6 ศักยภาพโลจิสติกส์ เตรียมพร้อมไทย เข้าสู่ AEC



หลังจากที่ได้ update ข้อมูล Logistic Performance Index (LPI) ปี 2012 ซึ่งจะเห็นได้่ว่าไทยเราได้ LPI ต่ำลง จาก 3.31 เป็น 3.18 ทำให้อันดับล่วงลงมาจากที่ 33 มาเป็นอันดับที่ 38 แทน เหมือนว่าเราจะแย่ลงนะ แต่เอาะพักหลังมามักจะได้ยิน ได้ฟังมาหนาหูมากว่า ไทยเราจะเป็นศูนย์กลางทางด้านโลจิสติกส์ (Logistics Hub) ในภูมิภาคนี้ หลังจากที่เปิด AEC วันนี้เลยลองเอา LPI มากางดู เปรียบเทียบเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียนดูสิ่ ว่าเอ่ะเราจะมีศักยภาพเพียงพอจริงหรา

ก่อนอื่นเราไปรื้อฟื้นกันดูก่อนว่า 6 ศักยภาพที่ทาง World Bank ใช้วัดค่า LPI มีเรื่องอะไรบ้่าง

1. ประสิทธิภาพของการดำเนินการทางด้านกรมศุลกากร (Customs)

2. คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าและการขนส่ง (Infrastructure)

3. การจัดการขนส่งสินค้าด้วยราคาที่แข่งขันได้ (International Shipments)

4. ความสามารถและคุณภาพของบริการโลจิสติกส์ในประเทศ (Logistics Competence)

5. การติดตามสถานะการจัดส่ง (Tracking & Tracing)

6. ความตรงต่อเวลาในการจัดส่ง (Timeliness)

คราวนี้เรามาดูอันดับ LPI เฉพาะในกลุ่ม ASEAN ว่าแต่ะละประเทศมีประสิทธิภาพทางด้าน Logistic เป็นอย่างไร




ไทยเราเป็นอันดับสามของกลุ่ม ASEAN รองจากสิงคโปร์ (ที่อยู่อันดับหนึ่งของโลก) และมาเลเซีย ถือว่าไม่เลวเลยใช่ไหม

แต่เมื่อมาเทียบกับข้อมูลก่อนหน้า อย่างที่เห็นไทยเราได้ LPI น้อยลง แต่ประเทศที่น่าจับตาซึ่ีงได้ LPI เพิ่มขึ้นมากจากครั้งที่แล้ว คือ พม่า LPI จาก 1.86 เพิ่มเป็น 2.37, ฟิลิปปินส์ ที่หายใจรดต้นคอเราอยู่ ได้ LPI จาก 2.69 เพิ่มเป็น 3.02, ลาว ได้ LPI จาก 2.25 เพิ่มเป็น 2.50


สำหรับประเทศไทยที่ เค้าคาดว่าการเปิด AEC เราจะเป็นศูนย์กลางทางด้านการขนส่ง (Logistic Hub) มันเป็นไปได้มากแค่ไหน เรามาไล่ดูศักยภาพในแต่ละข้อจากตารางด้านบน เมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกกัน

Customs : (Rank #3) 

เป็นข้อที่เราได้คะแนนต่างจากสิงคโปร์มากสุด น่าจะเป็นเพราะไทยยังคงมีพิธีการในด้านศุลกากร ที่ถึงแม้ไม่ยุ่งยาก แต่ก็ยังถือว่าไม่สะดวกเท่าที่ควร ซึ่งผมมองว่าน่าจะเป็นจุดที่เราสามารถปรับปรุงได้เร็วที่สุดในหกศักยภาพทั้งหมด ทำให้ข้อนี้เราน่าจะไปต่อได้อยู่

Infrastructure : (Rank #3) 


ซึ่งเป็นหัวข้อที่เรามีคะแนนแตกต่างจากอันดับหนึ่งคือ สิงคโปร์ และอันดับสอง มาเลเซีย สูงอยู่ ถ้าจะพูดถึงในสิ่งที่เราเป็นรองและน่าจะเห็นกันชัดๆ ก็คือ ในเรื่องของท่าเรือ นั่นเอง เพราะลักษณะภูมิประเทศไทยที่เป็นอ่าว แล้วอ่าวมันไม่ดียังไง มันก็เหมือนกับอยู่ในซอย ไม่ได้อยู่ใกล้ถนนใหญ่เลยไม่สะดวกต่อการขนส่ง เคลื่อนย้าย เท่าไหร่ แตกต่างจากประเทศสิงค์โปรที่มีที่ตั้งของประเทศติดถนนใหญ่เลยว่างั้น ทำให้ท่าเีิืื่รือมีผู้ใช้บริการมากสุดอันดับสองของโลก รองจากท่าเรือเซี่ยงไฮ้ โดยในปี 2011 ท่าเรือสิงค์โปร์ มีจำนวนตู้คอนเทนเนอร์รวม 29.94 ล้านตู้  ส่วนท่าเรือเกลัง ของมาเลเซียอยู่อันดับที่ 13 มีจำนวนตู้คอนเทนเนอร์รวม 9.60 ล้านตู้ ส่วนไทยเรา ท่าเรือแหลมฉบัง อยู่ในอันดับที่ 23 มีจำนวนตู้คอนเทนเนอร์รวม 5.73 ล้านตู้ (อ้างอิงข้อมูลจาก Top 50 World Container Ports)

จะเห็นว่า ศักยภาพการขนส่งท่าเรือของเราแตกต่างจากสิงคโปร์ คนละโลกเล้ย.. แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกันครับในข้อนี้ ถึงแม้เราจะไปต่อในเรื่องท่าเทียบเรือลำบากนัก จากข้อเสียเปรียบในเรื่องที่ตั้งของไทยเราดังกล่าว แต่ในทางกลับกันถือเป็นข้อได้เปรียบของเราในเรื่องการขนส่งทางถนนของภูมิภาคนั่นเอง  เพราะเราถือว่าอยู่ตรงกลางภูมิภาค ที่ล้อมรอบด้วยกลุ่ม CLMV (กัมพูชา, ลาว, พม่า และเวียดนาม)

ซึ่งเห็นได้จาก นโยบายของทางภาครัฐที่ออกมาเน้น สร้างถนน ไปยังภูมิภาคต่างๆ โดยเน้นเชื่อมโยงไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นสำคัญ แถมโดยส่วนใหญ่เรายังสร้างเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย เชื่อมไปยังจีน อินเดีย อีกต่างหาก เห็นอย่างนี้การขนส่งทางถนนเราได้ไปต่อยาวแน่นอน และคงได้เป็นศูนย์กลางทางภูมิภาค (ทางถนน) ดั่งใจหวัง

เอ่ะ แล้วทางราง (รถไฟ) ละ พูดแล้วก็เพลียใจ ระบบรางของเราคงต้องรื้อ (ไม่ใช่รื้อรางนะ รื้อองค์กรเลยดีกว่ามั๋ย) คือ ระบบรางของเราไม่พัฒนาเลย เพราะสัดส่วนการขนส่งทางรถไฟมันหดตัวลงซะงั้น จากในปี 2547 อยู่ที่ 2.4% แต่ในปี 2555 เหลือ 2.2% (เทียบกับมาเลเซียที่มีสัดส่วนสูงถึง 20% ซึ่งเป็นสัดส่วนโดยเฉลี่ยของประเทศที่พัฒนาแล้ว) แต่ไม่น่าเชื่อนะครับว่า ระบบรางที่ไม่พัฒนาเนี่ยะ กลับยังได้เปรียบเล็กๆ เมื่อเทียบกลับกลุ่มประเทศ CLMV เนื่องจาก กัมพูชาเพิ่งมีการพัฒนา ลาวก็มีแค่ระยะทางสั้นๆ 7-8 กม. พม่ามีรถไฟแต่เก่าโคตรๆ ส่วนเวียดนาม รางเก่าสมัยฝรั่งเศษปกครองโน้น ทำให้เรายังมีโอกาสได้ไปต่อในเรื่องระบบราง ถ้าหันมาพัฒนากันอย่างจริงจังสักที

ส่วนทางอากาศ ไทยเรายังเสียเปรียบมือหนึ่งอย่างสิงคโปร์อยู่ เพราะจุดเด่นของสิงคโปร์ที่เป็น Free Zone ภาษีนำเข้าจึงต่ำ ในขณะที่เราแม้เป็น Free Zone เหมือนกัน แต่ติดขัดในเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบบตรวจสอบที่มากมาย ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่ง อีกทั้ง ไทยเรายังไม่มีสายการบินในประเทศที่เป็น Cargo (การบินไทยอาจจะมีอยู่ลำสองลำ) เทียบกับสิงคโปร์ที่ถือว่าเป็นศูนย์กลางเลยก็ว่าได้ ทำให้ทางอากาศ ถึงแม้จะไม่ลำบาก แต่การที่จะไปต่อคงได้แึค่ไม่กี่ก้าว

เพราะฉะนั้น จะเห็นว่าจากหัวข้อนี้ที่ไทยเรามีคะแนนต่างจากอันดับหนึ่ง สิงคโปร์ และอันดับสอง มาเลเซีย อยู่พอควร ผมมองว่ามันเป็นโอกาสที่เราจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบโลจิสติกส์ให้มีศักยภาพมากขึ้นได้ ซึ่งเรามีโอกาสได้ไปต่ออีกมากในข้อนี้ โดยเฉพาะการวางตัวเองเป็นศูนย์กลางทางการขนส่งทางบกทั้งหมดของภูมิภาค

International shipments : (Rank #3) 

อันนี้่ ตามความคิดของผมนะ การที่บริการโลจิสติกส์ภายในประเทศไทยเรา ยังสามารถจัดส่งสินค้าในราคาที่สามารถแข่งขันได้อยู่ เพราะอาจจะไม่ได้เน้นเรื่องคุณภาพและบริการเสริมอื่นๆ เท่าที่ควรนัก เนื่องจากผู้ประกอบการในประเทศเราัยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเท่าที่ควร จึงทำให้ราคาในการใช้บริการจึงยังถูกอยู่ ซึ่งสะท้อนออกมาได้จากศักยภาพที่เหลืออีกสามข้อด้านล่าง

Logistics competence, Tracking & tracing , Timeliness (Rank #4)   

โดยทั้งสามศักยภาพดังกล่าว ไทยอยู่อันดับสี่ของภูมิภาค นอกจากเราจะเป็นรองสิงคโปร์และมาเลเซียแล้ว ยังเป็นรองฟิลิปปินส์อีกด้วย ซึ่งทั้งสามหัวข้อนี้ไทยเรามีโอกาสได้ไปต่อแน่ ถ้าการเิปิดเสรีการค้าบริการโลจิสติกส์เต็มสูบมากขึ้น เนื่องจาก จะมีผู้ประกอบการต่างชาติ ที่มีทั้งเงินทุน ความชำนาญ เครือข่าย และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ศักยภาพทั้งสามข้อของไทยเราเพิ่มสูงขึ้น แต่เด๋วก่อน ฟังแล้วเหมือนจะดีนะครับ แต่ในดีก็มีแย่เหมือนกันนะ เพราะเมื่อเราเปิดเสรีการค้าบริการโลจิสติกส์เต็มสูบเมื่อไหร่ ผู้ประกอบการไทยคงต้องลำบากแน่นอน เพราะฉะนั้น ถ้าใครเป็นผู้ประกอบการคงต้องเตรียมตัวไว้แล้วละ ไม่ใช่เห็นว่า เฮ้ยไทยเราจะเป็นศูนย์กลางทางโลจิสติกส์ในภูมิภาคนี้แล้ว ต่อไปบริษัทเราก็สบายละ นอนรอกินได้เลยงานนี้ .....ต้องขอบอกนะ ว่ามันไม่ง่ายอย่างที่คิดแน่นอน



สรุปดีกว่า ถึงแม้เราจะมีข้อได้เปรียบที่ในเรื่องที่ตั้ง ที่จะทำให้เราสามารถเป็นศูนย์กลางทางขนส่งทางบกของภูมิภาคนี้ได้ไม่ยาก และจะทำให้คะแนน LPI ของเรามีโอกาสแซงหน้ามาเลเซียขึ้นมาอยู่ที่สองของภูมิภาคอาเซียนในอนาคต (ไม่หวังที่หนึ่งเลยแหล่ะ แห่มก็อยากหวังนะ แต่ถ้าแซงสิงค์โปร์ขึ้นมาได้ กลายเป็นเบอร์หนึ่งของโลกเลยนะ หวังสูงไปมั๋ย เอาเป็นว่าแซงหน้ามาเลเซียก็พอแหล่ะ) แต่ประเด็นที่อาจจะทำให้เราตกม้าตายได้ ก็คือ ในเรื่องกฎหมายและระเบียบวิธีการในการส่งออก ที่อาจจะต้องมาลด ละ เพิ่ม ในบางจุดให้มันสอดคล้องกับการที่เราจะทำตัวเป็นศูนย์กลางกันหน่อย ไม่งั้นสร้างถนน สร้างราง สร้างสะพาน เชื่อมต่อกันไปมาแทบตาย ปรากฏสิ่งที่ทำให้ การขนส่งเราชะงัก อาจจะเกิดมาจากเอกสารเพียงแผ่นเดียวก็เป็นได้

* ผลต่างคะแนน LPI ในแต่ละหัวข้อของไทย เทียบกับอันดับหนึ่ง สิงคโปร์ และอันดับสอง มาเลเซีย


Comments