Business
- การมีความคิดสร้างสรรค์อย่างเดียวไม่เพียงพอ เราจะต้องมีจิตวิญญาณ เพราะจิตวิญญาณมันเป็นตัวทำให้ความคิดสร้างสรรค์ขับเคลื่อน เช่น Apple มี Steve Job ที่เป็นตัวขับเคลื่อน
- เมล็ดพันธ์แห่งความงอกงามของเศรษฐกิจ มาจากรากฐานเศรษฐกิจที่เกิดจากผู้ประกอบการ (SME หรือ entrepreneur economy) โดยเมื่อ entrepreneur economy + Creative Economy + สังคมอุดมปัญญา จะกลายเป็นเมล็ดพันธ์ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
- สินค้าที่วางที่เคาเตอร์เก็บเงิน บางทีก็เรียกว่า "สินค้าเผลอใจ"
- ธุรกิจจะอยู่รอดไม่รอด จะวัดกันที่คุณสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่
Free the future of a radical price
ในโลกของฟรี มีอะไรบ้าง
1. ถ้าสินค้าหรือบริการตัวนั้นอยู่ในโลกดิจิตัล ไม่ช้าจะฟรีแน่นอน เนื่องจากต้นทุนต่ำมากจนเป็นศูนย์ เช่น mail สมัยก่อนที่ให้พื้นที่จำกัดน้อยมาก จนตอนนี้ให้พื้นที่แยะมากไม่ว่าจะเป็นเจ้าไหนๆ ในตลาด
2. ของที่เป็นชิ้นหรือจับต้องได้ มีแนวโน้มจะเป็นของฟรี แต่อาจจะไม่เร็วเหมือนสินค้า digital
>>> ของที่ฟรีจะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เป็นจำนวนมาก เช่น orange เมื่อเข้าตลาดใหม่ ที่มี AIS และ DTAC แข่งกันอย่างดุเดือด ต้องทำอย่างไร สิ่งที่ orange ทำคือ การแจกมือถือฟรี ทำให้คนที่ไม่เคยใช้มือถือมาก่อน ก็จะหันมาใช้ ส่วนคนที่ใช้มือถือเก่าก็จะหันมาใช้ด้วย จึงได้market share ไปในตัว
3. เรื่องของฟรีมันเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว เพราะฉะนั้นไม่มีใครจะไปควบคุมมันได้ ว่าจะไม่ฟรีหรือตามจับ
Personal Scenario Planning
การปรับใช้ Scenario Planing กับตัวเอง (การวางแผนภาพฉายในอนาคต) ไม่ใช่การพยากรณ์ เป้าหมายเพื่อเผชิญกับอนาคตที่อาจะจะเกิดขึ้นได้ จะเป็น guide line เพื่อไปสู่อนาคต เพื่อสร้างความได้เปรียบ การสร้างภาพฉายอาจจะเกิดจากการตั้งคำถามว่าในอนาคตอีก 5 ปีท่านจะอยู่ตรงไหน แล้วเป็นสิ่งที่ท่านสามารถไปได้จริงด้วย
หลักของมันก็คือ
1. จงระบุสิ่งที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดปัญหากับคุณในอนาคต และจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น
2. เราต้องมาสร้างกลยุทธ์ เพื่อจะอยู่รอด เราจะสามารถก้าวล้ำหน้าคนอื่นในจุดนี้นั่นเอง
รายละเอียดการวางภาพฉาย
1. ระบุว่ามีปัจจัยอะไรที่จะมาขับเคลื่อนอาชีพของเรา จะมี trend อะไรที่จะมาเกิดในอาชีพคุณ และจะมีเหตุการณ์อะไรที่จะมากระทบต่อสิ่งที่คุณตั้งเป้าว่าจะทำในอนาคต
2. สร้าง grid matrix โดยเอาสิ่งหรือเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้น มากที่สุด 2 ประการ จากที่เรา list มาทั้งหมด นำมาลงใน grid matrix ตามแนวนอนปัจจัยหนึ่ง และแนวตั้งปัจจัยหนึ่ง เสร็จแล้วก็แบ่งปัจจัยดังกล่าว เพื่อแยกเป็นว่า เกิดไม่เกิด ตามช่องดังกล่าว ทั้งสองปัจจัย จะเห็นว่าเกิดช่องว่างขึ้นสี่ช่อง และนั่นแหล่ะคือสิ่งที่เรา
จะต้องคิดกลยุทธ์ sketch ภาพว่าจะทำอย่างไร ในสถานการณ์ต่างๆ ที่แยกออกเป็น 4 ช่องดังกล่าว
3. จินตนาการถึงอนาคตที่เป็นไปได้ เป็นการ sketch ภาพ ลง 4 ช่องดังกล่าว
4. ระดมสมองหานัยสำคัญของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มองหามูลค่าเพิ่มของสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น เขียนรายการนัยสำคัญของแต่ละ Scenario แล้วเราจะทำอย่างไร
5. ตามติดตัวชี้วัดต่างๆ ที่เราได้ทำขึ้นในข้อ 4 ว่ามันมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน
6. เก็บข่าวต่างๆ ที่เกิดเกี่ยวข้องกับภาพฉายของเราไว้ใน อาจจะ shot note ไว้ก่อน และอย่าลืมวันและเวลาที่ข่าวเกิดขึ้น และประเมินพัฒนาการของสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทุก 3 เดือน หรือถ้าสามารถก็ดูเป็นเดือน จากนั้น ปรับกลยุทธ์ในการดำเนินการถึง อนาคตทีกำลังจะเกิดขึ้น
ความแตกต่าง (Differentiate)
การสร้างความแตกต่าง
- เราจะต้องสร้างความแตกต่าง อย่างมียุทธศาสตร์ อย่างมีกลยุทธ์ ไม่งั้นอาจจะสร้างได้ แต่ภาพมันจะไม่ชัดเจน
- ของทุกอย่างสามารถสร้างความแตกต่างได้ทั้งสินค้าและบริการ มันจะไม่มีของที่เราเรียกว่า สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เนื่องจาก ถ้าเรามองสินค้าหรือบริการของเรา 360 องศา เราก็สร้างความแตกต่างได้
- ข้อยกเว้น เรื่องเดียวที่ของทุกอย่างสร้างความแตกต่างไม่ได้ คือ คุณเชื่อว่ามันสร้างความแตกต่างไม่ได้
การสร้างความแตกต่าง
- การสร้างความแตกต่างเป็นการฉีกตัวเอง ทางการตลาดก็คือ เป็นการฉีก offering การนำเสนอต่อลูกค้า จากผู้อื่น
- เวลาเราจะออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ถ้าในตลาดมีคู่แข่งที่แข็งแรงอยู่แล้ว ท่านจะต้องไม่เข้าไปแข่งขันในปริมณฑล ที่คู่แข่งขันมีความแข็งแกร่งอยู่แล้ว โดยการออกผลิตภัณฑ์ที่แท้จริงแล้วนั้น เราจะต้องไปถามผู้บริโภคว่าต้องการอะไรกันแน่
- นวัตรกรรม นำมาสู่ ความแตกต่าง
- การสร้างความแตกต่างให้สินค้าอุตสาหกรรม เช่น CPAC เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ที่กำลังเปลี่ยนมาเป็นสินค้าอุปโภค บริโภค โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อผ่านทาง 7-11 ได้เลย สรุปก็คือ การจะเปลี่ยนสินค้าจากอุตสาหกรรมไปเป็นสินค้าอุปโภค บริโภค ได้นั้น คุณต้องเดินไปหาผู้บริโภคเอง โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นแกนกลาง
- หลักการตลาดในเรื่องของ Segmentation บอกว่า ถ้าคุณคิดว่าคนทุกคนเป็นลูกค้าของคุณ จะไม่มีใครเป็นลูกค้าของคุณเลย เฉกเช่นเดียวกับหลักของการวางกลยุทธ์ของตัวท่านเอง ถ้าคุณคิดว่าคุณทำได้ทุกอย่างโดยตัวคุณ ก็แปลว่าคุณทำอะไรไม่ได้เลย
- การสร้างความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภค บริโภค หรือสินค้าอุตสาหกรรม สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้ แต่ควรเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้เพราะ สิ่งที่จับต้องไม่ได้จะเป็นตัวสร้างคุณค่าให้กับบริษัทท่าน ซึ่งมันจะเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับลูกค้า สิ่งที่จับต้องไม่ได้จึงเหมาะกับการสร้างความแตกต่าง
- สินค้าทั่วๆ ไป (generic product) จะสร้างความแตกต่างได้อย่างไร สิ่งที่สร้างความแตกต่าง ไม่ใช่ที่ Product แต่อยู่ที่ Offering ที่มีให้กับผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นตัวนำลูกค้าใหม่เข้ามา เช่น KTC ที่ทำบัตรเครดิตแยกตามการใช้จ่ายของลูกค้า และมีลวดลายบัตรแตกต่างกันออกไป นิ่เรียกว่าการสร้างความแตกต่างที่ Offering
Offering vs. Deliver : แตกต่างกันอย่างไร
Offer : เป็นสิ่งที่เรานำเสนอก่อน หรือเป็นการบอกสิ่งที่ลูกค้าจะได้ เช่น การขายประกัน เพื่อเป็นการหาลูกค้าใหม่
Deliver : เป็นสิ่งที่ให้บริการลูกค้าจริงๆ รักษาฐานลูกค้าเก่า
สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities product)
1. โดยปกติสินค้าประเภทนี้จะสู้กันด้วยราคา ซึ่งความแตกต่างจะวัดได้
2 สิ่งที่เราจะขายต้อง กลับมาถามว่า อะไรคือคุณค่าที่ลูกค้าอยากได้
อยู่อย่างไรในวิกฤต
- เราต้องคิดในลักษณะเหตุการณ์ที่แย่ที่สุด (Worse case scenario) ว่าถ้ามันเกิดขึ้นแล้วเราจะทำอย่างไร เราจะอยู่รอดได้อย่างไร เช่น ในกรณีที่เราเป็นลูกจ้างกินเงินเดือน ถ้าคิดว่าถ้าพรุ่งนี้ไม่มีเงินเดือนเราจะทำอย่างไร Scenario = ภาพฉาย วิธีการแบบหนึ่ง คือ ภาพฉายแบบเลวร้ายที่สุด
- การใช้ Social network อาจจะไม่ได้ทำให้ท่าน ขายของดีขึ้น แต่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค
- พนักงานระดับล่างจะต้องไปหาว่าเศษอาหารอยู่ตรงไหน ส่วนผู้บริหารระดับบนจะต้องบินสูงไปว่าเพื่อดูว่าเกสรอยู่ตรงไหน
- การที่เราจะลดต้นทุน ไม่ใช่ลดแบบตัดโน่นตัดนิ่ มุ่งเน้นแต่จะตัดค่าใช้จ่ายอย่างเดียว แต่จงเน้นการลดต้นทุนแบบมีนวัตกรรม (Innovation) เช่น ธ.ไทยพาณิชย์ ที่หันมาลดต้นทุน โดยจับไปที่ slip atm ถามลูกค้าว่าต้องการ slip หรือไม่ ถ้าลองไม่สัก 50% ก็สามารถลดต้นทุนได้มาก จนถึงตอนนี้มาตรการดังกล่าวประสบความสำเร็จ
มาก จนธนาคารอื่นก็มาดำเนินการตามเช่นกัน
- การมีความคิดสร้างสรรค์อย่างเดียวไม่เพียงพอ เราจะต้องมีจิตวิญญาณ เพราะจิตวิญญาณมันเป็นตัวทำให้ความคิดสร้างสรรค์ขับเคลื่อน เช่น Apple มี Steve Job ที่เป็นตัวขับเคลื่อน
- เมล็ดพันธ์แห่งความงอกงามของเศรษฐกิจ มาจากรากฐานเศรษฐกิจที่เกิดจากผู้ประกอบการ (SME หรือ entrepreneur economy) โดยเมื่อ entrepreneur economy + Creative Economy + สังคมอุดมปัญญา จะกลายเป็นเมล็ดพันธ์ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
- สินค้าที่วางที่เคาเตอร์เก็บเงิน บางทีก็เรียกว่า "สินค้าเผลอใจ"
- ธุรกิจจะอยู่รอดไม่รอด จะวัดกันที่คุณสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่
Free the future of a radical price
ในโลกของฟรี มีอะไรบ้าง
1. ถ้าสินค้าหรือบริการตัวนั้นอยู่ในโลกดิจิตัล ไม่ช้าจะฟรีแน่นอน เนื่องจากต้นทุนต่ำมากจนเป็นศูนย์ เช่น mail สมัยก่อนที่ให้พื้นที่จำกัดน้อยมาก จนตอนนี้ให้พื้นที่แยะมากไม่ว่าจะเป็นเจ้าไหนๆ ในตลาด
2. ของที่เป็นชิ้นหรือจับต้องได้ มีแนวโน้มจะเป็นของฟรี แต่อาจจะไม่เร็วเหมือนสินค้า digital
>>> ของที่ฟรีจะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เป็นจำนวนมาก เช่น orange เมื่อเข้าตลาดใหม่ ที่มี AIS และ DTAC แข่งกันอย่างดุเดือด ต้องทำอย่างไร สิ่งที่ orange ทำคือ การแจกมือถือฟรี ทำให้คนที่ไม่เคยใช้มือถือมาก่อน ก็จะหันมาใช้ ส่วนคนที่ใช้มือถือเก่าก็จะหันมาใช้ด้วย จึงได้market share ไปในตัว
3. เรื่องของฟรีมันเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว เพราะฉะนั้นไม่มีใครจะไปควบคุมมันได้ ว่าจะไม่ฟรีหรือตามจับ
Personal Scenario Planning
การปรับใช้ Scenario Planing กับตัวเอง (การวางแผนภาพฉายในอนาคต) ไม่ใช่การพยากรณ์ เป้าหมายเพื่อเผชิญกับอนาคตที่อาจะจะเกิดขึ้นได้ จะเป็น guide line เพื่อไปสู่อนาคต เพื่อสร้างความได้เปรียบ การสร้างภาพฉายอาจจะเกิดจากการตั้งคำถามว่าในอนาคตอีก 5 ปีท่านจะอยู่ตรงไหน แล้วเป็นสิ่งที่ท่านสามารถไปได้จริงด้วย
หลักของมันก็คือ
1. จงระบุสิ่งที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดปัญหากับคุณในอนาคต และจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น
2. เราต้องมาสร้างกลยุทธ์ เพื่อจะอยู่รอด เราจะสามารถก้าวล้ำหน้าคนอื่นในจุดนี้นั่นเอง
รายละเอียดการวางภาพฉาย
1. ระบุว่ามีปัจจัยอะไรที่จะมาขับเคลื่อนอาชีพของเรา จะมี trend อะไรที่จะมาเกิดในอาชีพคุณ และจะมีเหตุการณ์อะไรที่จะมากระทบต่อสิ่งที่คุณตั้งเป้าว่าจะทำในอนาคต
2. สร้าง grid matrix โดยเอาสิ่งหรือเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้น มากที่สุด 2 ประการ จากที่เรา list มาทั้งหมด นำมาลงใน grid matrix ตามแนวนอนปัจจัยหนึ่ง และแนวตั้งปัจจัยหนึ่ง เสร็จแล้วก็แบ่งปัจจัยดังกล่าว เพื่อแยกเป็นว่า เกิดไม่เกิด ตามช่องดังกล่าว ทั้งสองปัจจัย จะเห็นว่าเกิดช่องว่างขึ้นสี่ช่อง และนั่นแหล่ะคือสิ่งที่เรา
จะต้องคิดกลยุทธ์ sketch ภาพว่าจะทำอย่างไร ในสถานการณ์ต่างๆ ที่แยกออกเป็น 4 ช่องดังกล่าว
3. จินตนาการถึงอนาคตที่เป็นไปได้ เป็นการ sketch ภาพ ลง 4 ช่องดังกล่าว
4. ระดมสมองหานัยสำคัญของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มองหามูลค่าเพิ่มของสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น เขียนรายการนัยสำคัญของแต่ละ Scenario แล้วเราจะทำอย่างไร
5. ตามติดตัวชี้วัดต่างๆ ที่เราได้ทำขึ้นในข้อ 4 ว่ามันมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน
6. เก็บข่าวต่างๆ ที่เกิดเกี่ยวข้องกับภาพฉายของเราไว้ใน อาจจะ shot note ไว้ก่อน และอย่าลืมวันและเวลาที่ข่าวเกิดขึ้น และประเมินพัฒนาการของสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทุก 3 เดือน หรือถ้าสามารถก็ดูเป็นเดือน จากนั้น ปรับกลยุทธ์ในการดำเนินการถึง อนาคตทีกำลังจะเกิดขึ้น
ความแตกต่าง (Differentiate)
การสร้างความแตกต่าง
- เราจะต้องสร้างความแตกต่าง อย่างมียุทธศาสตร์ อย่างมีกลยุทธ์ ไม่งั้นอาจจะสร้างได้ แต่ภาพมันจะไม่ชัดเจน
- ของทุกอย่างสามารถสร้างความแตกต่างได้ทั้งสินค้าและบริการ มันจะไม่มีของที่เราเรียกว่า สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เนื่องจาก ถ้าเรามองสินค้าหรือบริการของเรา 360 องศา เราก็สร้างความแตกต่างได้
- ข้อยกเว้น เรื่องเดียวที่ของทุกอย่างสร้างความแตกต่างไม่ได้ คือ คุณเชื่อว่ามันสร้างความแตกต่างไม่ได้
การสร้างความแตกต่าง
- การสร้างความแตกต่างเป็นการฉีกตัวเอง ทางการตลาดก็คือ เป็นการฉีก offering การนำเสนอต่อลูกค้า จากผู้อื่น
- เวลาเราจะออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ถ้าในตลาดมีคู่แข่งที่แข็งแรงอยู่แล้ว ท่านจะต้องไม่เข้าไปแข่งขันในปริมณฑล ที่คู่แข่งขันมีความแข็งแกร่งอยู่แล้ว โดยการออกผลิตภัณฑ์ที่แท้จริงแล้วนั้น เราจะต้องไปถามผู้บริโภคว่าต้องการอะไรกันแน่
- นวัตรกรรม นำมาสู่ ความแตกต่าง
- การสร้างความแตกต่างให้สินค้าอุตสาหกรรม เช่น CPAC เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ที่กำลังเปลี่ยนมาเป็นสินค้าอุปโภค บริโภค โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อผ่านทาง 7-11 ได้เลย สรุปก็คือ การจะเปลี่ยนสินค้าจากอุตสาหกรรมไปเป็นสินค้าอุปโภค บริโภค ได้นั้น คุณต้องเดินไปหาผู้บริโภคเอง โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นแกนกลาง
- หลักการตลาดในเรื่องของ Segmentation บอกว่า ถ้าคุณคิดว่าคนทุกคนเป็นลูกค้าของคุณ จะไม่มีใครเป็นลูกค้าของคุณเลย เฉกเช่นเดียวกับหลักของการวางกลยุทธ์ของตัวท่านเอง ถ้าคุณคิดว่าคุณทำได้ทุกอย่างโดยตัวคุณ ก็แปลว่าคุณทำอะไรไม่ได้เลย
- การสร้างความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภค บริโภค หรือสินค้าอุตสาหกรรม สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้ แต่ควรเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้เพราะ สิ่งที่จับต้องไม่ได้จะเป็นตัวสร้างคุณค่าให้กับบริษัทท่าน ซึ่งมันจะเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับลูกค้า สิ่งที่จับต้องไม่ได้จึงเหมาะกับการสร้างความแตกต่าง
- สินค้าทั่วๆ ไป (generic product) จะสร้างความแตกต่างได้อย่างไร สิ่งที่สร้างความแตกต่าง ไม่ใช่ที่ Product แต่อยู่ที่ Offering ที่มีให้กับผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นตัวนำลูกค้าใหม่เข้ามา เช่น KTC ที่ทำบัตรเครดิตแยกตามการใช้จ่ายของลูกค้า และมีลวดลายบัตรแตกต่างกันออกไป นิ่เรียกว่าการสร้างความแตกต่างที่ Offering
Offering vs. Deliver : แตกต่างกันอย่างไร
Offer : เป็นสิ่งที่เรานำเสนอก่อน หรือเป็นการบอกสิ่งที่ลูกค้าจะได้ เช่น การขายประกัน เพื่อเป็นการหาลูกค้าใหม่
Deliver : เป็นสิ่งที่ให้บริการลูกค้าจริงๆ รักษาฐานลูกค้าเก่า
สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities product)
1. โดยปกติสินค้าประเภทนี้จะสู้กันด้วยราคา ซึ่งความแตกต่างจะวัดได้
2 สิ่งที่เราจะขายต้อง กลับมาถามว่า อะไรคือคุณค่าที่ลูกค้าอยากได้
อยู่อย่างไรในวิกฤต
- เราต้องคิดในลักษณะเหตุการณ์ที่แย่ที่สุด (Worse case scenario) ว่าถ้ามันเกิดขึ้นแล้วเราจะทำอย่างไร เราจะอยู่รอดได้อย่างไร เช่น ในกรณีที่เราเป็นลูกจ้างกินเงินเดือน ถ้าคิดว่าถ้าพรุ่งนี้ไม่มีเงินเดือนเราจะทำอย่างไร Scenario = ภาพฉาย วิธีการแบบหนึ่ง คือ ภาพฉายแบบเลวร้ายที่สุด
- การใช้ Social network อาจจะไม่ได้ทำให้ท่าน ขายของดีขึ้น แต่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค
- พนักงานระดับล่างจะต้องไปหาว่าเศษอาหารอยู่ตรงไหน ส่วนผู้บริหารระดับบนจะต้องบินสูงไปว่าเพื่อดูว่าเกสรอยู่ตรงไหน
- การที่เราจะลดต้นทุน ไม่ใช่ลดแบบตัดโน่นตัดนิ่ มุ่งเน้นแต่จะตัดค่าใช้จ่ายอย่างเดียว แต่จงเน้นการลดต้นทุนแบบมีนวัตกรรม (Innovation) เช่น ธ.ไทยพาณิชย์ ที่หันมาลดต้นทุน โดยจับไปที่ slip atm ถามลูกค้าว่าต้องการ slip หรือไม่ ถ้าลองไม่สัก 50% ก็สามารถลดต้นทุนได้มาก จนถึงตอนนี้มาตรการดังกล่าวประสบความสำเร็จ
มาก จนธนาคารอื่นก็มาดำเนินการตามเช่นกัน
Comments
Post a Comment