Logistic Performance Index (LPI)


Logistic Performance Index (LPI) หรือดัชนีชี้ประสิทธิภาพทาง Logistic : เป็นการสร้างดัชนีชี้วัด เพื่อวัดว่าเราปฏิบัติงานหรือระบบทาง logistic ว่ามีประสิทธิภาพในระดับไหน มีจัดทั้งในระดับประเทศและระดับโลก หน่วยงานกำหนดในระดับโลก คือ World Bank ซึ่งจะจัดลำดับโลก ดูระบบ Logistic ในระดับโลก ประเทศไหนมีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน

--------------------------------------------------------------------------------
สำหรับท่านใดสนใจ Ebook ที่รวบรวม 15 เทคนิค ปรับกลยุทธ์โลจิสติกส์ (Logistics Strategy Handbook) 
--------------------------------------------------------------------------------


LPI Criteria Factor

ประกอบด้วย 6 ปัจจัย

1. ประสิทธิภาพของการดำเนินการทางด้านกรมศุลกากร (Customs)

2. คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าและการขนส่ง (Infrastructure)

3. การจัดการขนส่งสินค้าด้วยราคาที่แข่งขันได้ (International Shipments)

4. ความสามารถและคุณภาพของบริการโลจิสติกส์ในประเทศ (Logistics Competence)

5. การติดตามสถานะการจัดส่ง (Tracking & Tracing)

6. ความตรงต่อเวลาในการจัดส่ง (Timeliness)


ประเทศที่มี LPI สูงสุดในโลก (จากทั้งหมด 150 ประเทศ)
อันดับ 1 Singapore ได้คะแนนเกือบเต็มหมดทุกข้อ (เต็ม 5) ยกเว้นข้อ 1 ที่ได้ประมาณ 2.5 ส่วนข้ออื่นประมาณ 4.5
อันดับ 2 Netherland
อันดับ 3 Germany
อันดับ 4 Sweden
อันดับ 6 Japan
อันดับ 8 HongKong
อันดับ 14 USA
อันดับ 30 China (3.32) : เนื่องจากกิจกรรมทาง Logistic ภาครัฐควบคุมอยู่
อันดับ 31 Thailand (3.31) : เราได้ข้อ 1 น้อยสุด เนื่องจากยังมีดำเนินการด้านศุลกากรที่แยะและซับซ้อนเกินไป โครงสร้างพื้นฐานยังสู้ต่างประเทศไม่ได้ และระบบตรวจสอบสินค้าระหว่างขนส่งยังน้อยมาก อีกทั้งยังไม่มีการใช้ระบบ IT อย่างแพร่หลายเท่าที่ควร

ในส่วน LPI ที่ใช้ในหน่วยงาน ยังมีการพยายามจัดทำอยู่ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ


* ปรับปรุงข้อมูล Logistic Performance Index (LPI) 2012







จากข้ิอมูลปี LPI 2012

อันดับ 1 ยังคงเป็น สิงคโปร์ ได้ LPI 4.13 โดยจุดแข็งหลักของสิงคโปร์อยู่ในเรื่องของ ประสิทธิภาพของการดำเนินการทางด้านกรมศุลกากร (Customs) และ ความตรงต่อเวลาในการจัดส่ง (Timeliness) ที่มีคะแนนทั้งสองส่วนนี้มาเป็นอันดับหนึ่ง

อันดับ 2 ฮ่องกง ได้ LPI 4.12 (ซึ่งขยับขึ้นมาจากอันดับ 8 จากการสำรวจครั้งที่แล้ว) โดยจุดแข็งหลักของฮ่องกงอยู่ในเรื่องของ การจัดการขนส่งสินค้าด้วยราคาที่แข่งขันได้ (International Shipments) ซึ่งได้คะแนนมากกว่า 4 แค่ประเทศเดียวในโลกาเลย

อันดับ 3 ฟินแลนด์ ได้ LPI 4.05 (ซึ่งขยับขึ้นมาจากอันดับ 15 จากการสำรวจครั้งที่แล้ว) โดยจุดแข็งหลักของฟินแลนด์อยู่ในเรื่องของ ความสามารถและคุณภาพของบริการโลจิสติกส์ในประเทศ (Logistics Competence) และ การติดตามสถานะการจัดส่ง (Tracking & Tracing) ที่มีคะแนนทั้งสองส่วนนี้มาเป็นอันดับหนึ่ง

ไหน เราหันมามองพี่ไทยของเราบ้างสิ (ไล่ดูในตาราง) แห่ม อยู่ในอันดับที่ 38  ถือว่าไม่เลวเนอะ


ได้ LPI 3.18 แต่เอ่ะ มันตกลงมาจากครั้งที่แล้วที่ได้ LPI ที่ 3.31 (อันดับที่ 31) นิหว่า โดยเราได้คะแนนในส่วนของ ความตรงต่อเวลาในการจัดส่ง (Timeliness) มากที่สุด จากเกณฑ์หกข้อดังกล่าว แต่ถ้าดูในแง่ของในเกณฑ์หกข้อ เรามีข้อไหนที่ทำอันดับได้ดีที่สุด ซึ่งก็คือ การจัดการขนส่งสินค้าด้วยราคาที่แข่งขันได้ (International Shipments) ไทยเราได้ที่ 36 ดีที่สุดแล้วนะ

เพื่อเป็นการต้อนรับ AEC กับเึ้ค้าบ้าง ไปดูข้อมูล LPI ของไทยเทียบกับกลุ่มประเทศสมาชิก AEC กันแบบข้อต่อข้อเลยครับ 6 ศักยภาพโลจิสติกส์ เตรียมพร้อมไทย เข้าสู่ AEC

ข้อมูลจาก World Bank


Comments