ช่วง : คุณโชค บูลกุล (9 กพ.- 27 กพ.52)

หลักในการเจรจาต่อรอง
หลักการ
1. การต่อรองต้องมีศิลปะการบริหารช่วงเวลาว่า ช่วงไหนเราควรขอ ช่วงไหนเราควรยอม
2. ก่อนเจรจาอย่างเป็นทางการจะนั่งคุยกับผู้มีอำนาจตัดสินใจนอกรอบก่อน เพื่อมองให้เห็นกรอบและเนื้อหาโดยรวม และสรุปในหลักการในสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกันก่อน
3. ต่อจากนั้นมีจะมีการประชุมต่อรองจริง ควรส่งผู้ใต้บังคับบัญชาลงไปคุยแทน เพื่อสงวนท่าทีได้ว่าจะต้องขอไปปรึกษานายก่อน เพราะถ้าคนที่มีอำนาจการตัดสินใจมาเองอาจจะปฏิเสธการที่ต้องตัดสินใจเลยลำบาก
4. เราควรควรคุยกันให้รู้เรื่อง เรื่องผลประโยชน์ก่อน ยอมรับซึ่งกันและกันได้ไหม และต่อด้วยหลักการจัดการ ซึ่งจะเห็นว่า มาตรฐานของบริษัทเราและเขาแตกต่างกันแค่ไหน สุดท้ายแล้วจึงมา Promote
5. การทำ MOU จะทำเป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจาก Promote แล้ว เพื่อดูว่า เราทำงานเข้ากันได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จะได้เลิกกันไป
6. ต้องมีความอะลุ่มอะหล่วยบ้างในบางครั้ง ไม่จุกจิกในบางเรื่อง มีความจริงใจ
มุมมองในการเจรจาต่อรอง
- เมื่อธุรกิจเริ่มเติบโต จะบ้า บู้ ล้าง ผลาญเหมือนช่วงวิกฤตไม่ได้ มันต้องมีชั้นเชิง ว่าอะไรยอมเสีย อะไรควรได้ อะไรไม่ควรได้ อะไรไม่ใช่ของเราก็อย่าไปเอา อย่าไปโลภ ซึ่งมันเป็นเรื่องยาก
บทเรียนเกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง
- ความไม่เข้าใจ จากบุคคลที่ไม่ได้ร่วมโต๊ะเจรจาตั้งแต่แรก เข้ามาช่วงกลาง แล้วไปตีความว่าเราเอาเปรียบ
- ระดับจัดการน่าจะมีปัญหามากกว่าผู้ใหญ่ของแต่ละบริษัท เนื่องจาก ต้องมีการทำงานร่วมกันของทั้งสองบริษัท ทำให้ได้เห็นนิสัยใจคอ และทัศนคติการทำงาน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในได้

การทำให้องค์กรบริการจากใจ
- การให้บริการเป็นเรื่องของจิตสำนึก เอาใจใส่กับลูกค้า เป็นเรื่องของการแสดงออกให้ลูกค้าสัมผัสเราได้
- ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับพนักงานทุกระดับ ปลูกจิตสำนึกให้เขารักในหน้าที่ ให้เขาเข้าใจว่า ธุรกิจบริการมันเป็นงานที่องค์กรต้องทำเสมอและเอาใจใส่เนื่องจาก จะแสดงถึงเป็นองค์กรที่เอาใจใส่ทุกจุด ไม่ใช่เรื่องแต่ภาพลักษณ์ที่ดูสวยงามอะไรทำให้คนสองคนแตกต่างระหว่างคนที่อยากให้บริการกับคนที่ไม่ค่อยเอาใจใส่
- เป็นเรื่องของจิตสำนึก เนื่องจากในโลกทุนนิยมทุกวันนี้ มันเป็นโลกของการสร้างภาพ ทำอะไรด้วยใจรักน้อยลง ทำให้ธุรกกิจบริการผูกอยู่กับ ทุนในเรื่องของ market share ใครจะมี chain หรือ สถานที่ เพื่อบริการลูกค้าได้มากกว่ากัน และการอบรมพนง. มันเป็นเรื่องของหลักสูตร หลักการและระบบ ซึ่งทำได้แค่ผิวเผิน เพราะท้ายสุด ถ้าคนไม่ได้รักในการบริการจริงๆ ลูกค้าก็สามารถสัมผัสได้ว่า ทำเพราะต้องทำ หรือทำเพราะใจรักจริงๆ
องค์กรมีส่วนในการจิตสำนึกขนาดไหน
- วัฒนธรรมองค์กร คือ ทุกอย่าง ถ้าเราสร้างองค์กรที่มีใจรักในการบริการจริงๆ คนใหม่ที่เข้ามาทุกคนก็ต้องปรับตัวเข้าหา หรือถ้าองค์กรมีวัฒนธรรม ที่ไม่ดี ก็ส่งผลต่อพฤติกรรมของ พนง.
- เราต้องเอาใจใส่ พนง. และปลูกจิตสำนึก จากตัวผู้บริหารเอง มันเป็นเรื่องของการเอาใจใส่ เห็นคุณค่าของเขาในฐานะของตัวแทนองค์กรที่จะเข้าถึงลูกค้า ไม่ใช่ผู้บริหารที่เป็น brand ambassador แต่เป็นตัวพนักงานที่ได้สัมผัสกับลูกค้าจริงๆ
- Passion ของผู้บริหาร จะต้องสื่อไปให้ถึงผู้ใต้บังคับบัญชาว่าอยากจะทำอะไรให้ได้ดีให้ได้ ผู้ใต้บังคับบัญชาจะได้รับรู้ได้จากความปรารถนาจากผู้บังคับบัญชา มากกว่าคำพูด
- การบริการอย่าให้เป็น double standard
- การให้บริการ ต้องเกิดจากใจรัก และเกิดจากการปลูกฝังจากวัฒนธรรมองค์กรที่พูดถึงคุณค่าตรงนี้สม่ำเสมอ
- โลกสมัยใหม่เวลาหาคนเข้าทำงานจะมีอยู่ 2 ประเภท 1) ประเภทอยากทำงานเหนื่อยน้อยแต่ได้เงินมาก ซึ่งทำให้คนประเภทนี้แข่งกันเองจนต้องหาวิธีการที่ทำให้ตนเองอยู่ได้ 2) ทำงานมาก เงินน้อย อยากได้ชีวิตที่มีความมั่นคง จะมีความชัดเจนในเรื่องของการเอาใจใส่งาน และมีความภูมิใจในอาชีพที่ทำ ซึ่งองค์กรจะต้องช่วยเสริมด้วยว่าเขามีความสำคัญเป็นหน้าที่สำคัญ เป็นเรื่องของจิตวิทยา
- คนเรา tip เพราะอะไร 60-70% เพราะ feel good ที่เกิดจาก พนักงานจำรายละเอียดการใช้บริการของลูกค้าได้

คนเราเกิดมาเพื่อเตรียมตัวตาย
- มันเป็นการคิด ที่ช่วยให้เราเตรียมตัวกับชิวิตอย่ตลอด
- ชีวิต คือทำอย่างไรก็ได้ให้มีความสุข แต่ไม่เบียดเบียนคนอื่น
- เชื่อว่าถ้าเรารู้พรุ่งนี้เราต้องตาย พฤติกรรมเราจะเปลี่ยน เราจึงจะต้องมีการเตรียมตัวตลอด เหมือนกับการบริหารความเสี่ยง ถ้าพรุ่งนี้เราต้องตายเราจะทำอย่างไร
- การทำธุรกิจจึงต้องคิดเชิงเตรียมตัวไว้ตลอด มันจะเตือนสติตลอดไม่ให้เราหลงทางกับสิ่งที่เราทำอยู่
- เราลองฝึกจิตในการตั้งคำถามกับตัวเองทุกเช้าว่า ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของเรา อะไรคือสิ่งที่เราอยากทำ การที่เราฝึกจิต ฝึกคุยกับตัวเราเอง ในรูปแบบนี้ทุกวัน มันจะช่วยกล่อมกล่มจิตใจของเราให้มันนิ่งขึ้น เข้าใจถึงเหตุผลในการทำสิ่งใดๆ ก็ตาม การที่เราคิดแบบนี้ มันจะช่วยให้เราตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชิวิตได้บ้าง
- คำตอบที่เราได้จากการคิดอย่างเตรียมตัว สมมติว่ามันจะเกิดขึ้น ส่วนใหญ่มันน่าจะเป็นเรื่องที่ดี จะเป็นแบบฝึกหัดใหม่ๆ ให้กับการดำเนินชีวิตของเรา เกิดมิติใหม่ในการมองโลก
- การวางแผนธุรกิจก็เช่นเดียวกัน จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นจากการที่เราคิดว่าไปเองว่าไม่น่าจะเกิด หรือไม่น่าจะเร็วอย่างนี้ หรือว่าไม่น่าจะเกิดในรูปแบบนี้
- วิกฤตที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ ภาวะโลกร้อน มนุษย์ล้วนรู้และเข้าใจว่ามันจะเกิดขึ้น แต่ยังไม่ตระหนัก ทำธุรกิจก็เอาแต่ได้เอาแต่กำไรเพิ่มๆขึ้นไว้ก่อน การดำเนินชีวิต ก็ยังคงเป็นไปตามปกติที่ไม่ได้ช่วยลดภาวะโลกร้อนอะไรเลย ซึ่งมนุษย์คิดว่ามันยังไม่ถึงขั้นวิกฤตที่มนุษย์จะอยู่บนโลกนี้ หรือส่งผลโดยตรงกับตัวเอง จึงรับรู้แต่ไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต หรือการดำเนินธุรกิจ
- การเตรียมตัว เกิดจากการที่เราคิดแบบย่อเวลา ว่าถ้าเราไม่ได้มีชีวิตยืนยาวเหมือนอย่างที่เราเคยคิด ซึ่งถ้าชีวิตเราเหลืออยู่แค่ 2 ปี เราจะใช้ชีวิตเหมือนวันนี้ไหม
- การที่ทุกวันนี้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "Back to Basic" อะไรบางอย่างที่ขึ้นไปจนจุดสูงสุด มันก็ต้องกลับมาที่จุดเริ่มต้นทั้งนั้น การที่เราหลุดออกจากเบสิคจนเกินไป เนื่องจากการที่มนุษย์นั้นมีสติปัญญา เราจึงใช้สติปัญญานั้นมาสร้างเงื่อนไขให้กับชีวิตเราเอง ซึ่งบางทีมันไม่จำเป็น แต่เพราะเราอยากคิดและอยากพัฒนาไปเรื่อย จากการที่ได้รับอิทธิพลจากการหลักการทางทำธุรกิจ การตลาดต่างๆ
- การเปลี่ยนแปลงที่เราจะคิดจะพัฒนานั้น ต้องถามว่ามันดีจริงหรือไม่ หรือแค่เป็นผลทางการตลาด เพื่อทำให้ขายของได้มากขึ้น โลกสมัยใหม่มันจึงอยากให้คนรีบเปลี่ยนจะได้ขายของให้มากขึ้น มันจึงกลายเป็นจิตสำนึกใหม่ปลูกฝังให้มนุษย์เราอยากบริโภคมาก อยากเปลี่ยนเร็ว อยากหรูขึ้น ทั้งๆ ที่ความจำเป็นแล้วไม่ใช่ เราจึงต้องย้อนกลับไปคิดว่า พรุ่งนี้ตาย เรายังอยากจะอยากอีกไหม ทุกคนจะมีคำตอบที่แตกต่างกัน
- เราต้องสมมติ จินตนาการดูว่าถ้าเราจะต้องตาย เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือไม่ ซึ่งท้ายสุด จะต้องเป็นคนมีบุญจริงๆ ถึงจะเชื่อในภาพที่เราเห็น เข้าใจในภาพที่เป็น คนที่มีกรรม จะมองไม่ทะลุ จะติดอยู่บ่วงกรรมของความละโมบ โลภ ไม่เชื่อในภาพที่ตัวเองสมมติ

Comments