ช่วง : อ.สมภพ เจริญกุล (1 กค.- 31 กค.52)

ความเห็นจาก Guru สิงค์โปร์
ช่วงนี้เป็นจังหวะที่ดีที่จะลงทุนทำธุรกิจ เพราะ
1. ต้นทุนต่ำ : จึงควรจะลงทุนหรือเปิดธุรกิจตอนนี้ และสามารถต่อรองกับ supplier ได้ดีกว่า ซึ่งเศรษฐกิจตอนนี้เราต้องรู้จักต่อรองรอบด้าน
2. การแข่งขันลดลง : เนื่องจาก บริษัทที่อ่อนแอ ออกไปหมดแล้วเหลือแต่ที่แข็งแรง จึงยังมีพื้นที่ว่าง
3. คนเก่งคนดีมีให้เลือกมาก : เนื่องจากคนตกงานมาก และจ้างได้ในราคาที่สมเหตุสมผล
- ข้อควรระวังในการเริ่มต้นทำธุรกิจ
1. Financing : ต้องมีแหล่งที่มาและพอเพียง ที่สำคัญไม่ลงทุนจนเกินตัวเกินไป
2. Interesting : เราชอบและสนใจในสิ่งที่เราจะทำ
3. Realism : มองตามความเป็นจริง ไม่ใช่เพ้อฝัน
4. Strategic : ต้องลงไปทำธุรกิจอย่างมีกลยุทธ์ มีการวางแผน
5. Timing : ทำในจังหวะที่ถูกต้อง
6. Encouragement : ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว
7. Planing : การวางแผน ถ้าเราไม่วางแผน เราเตรียมแผนล้มเหลวได้เลย และแผนที่ดีต้องมีแผนสำรอง
- นักธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์ ต้องมีสมดุลทางความคิด ไม่ใช่แค่เพียงคิดแตกต่าง ในยามที่เศรษฐกิจแย่ มองให้เห็นถึงโอกาส ยามที่เศรษฐกิจดี ก็มองถึงการบริหารความเสี่ยง ระมัดระวังมากขึ้น
- การตัดสินใจจะมี 3 ช่วง
1. Certainty
2. Risk
3. Uncertainty
>>> ความไม่แน่นอนกับความเสี่ยงแตกต่างกันตรงที่ ความเสี่ยงสามารถมีความน่าจะเป็น (Probability) คือมีโอกาสที่จะเกิดหรือไม่เกิด สามารถประเมินได้ แต่ความไม่แน่นอนไม่มีความน่าจะเป็น ประเมินไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึง Risk ก็คือ การพูดถึงความน่าจะเป็น

ทำไม (WHY???)
- คำว่าทำไม จะมีความจำเป็นต่อการบริการงาน เพราะมันสามารถหารากเหง้าไปถึงปัญหาได้
- Toyota มีวัฒนธรรมี่ว่าทุกครั้งที่เกิดปัญหา ให้ถามว่าทำไม 5 ครั้ง
- เราจะปรับใช้กับองค์กรอย่างไร
1. ต้องสร้างวัฒนธรรมขององค์กร ให้เกิดการตั้งคำถามว่าทำไม โดยผู้นำต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่างก่อน เพราะผู้นำสามารถที่จะเปลี่ยนวัฒนธรรมได้
2. ต้องยอมรับความเป็นจริง ว่าการตัดสินใจอะไรมันไม่สมบูรณ์
3. ต้องหยิบมาปรึกษาหารือ กันอย่างจริงจัง
4. ถามคำว่าทำไม อย่างต่อเนื่อง
5. อย่าใช้ลางสังหรณ์ หรือความใกล้ชิดส่วนตัวเป็นองค์ประกอบของการตัดสินใจ
- แล้วทำไมผู้บริหารถึงไม่ค่อยตั้งคำถามว่าทำไม
1. มึนและงงกับปัญหา
2. ไม่ละเอียดรอบคอบในการแก้ปัญหา แก้ให้ผ่านๆไป
3. ไม่เอาใจใส่ต่อเรื่องแผนและเป้าหมาย
4. ไม่อยากเสียเวลาในการหาคำตอบ
5. เชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป
6. มัวแต่คิดถึงผล แต่ไม่คิดถึงสาเหตุ
7. ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ
8. อย่ามองข้ามบางเรื่องแม้จะเป็นเรื่องเล็ก
- การตั้งคำถามว่าทำไม นำไปสู่รากเหง้าของปัญหาได้อย่างไร
>>> เพราะถามมากก็ต้องหาข้อมูลมาก ต้องมองลึกมากขึ้น ทำให้เกิดความกระจ่างมากขึ้น
- เพราะฉะนั้น นักบริหารที่ดี ต้องเป็นคนขี้สงสัย เชิงสร้างสรรค์ (อย่าระแวงและจับผิด) ต้องรู้จักถาม รู้จักพอดี รู้จักสถานการณ์

ธุรกิจสำเร็จได้อย่างไร
สัจธรรมของความรุ่งโรจน์ของบริษัท
1. ความอดทน
2. ความพยายาม
3. จังหวะเวลา
4. การมองหาโอกาส
5. รู้จักจับโอกาส
6. รู้จักมัธยัสถ์
7. ไม่หยุดนิ่ง
แล้วเราจะรักษาความรุ่งโรจน์ได้อย่างไร
1. ต้องกระจายความเสี่ยง
2. ต้องระมัดระวัง
3. ละเอียดรอบคอบ
4. ข้อมูลชัดเจน
5. ประมาณแต่พอตัว

ล้มก่อนแล้วค่อยลุก
- ความล้มเหลวมีคุณค่าต่อความสำเร็จ
- ทำไมคนที่ประสบความล้มเหลวมาก่อน จึงสามารถประสบความสำเร็จได้มากกว่าที่ไม่เคยล้มเหลว
>>> เป็นหลักธรรมชาติ เนื่องจาก เกิดจากการเรียนรู้จากความล้มเหลวที่เกิดขึ้น อย่าไปถามว่าทำไมต้องเกิดแก่ฉัน ควรจะขอบคุณด้วยซ้ำซึ่งถือว่าความล้มเหลว ถือเป็นค่าเล่าเรียนเพื่อที่จะสำเร็จ
- คนที่ล้มเหลวตลอดเวลา มักจะโทษเรื่องบุญเรื่องกรรม
>>> เรายิ่งพยายาม เรายิ่งต้องสำเร็จ เรื่องบุญกรรมเป็นเรื่องประกอบ
- การดำเนินธุรกิจที่ดีต้องยึดว่า
1. High Risk High Return
2. อย่ายึดติดกับ กับความล้มเหลว

Comments