล์สตรีทได้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไว้อยู่แล้ว นักวิเคราะห์กล่าวว่า หลังจากที่ดัชนีเดินหน้ามาเป็นเวลาหลายเดือนจากกระแสคาดการณ์เศรษฐกิจฟื้นตัว นักลงทุนก็เริ่มกลับมากังวลอีกครั้งว่าพวกเขาอาจจะตั้งความหวังไว้สูงเกนไป เมื่อพิจารณาจากการที่ผู้บริโภคยังคงลังเลที่จะนำเงินมาใช้จ่าย ลอว์เรนซ์ ครีอาตูรา จาก Federated Clover Capital Advisors กล่าวกับเอพีว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมายังไม่ใช่ข้อมูลในเชิงบวกทั้งหมด ดังนั้นยังคงต้องมีการสู้กันต่อไประหว่างข่าวดีและข่าวร้ายจนกระทั่งเราเข้าสู่เดือนใหม่

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: FTSE 100 ปิดลบ 41.49 จุด หลังความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐร่วง
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2009 09:17:00 น.
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (14 ส.ค.) หลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐที่ลดลง ซึ่งจุดกระแสวิตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจไม่ได้ฟื้นตัวแข็งแกร่งอย่างที่หวังไว้ โดยเอชเอสบีซีและโวดาโฟนเป็นแกนนำให้ตลาดร่วงลงปิดแดนลบ
บลูมเบิร์กรายงานว่า ดัชนี FTSE 100 ปิดปรับตัวลง 41.49 จุด หรือ 0.9% แตะที่ 4,713.97 จุด ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนสิงหาคมโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ลดลงสู่ระดับ 63.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแค่เดือนมี.ค. ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 68.5 จากระดับ 66.0 ในช่วงปลายเดือนก.ค. โดยเมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปีที่ 55.3 ผลสำรวจดังกล่าวชี้ว่า ชาวอเมริกันจำนวนมากยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของตัวเอง ทำให้ยังไม่กล้าใช้จ่าย แม้จะเชื่อว่าเศรษฐกิจในภาพรวมจะดีขึ้นก็ตาม ซึ่งการใช้จ่ายของผู้บริโภคนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นจากภาวะถดถอย เนื่องจากคิดเป็นสัดส่วนถึง 2 ใน 3 หรือราว 70% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดในสหรัฐ โดยการเปิดเผยข้อมูลน่าผิดหวังล่าสุดนี้มีขึ้น หลังจากที่เมื่อวันพฤหัสบดี กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกในเดือนก.ค.ปรับตัวลดลง 0.1% ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.7% ในตลาดหุ้นลอนดอน หุ้นเอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ พีแอลซี ธนาคารรายใหญ่สุดของยุโรป ลบ 2.8% และ โวดาโฟน กรุ๊ป พีแอลซี บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่สุดของโลก ลบ 2% ขณะหุ้นบริติช แลนด์ โค กระโดดขึ้น 3.9% หลังจากที่หนังสือพิมพ์เดลี่ เทเลกราฟ รายงานว่า บริษัทอาจดึงดูดข้อเสนอเทคโอเวอร์มูลค่า 1 หมื่นล้านปอนด์ (1.7 หมื่นล้าน) จากกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงลักษมี มิทตัล และตระกูลผู้ปกครองอาบูดาบี หุ้นแฮมเมอร์สัน พีแอลซี บวก 1.7% และ ลิเบอร์ตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล พีแอลซี บวก 1.7%

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 1 ชั่วโมง 22 นาทีที่แล้ว
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงรุนแรงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (14 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังกับรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือนสิงหาคมโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ที่ร่วงลงมากกว่าคาดการณ์ ซึ่งสร้างความกังวลว่าผู้บริโภคอาจลดการใช้จ่ายต่อไปเพราะกลัวว่าจะตกงาน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับตัวลง 76.79 จุด หรือ 0.8% แตะที่ 9,321.40 จุด หลังจากที่ร่วงลงถึง 165 จุดเมื่อได้มีการเปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 8.64 จุด หรือ 0.9% แตะที่ 1,004.09 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดร่วง 23.83 จุด หรือ 1.2% แตะที่ 1,985.52 จุด สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กดิ่งลงกว่า 4% แตะที่ระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (14 ส.ค.) หลังจากที่มีการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือนสิงหาคมโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ที่ร่วงลงผิดไปจากความคาดหมาย ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และบั่นทอนความหวังที่ว่าความต้องการใช้น้ำมันกำลังปรับตัวสูงขึ้น สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.ย.ร่วงลง 3.01 ดอลลาร์ หรือ 4.27% ปิดที่ 67.51 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนก.ค. หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 67.12 - 71.60 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (14 ส.ค.) เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และราคาน้ำมันดิบดิ่งลงเกือบถึง 3 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ ที่ลดทอนความน่าดึงดูดใจของทองคำในฐานะการลงทุนเพื่อเก็งกำไร สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 7.80 ดอลลาร์ หรือ 0.4% ปิดที่ 948.70 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 949.80-963.10 ดอลลาร์ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (14 ส.ค.) หลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐที่ลดลง ซึ่งจุดกระแสวิตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจไม่ได้ฟื้นตัวแข็งแกร่งอย่างที่หวังไว้ โดยเอชเอสบีซีและโวดาโฟนเป็นแกนนำให้ตลาดร่วงลงปิดแดนลบ บลูมเบิร์กรายงานว่า ดัชนี FTSE 100 ปิดปรับตัวลง 41.49 จุด หรือ 0.9% แตะที่ 4,713.97 จุด ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ยกเว้นเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (14 ส.ค.) หลังจากมีการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐที่อ่อนแอ ซึ่งได้ช่วยดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาซื้อสกุลเงินดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ทั้งนี้ ดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 0.31% แตะที่ 1.0731 ฟรังค์สวิส จากระดับ 1.0698 ฟรังค์สวิส และเพิ่มขึ้น 1.22% เมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา แตะ 1.0995 ดอลลาร์ จาก 1.0863 ในวันพฤหัสบดี แต่ลดลง 0.61% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 94.800 เยน จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 95.380 เยน ส่วนยูโรอ่อนค่าลง 0.70% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ 1.4186 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4286 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี และร่วงลง 1.36% เมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ 134.48 เยน จากวันก่อนที่ 136.34 เยน

ภาวะตลาดน้ำมัน NYMEX: น้ำมันดิบปิดทรุดแตะ $67.51 หลังเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐลดลง
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2009 08:35:00 น.
สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กดิ่งลงกว่า 4% แตะที่ระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์เมื่อคืนนี้ (14 ส.ค.) หลังจากที่มีการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือนสิงหาคมโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ที่ร่วงลงผิดไปจากความคาดหมาย ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และบั่นทอนความหวังที่ว่าความต้องการใช้น้ำมันกำลังปรับตัวสูงขึ้น
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.ย.ร่วงลง 3.01 ดอลลาร์ หรือ 4.27% ปิดที่ 67.51 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนก.ค. หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 67.12 - 71.60 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันเบนซินส่งมอบเดือนก.ย.ร่วงลง 8.12 เซนต์ แตะ 1.938 ดอลลาร์/แกลลอน และสัญญาน้ำมันฮีทติ้งออยล์ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 6.18 เซนต์ ปิดที่ 1.841 ดอลลาร์/แกลลอน ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนก.ย.ร่วงลง 1.07 ดอลลาร์ ปิดที่ 72.41 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยสัญญาน้ำมันดิบ รวมถึงตลาดหุ้นวอลล์สตรีทได้รับแรงขายกดดัน หลังจากที่ได้มีการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคช่วงต้นเดือนสิงหาคม ลดลงสู่ระดับ 63.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแค่เดือนมี.ค. ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 68.5 จากระดับ 66.0 ในช่วงปลายเดือนก.ค. โดยเมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปีที่ 55.3 สำนักข่าวเอพีรายงานว่า รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังมาพร้อมกับรายงานผลประกอบที่อ่อนแอจากผู้ค้าปลีกรายใหญ่ อาทิ Abercrombie & Fitch Co. ซึ่งเผยยอดขายลดลงในระดับตัวเลขสองหลักเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน J.C. Penney Co. รายงานผลขาดทุนในไตรมาสสอง พร้อมคาดการณ์ว่ายอดขายจะย่ำแย่ตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้ หลังจากที่วันพฤหัสบดี กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกในเดือนก.ค.ปรับตัวลดลง 0.1% ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.7% ขณะที่กระทรวงแรงงานเปิดเผยตัวเลขชาวสหรัฐที่ขอรับสวัสดิการระหว่างว่างงานซึ่งพุ่งสูงเกินคาดแตะที่ระดับ 558,000 ราย ทั้งนี้ ผลสำรวจโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนชี้ว่า ชาวอเมริกันจำนวนมากยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของตัวเอง ทำให้ยังไม่กล้าใช้จ่าย แม้จะเชื่อว่าเศรษฐกิจในภาพรวมจะดีขึ้นก็ตาม ซึ่งการใช้จ่ายของผู้บริโภคนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นจากภาวะถดถอย เนื่องจากคิดเป็นสัดส่วนถึง 2 ใน 3 หรือราว 70% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดในสหรัฐ ขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบยูโร หลังจากที่อ่อนตัวมา 3 วัน ได้ลดความน่าดึงดูดใจให้เทรดเดอร์เข้าซื้อน้ำมันในฐานะการลงทุนทางเลือกเพื่อเก็งกำไรด้วยเช่นกัน อองตวน ฮัลฟฟ์ นักวิเคราะห์จากบ.นิวเอดจ์ กล่าวว่า ราคาน้ำมันจะมุ่งสู่ช่วงขาลงในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ถ้าเศรษฐกิจยังไม่ส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากกว่านี้ โดยดีมานด์พลังงานจากผู้บริโภคและธุรกิจต่างๆที่ยังซบเซา จะกดดันให้นักลงทุนที่เข้าซื้อน้ำมันเพื่อเก็งกำไรจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ถอนตัวไปในที่สุด

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ราคาทองปิดร่วง $7.80 หลังราคาน้ำมันทรุด-ดอลล์แข็งค่า
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2009 08:56:00 น.
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (14 ส.ค.) เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และราคาน้ำมันดิบดิ่งลงเกือบถึง 3 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ ที่ลดทอนความน่าดึงดูดใจของทองคำในฐานะการลงทุนเพื่อเก็งกำไร
สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 7.80 ดอลลาร์ หรือ 0.4% ปิดที่ 948.70 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 949.80-963.10 ดอลลาร์ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 14.722 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 26.5 เซนต์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 7.80 เซนต์ ปิดที่ 2.8360 ดอลลาร์/ปอนด์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1261.70 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 11 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 277.25 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 90 เซนต์ โดยสัญญาน้ำมันดิบ รวมถึงตลาดหุ้นวอลล์สตรีทได้รับแรงขายกดดัน หลังจากที่ได้มีการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคช่วงต้นเดือนสิงหาคม ลดลงสู่ระดับ 63.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแค่เดือนมี.ค. ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 68.5 จากระดับ 66.0 ในช่วงปลายเดือนก.ค. โดยเมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปีที่ 55.3 การเปิดเผยข้อมูลที่น่าผิดหวังล่าสุดนี้มีขึ้นเพียงหนึ่งวันหลังจากที่เมื่อวันพฤหัสบดี กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกในเดือนก.ค.ปรับตัวลดลง 0.1% ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.7% ทั้งนี้ ผลสำรวจโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนชี้ว่า ชาวอเมริกันจำนวนมากยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของตัวเอง ทำให้ยังไม่กล้าใช้จ่าย แม้จะเชื่อว่าเศรษฐกิจในภาพรวมจะดีขึ้นก็ตาม ซึ่งการใช้จ่ายของผู้บริโภคนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นจากภาวะถดถอย เนื่องจากคิดเป็นสัดส่วนถึง 2 ใน 3 หรือราว 70% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดในสหรัฐ ขณะเดียวกันในตลาดปริวัตรเงินตรา ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเกือบ 2 เซนต์ เมื่อเทียบยูโร หลังจากที่อ่อนตัวมา 3 วัน ได้ลดความน่าดึงดูดใจให้เทรดเดอร์เข้าซื้อน้ำมันและโลหะมีค่าในฐานะการลงทุนทางเลือกเพื่อเก็งกำไรด้วยเช่นกัน

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลลาร์แข็งค่า หลังความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐอ่อนแอ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2009 10:05:00 น.
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ยกเว้นเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ส.ค.) หลังจากมีการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐที่อ่อนแอ ซึ่งได้ช่วยดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาซื้อสกุลเงินดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
ทั้งนี้ ดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 0.31% แตะที่ 1.0731 ฟรังค์สวิส จากระดับ 1.0698 ฟรังค์สวิส และเพิ่มขึ้น 1.22% เมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา แตะ 1.0995 ดอลลาร์ จาก 1.0863 ในวันพฤหัสบดี แต่ลดลง 0.61% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 94.800 เยน จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 95.380 เยน ส่วนยูโรอ่อนค่าลง 0.70% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ 1.4186 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4286 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี และร่วงลง 1.36% เมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ 134.48 เยน จากวันก่อนที่ 136.34 เยน ขณะที่ เงินปอนด์อ่อนค่า 0.34% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ แตะที่ 1.6523 ดอลลาร์ จากระดับ 1.6579 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี โดยสัญญาน้ำมันดิบ รวมถึงตลาดหุ้นวอลล์สตรีทได้รับแรงขายกดดัน หลังจากที่ได้มีการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคช่วงต้นเดือนสิงหาคมโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ลดลงสู่ระดับ 63.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแค่เดือนมี.ค. ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 68.5 จากระดับ 66.0 ในช่วงปลายเดือนก.ค. โดยเมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปีที่ 55.3 นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงนั้น เชื่อมโยงกับปัจจัยแวดล้อมในตลาดแรงงานที่สะท้อนให้เห็นได้จากการจ้างงานที่ยังคงลดลงในเดือนก.ค. รวมไปถึงการกดดันเรื่องค่าจ้างและเงินเดือน ด้านธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น 0.5% ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เดือนต.ค.ปีที่แล้ว ขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานราคาผู้บริโภคเดือนก.ค.ที่ทรงตัวจากเดือนมิ.ย. เนื่องจากราคาพลังงานที่ลดลง โดยราคาผู้บริโภคร่วงลง 2.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งแย่ที่สุดในรอบสิบปี

ญี่ปุ่นเผย GDP Q2/52 ขยายตัว 3.7%ต่อปี ทำสถิติขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 1 ชั่วโมง 9 นาทีที่แล้ว
สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ขยายตัวในอัตรา 3.7%ต่อปี หรือ 0.9%ต่อไตรมาส ซึ่งเป็นสถิติที่ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะขยายตัว 3.6%ต่อปี หรือ 0.9%ต่อไตรมาส
การเปิดเผยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 มีขึ้นหลังจากญี่ปุ่นเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.พุ่งขึ้น 1.8 จุด แตะระดับ 39.4 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.ปี 2550 ซึ่งเป็นสถิติที่ปรับตัวขึ้น 7 เดือนติดต่อกัน และยอดสั่งซื้อเครื่องจักร ซึ่งเป็นปัจจัยชี้วัดการลงทุนในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้น 9.7% ในเดือนมิ.ย. แตะระดับ 7.328 แสนล้านเยน มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในโพลล์เกียวโดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 3.1% นอกจากนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (ทังกัน) ของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่น รวมถึงผู้ผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิก และสินค้าประเภทอื่นๆ ในเดือนมิ.ย. โดยระบุว่า ดัชนีปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -48 จุด จากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมี.ค.ที่ -58 จุด อย่างไรก็ตาม เซอิจิ ชาราอิชิ หัวหน้านักวิเคราะห์จาก HSBC Securities Japan Ltd ในกรุงโตเกียว คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจไม่ขยายตัวอย่างยั่งยืน เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทั่วโลกที่มีมูลค่ารวมกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ไม่สามารถกระตุ้นยอดขายรถยนต์ของญี่ปุ่นได้ รวมถึงยอดขายของโตโยต้า มอเตอร์ และคูโบต้า คอร์ป นอกจากนี้ กว่า 40% ของโรงงานผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นยังคงปิดทำการ แม้หลายบริษัทพยายามลดต้นทุนและลดการจ้างงานแล้วก็ตาม บลูมเบิร์กรายงาน

เกิดแผ่นดินไหว 6.8 ริกเตอร์ที่ญี่ปุ่นเช้านี้ มีการเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 28 นาทีที่แล้ว
สำนักงานธรณีวิทยาญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เกิดแผ่นดินไหว 6.8 ริกเตอร์บริเวณนอกชายฝั่งตอนใต้ของญี่ปุ่นในช่วงเช้าวันนี้ พร้อมกับประกาศเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิที่เกาะมิยาโกะและจังหวัดโคกินาว่า โดยจุดที่เกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเกาะอิชิกาคิ ราว 1,600 กิโลเมตร ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้เสียชีวิตจนถึงขณะนี้
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากเกิดแผ่นดินไหว 6.5 ริกเตอร์ในจังหวัดชิสุโอกะทางตอนกลางของญี่ปุ่นและพื้นที่โดยรอบ รวมถึงกรุงโตเกียวในช่วงเช้าวันนี้ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 40 ราย อีกทั้งส่งผลให้บริษัท ชูบุ อิเล็กทริก เพาเวอร์ ต้องปิดโรงงานนิวเคลียร์ฮามาโอกะ 2 แห่ง และบริษัท เซ็นทรัล เจแปน แอร์เวย์ ได้ระงับการให้บริการเดินรถไฟหัวกระสุนชินคังเซนและรถไฟในท้องถิ่นในบางส่วนของจังหวัดนาโงยาเป็นการชั่วคราว สำนักข่าวเกียวโดรายงาน

น้ำมันดิบ NYMEX ดิ่งแตะ $67.45 หลังสหรัฐเผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคดิ่งเกินคาด
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 54 นาทีที่แล้ว
สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX ซึ่งมีการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดสิงคโปร์ ร่วงลงใกล้แตระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ในช่วงเช้าวันนี้ เนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าดีมานด์พลังงานในสหรัฐอาจลดลงและสต็อกน้ำมันดิบในสหรัฐอาจพุ่งขึ้นเหนือความคาดหมาย นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงหลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ดิ่งลงเกินความคาดหมาย
บลูมเบิร์กรายงานว่า ณ เวลา 07.33 น.ตามเวลาสิงคโปร์ สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX เดือนก.ย.ลดลง 6 เซนต์ ปิดที่ 67.45 ดอลลาร์/บาร์เรล จากระดับปิดที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ 67.51 ดอลลาร์ สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX ร่วงลงอย่างหนัก หลังจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วงต้นเดือนส.ค.ลดลงสู่ 63.2 จาก 66.0 ในเดือนก.ค. ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 68.5 โดยดัชนีร่วงลงเป็นเดือนที่ 2 และดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติรายงานว่า พายุโซนร้อน "คลอเดท" ซึ่งเป็นพายุลูกแรกในสหรัฐฤดูกาลนี้ อาจเคลื่อนตัวเขาสู่ชายฝั่งตะวันตกของรัฐฟลอริด้า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้คงคาดการณ์ความต้องการน้ำมันทั่วโลกในปีนี้ไว้ และคาดว่าความต้องการน้ำมันในปี 2553 จะเพิ่มขึ้น 5 แสนบาร์เรลต่อวัน พร้อมกับคาดการณ์ว่า ความต้องการน้ำมันดิบทั่วโลกโดยเฉลี่ยในปีนี้ จะอยู่ที่ 83.91 ล้านบาร์เรลต่อวัน และอาจจะสูงถึง 84.41 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีหน้า

ตลาดหุ้นได้กำลังใจจากยุโรป นักวิเคราะห์เชื่อจะพุ่งอีกสองสามเดือน

หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น สรุปข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ -- 1 ชั่วโมง 33 นาทีที่แล้ว
หุ้นโลกพุ่งสูงสุดในรอบ 10 เดือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลการเติบโตในเขตเงินยูโรและรายได้ที่เป็นบวกจากวอล-มาร์ท นักวิเคราะห์ชี้ นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นและเริ่มระมัดระวังในการลงทุนน้อยลง เชื่อหุ้นจะคงอยู่ในรูปแบบนี้ไปจนถึงไตรมาสสุดท้าย

Comments