The IKEA Effect (1)

วันก่อนได้มีโอกาสไปเดิน SB Design Square บางนา กม.4 ที่เพิงเปิดตัวอย่าอลังการงานสร้างเมื่อ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา แห่ม ใหญ่จริงครับ ใหญ่กว่า Index Living Mall ที่เลยไปหน่อย (น่าจะ กม. 5) เฟอร์นิเจอร์ก็แยะมาก แต่ออกจะสไตล์หรูๆ แปลกๆ ไม่ค่อยได้เห็นเท่าไหร่ ก็ถือเป็นการเปิดตัวตัดหน้า ก่อนที่ IKEA จะเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 3 พ.ย. นี้ วันนี้เลยนำบทความในมุมมองของการปรับตัวของธุรกิจในไทยบ้าง เพื่อการต้อนรับน้องใหม่อย่าง IKEA โดยเฉพาะ SB Furniture และ Index Living Mall ที่น่าจะมีผลกระทบอย่างจังกันเลยทีเดียว

The IKEA Effect

IKEA เป็นอีกแบรนด์ดังระดับโลกที่ตัดสินใจเปิดสาขาในในไทย “หลังจากใช้เวลาถึง 8 ปีเต็มเพื่อทำดีลลงทุนกับกลุ่มสยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ IKEA จะเป็น “ปรากฏการณ์” เหมือนกับที่เคยทำสำเร็จมาแล้วทั่วโลกหรือไม่ อีก 3 ปีรู้ผล (ผมขอ update หน่อยว่าอีกไม่ถึงเดือน เราก็จะได้เห็นกันแล้ว) แต่การมาของ IKEA ก็ทำให้แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไทย สะท้านทีเดียว

IKEA จัดเป็นแบรนด์ที่สร้างความนิยมไปทั่วโลก ถึงกับถูกยกย่องว่าเป็นปรากฏการณ์ มาแทนที่วงดนตรี ABBA และรถยนต์วอลโว่ ในฐานะสินค้าส่งออกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสวีเดน โดยมีสาขาอยู่ทั่วโลก ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเชีย

กลยุทธ์ที่สร้างความสำเร็จให้กับ IKEA คือ การสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า นอกจากสาขาจะอยู่ห่างไกลแถบชานเมืองแล้ว เฟอร์นิเจอร์ของ IKEAหาซื้อไม่ได้ง่ายๆ แล้ว เฟอร์นิเจอร์ออกแบบให้เป็นระบบน็อกดาวน์ นอกจากประหยัดในการขนส่งแล้ว การที่ลูกค้าต้องประกอบเฟอร์นิเจอร์ด้วยตัวเอง ทำให้ใกล้ชิด และมีประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์

ด้วยโมเดลธุรกิจแบบแหวกแนว สร้างการเรียนรู้ให้กับลูกค้า โดยไม่สนความต้องการของลูกค้านี้เอง ทำให้ IKEA กลายเป็นแบรนด์ที่เติบโตเร็วที่สุด ที่สามารถขยายเข้าไปยังตลาดสำคัญๆ

ส่วนการเปิดสาขาในไทย เป็นการลงทุนระหว่าง IKEA และบริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ หรือ เอสเอฟ เชี่ยวชาญและเด่นชัดในเรื่องศูนย์การค้าแนวไลฟ์สไตล์ เข้าถึงลูกค้าประเภทเทรนดี้ และตลาดรีเทล ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มเดียวกับ IKEA

สาขาในไทยนั้น จะใช้เนื้อที่ขนาดใหญ่ ในรูปแบบที่เรียกว่า Power Center ซึ่งเป็นส่วนผสมของ IKEA สโตร์ และช้อปปิ้งพลาซ่า ใช้เนื้อที่ 4 แสนตารางเมตร ตั้งอยู่พื้นที่ขนาด 290 ไร่ บนถนนบางนาตราด กิโลเมตรที่ 9 ด้วยมูลค่าลงทุน 1 หมื่นล้านบาท



ในรายละเอียดของการลงทุนนั้น สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จะถือหุ้น 49% ร่วมกับ IKANO Group ซึ่งเป็นแฟรนไชส์ของ IKEA ที่บริหารงานโดยคนในตระกูล Kampard ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก Ingvar Kampard ผู้ก่อตั้ง 49% และงานนี้ IKEA ยังเปิดให้ เอสพีเอส โกลบอล เทรด ซัพพลายเออร์ไทย เจ้าประจำของ IKEA ถือหุ้นอีก 2%

ทอม ฮูเซล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิคาโน่ จำกัด บอกว่า การเลือกเปิดสาขาในกรุงเทพฯ นั้นเนื่องจากเหมาะกับ IKEA เพราะเป็น Global Vibrant City ซึ่งทุกเมืองที่คุณลักษณะเช่นนี้เหมาะที่จะรองรับ IKEA ได้

“เมืองทุกเมืองที่เป็น Global Vibrant City เหมาะสมที่จะมี IKEA และเชื่อว่าคนกรุงเทพฯ ยังมีกำลังซื้อ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ หรือคนทุกเพศทุกวัยที่ Young at Heart มีชีวิตที่ทันสมัย สนุกกับการตกแต่งบ้านด้วยตัวเองจากผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายดีไซน์ของ IKEA ในราคาที่สมเหตุสมผล”


ทั้งนี้ IKEA ในเมืองไทยจะมีพื้นที่เกือบ 40,000 ตารางเมตร หรือคิดเป็น 10% จากพื้นที่ทั้งหมดของ Mega Bangna 400,000 ตารางเมตร ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าสาขาที่มาเลเซีย (35,000 ตร.ม.) และสิงคโปร์ (31,400 ตร.ม.) จะทำให้ไทยเป็นสาขาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีขนาดใกล้เคียงกับสาขาโตเกียว และคาดว่าจะกลายเป็น Home Furnishing Destination ของเมืองไทยภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว


นพพร วิฑูรชาติ จาก SF การร่วมลงทุนเป็นไปตามคอนเซ็ปต์ IKEA Store + Shopping Arcade ที่มี Big box หลากหลาย ทั้งโรงภาพยนตร์ ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ ไฮเปอร์มาร์เก็ต และอื่นๆ จะช่วยทำให้ Mega Bangna ได้รับความสนใจและมีสีสันมากขึ้น โดยนพพรคาดว่าจะมีคนเข้ามาที่ศูนย์แห่งนี้ราว 40 ล้านคน

สำเร็จมาแล้วทั่วโลก

IKEA ติดอยู่ในลำดับที่ 35 จากการจัดอันดับแบรนด์ยุโรปที่มีมูลค่าสูงสุด ของนิตยสาร Financial Times ด้วยมูลค่าแบรนด์ 10,913 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มียอดขายทั่วโลกในปี 2551 อยู่ที่ 31,098.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นร้านเฟอร์นิเจอร์ของครอบครัวเด่นที่ Loyalty Program และล่าสุดจากงาน World Retail Congress 2009 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน เมื่อพฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา IKEA ได้รับคัดเลือกให้เป็นแบรนด์ค้าปลีกที่ได้รับความน่าเชื่อถือที่สุดในโลก


นอกจากสินค้าจะราคาไม่แพง การสร้างความแตกต่างจากร้าค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์รายอื่นๆ เช่น การจัดเส้นทางการช้อปปิ้งแบบวันเวย์ คือเข้า-ออก ทางเดียว ทำให้ลูกค้าเดินผ่านทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ของ IKEA และการดิสเพลย์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการตกแต่งแบบ D.I.Y. เป็นต้น

IKEA Food เป็นอีกจุดขาย ที่ให้บริการอาหารราคาถูก โดยทอม ฮูเซล บอกว่า จะเป็นร้านอาหารขนาด 600 ที่นั่ง ใหญ่กว่าสาขามาเลเซียที่มีขนาด 480 ที่นั่ง

“อาหารจะมีทั้ง Swedish Food และอาหารไทย ซึ่งเป็นส่วนผสมของร้านอาหารของ IKEA อยู่แล้วที่จะต้องมี Local Food ด้วย เพื่อรองรับลูกค้าของเราที่เฉลี่ยแล้วจะใช้บริการใน IKEA ประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อคนต่อครั้ง”



โดยในส่วนของ IKEA Food เฉลี่ยแล้วจะทำยอดขายประมาณ 5% ให้กับ IKEA แต่ที่สิงคโปร์มีรายได้จากอาหารถึง 15%

แม้ IKEA จะยังไม่เอ่ยถึงแผนการลงทุนในตลาดภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม แต่สำหรับในกรุงเทพฯ แล้ว อาจมีถึง 3 สาขา

“สาขาที่ 2 และสาขาที่ 3 อาจจะเปิดที่กรุงเทพฯ อีกก็ได้ เพราะยังมีศักยภาพ มีหลายพื้นที่ที่น่าสนใจ ด้วยจำนวนประชากรที่อยู่อาศัยนับ 10 ล้านคน” ฮูเซล เอ่ยถึงแผนลงทุนในอนาคตแบบคร่าวๆ

ปล. บทความ IKEA Effect เป็นของ คุณอรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์ ครับ แต่ยังไม่จบแค่นี้นะครับ ตอนต่อไป เราจะมาดูกันว่า แล้วเจ้าถิ่นอย่าง SB Furniture และ Index Living Mall จะมีวิธีรับมือการมาของ IKEA อย่างไรกัน

Comments