เชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินกับคำว่า “หาในสิ่งที่ตัวเองรัก และเราจะประสบความสำเร็จในชีวิต” ซึ่งผมก็ได้ยินได้ฟังคนพูดถึงมามากมายหลายคน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบมากในคนที่ยังหาไม่เจอ (อย่างผมเป็นต้น) ที่พยายามตามหาในสิ่งที่ตัวเองรักให้พบเพื่อจะประสบความสำเร็จ แต่ผมยังเกิดข้อสงสัย และตั้งคำถามว่า มันจริงหรอ กับการหาสิ่งที่ตัวเองรักให้เจอแล้วเราก็จะประสบความสำเร็จ มันง่ายขนาดนั้นเลยหรอ
ผมจึงมองหาไปยังคนอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีบุคคลดังระดับโลกบางคนที่ผมพอจะนึกออกตอนนี้ ที่ได้เคยอ่าน เคยรู้ประวัติมาคร่าวๆ ก่อนหน้านี้ ที่สามารถหาสิ่งที่ตัวเองรัก และทำมันจนประสบความสำเร็จในชีวิต เช่น
สตีป จ๊อบส์ รักในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ จนทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมมากมายติดตลาดทั่วโลก (iPhone, iPod, iPad, Mac Book เป็นต้น)
บิล เกตส์ รักในการพัฒนาซอฟแวร์ จนทำให้เกิดซอฟแวร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก (Window, Microsoft Office เป็นต้น)
วอร์เรน บัฟเฟตต์ รักในการลงทุน จนทำให้ราคาหุ้นของบริษัทเบิร์กไชร์ฮาธาเวย์ทำสถิติสูงที่สุดในโลก (โดยปัจจุบันกุมภาพันธ์ 2011 ราคาหุ้นอยู่ที่ $127,550 เติบโตจากปี 1962 ที่ราคาหุ้นอยู่เพียงแค่ $7 เท่านั้น)
จะเห็นได้ว่าทุกคนต่างประสบความสำเร็จกับการทำในสิ่งที่ตัวเองรักทั้งสิ้น
และจากคำถามที่ผมถามไว้ในเบื้องต้น ว่าการที่เราหาเจอในสิ่งที่รัก แล้วเราจะประสบความสำเร็จจริงหรอ มันแค่นั้นจริงๆ หรือ ใครหาเจอแล้วก็ประสบความสำเร็จแล้วหรือ จนวันหนึงผมไปได้ยินกับหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ในเรื่อง อิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ผมได้เห็น ได้เรียนมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เลยก็ว่าได้ แต่ไม่เคยนำมาคิดตาม เรียนมาท่องมา แล้วก็ผ่านไป (ยังจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่ามีอะไรบ้าง) โดยผมไปสะดุดกับคำว่า ฉันทะ ที่แปลว่ารักในสิ่งที่ทำ ผมเลยต้องมาค้นคว้าเพิ่มเติมว่า องค์ประกอบทั้งหมดของหลักอิทธิบาท 4 นั้นมีอะไรบ้าง โดยตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ความหมายของอิทธิบาท 4 ก็คือ ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ ซึ่งประกอบไปด้วย
• ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป
• วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
• จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
• วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น (จากวิกิพีเดีย)
ผมคิดว่าเพื่อนๆ คงจะรู้กันอยู่แล้วว่าอิทธิบาท 4 คืออะไรแล้วมีอะไรบ้าง แค่อยากจะทวนกันอีกรอบ ซึ่งหลังจากที่ผมได้อ่าน คิดตามและทำความเข้าใจในหลักคำสอนดังกล่าวอีกครั้ง จึงค้นพบว่า การที่เราค้นหาเจอในสิ่งที่เรารัก ยังไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จ เพราะมันเป็นแค่หลักการข้อเดียวในอิทธิบาท 4 เท่านั้น ผมจึงนำหลักธรรมทั้งสี่ข้อ มาตีความหมายในมุมมองที่ผมเข้าใจ แต่ไม่ทิ้งแก่นของมัน คือ...
แต่จะคืออะไร แล้วพบกันตอนหน้านะครับ
ค้นพบความรัก ค้นพบความสำเร็จ ตอนจบ
ผมจึงมองหาไปยังคนอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีบุคคลดังระดับโลกบางคนที่ผมพอจะนึกออกตอนนี้ ที่ได้เคยอ่าน เคยรู้ประวัติมาคร่าวๆ ก่อนหน้านี้ ที่สามารถหาสิ่งที่ตัวเองรัก และทำมันจนประสบความสำเร็จในชีวิต เช่น
สตีป จ๊อบส์ รักในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ จนทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมมากมายติดตลาดทั่วโลก (iPhone, iPod, iPad, Mac Book เป็นต้น)
บิล เกตส์ รักในการพัฒนาซอฟแวร์ จนทำให้เกิดซอฟแวร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก (Window, Microsoft Office เป็นต้น)
วอร์เรน บัฟเฟตต์ รักในการลงทุน จนทำให้ราคาหุ้นของบริษัทเบิร์กไชร์ฮาธาเวย์ทำสถิติสูงที่สุดในโลก (โดยปัจจุบันกุมภาพันธ์ 2011 ราคาหุ้นอยู่ที่ $127,550 เติบโตจากปี 1962 ที่ราคาหุ้นอยู่เพียงแค่ $7 เท่านั้น)
จะเห็นได้ว่าทุกคนต่างประสบความสำเร็จกับการทำในสิ่งที่ตัวเองรักทั้งสิ้น
และจากคำถามที่ผมถามไว้ในเบื้องต้น ว่าการที่เราหาเจอในสิ่งที่รัก แล้วเราจะประสบความสำเร็จจริงหรอ มันแค่นั้นจริงๆ หรือ ใครหาเจอแล้วก็ประสบความสำเร็จแล้วหรือ จนวันหนึงผมไปได้ยินกับหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ในเรื่อง อิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ผมได้เห็น ได้เรียนมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เลยก็ว่าได้ แต่ไม่เคยนำมาคิดตาม เรียนมาท่องมา แล้วก็ผ่านไป (ยังจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่ามีอะไรบ้าง) โดยผมไปสะดุดกับคำว่า ฉันทะ ที่แปลว่ารักในสิ่งที่ทำ ผมเลยต้องมาค้นคว้าเพิ่มเติมว่า องค์ประกอบทั้งหมดของหลักอิทธิบาท 4 นั้นมีอะไรบ้าง โดยตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ความหมายของอิทธิบาท 4 ก็คือ ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ ซึ่งประกอบไปด้วย
• ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป
• วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
• จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
• วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น (จากวิกิพีเดีย)
ผมคิดว่าเพื่อนๆ คงจะรู้กันอยู่แล้วว่าอิทธิบาท 4 คืออะไรแล้วมีอะไรบ้าง แค่อยากจะทวนกันอีกรอบ ซึ่งหลังจากที่ผมได้อ่าน คิดตามและทำความเข้าใจในหลักคำสอนดังกล่าวอีกครั้ง จึงค้นพบว่า การที่เราค้นหาเจอในสิ่งที่เรารัก ยังไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จ เพราะมันเป็นแค่หลักการข้อเดียวในอิทธิบาท 4 เท่านั้น ผมจึงนำหลักธรรมทั้งสี่ข้อ มาตีความหมายในมุมมองที่ผมเข้าใจ แต่ไม่ทิ้งแก่นของมัน คือ...
แต่จะคืออะไร แล้วพบกันตอนหน้านะครับ
ค้นพบความรัก ค้นพบความสำเร็จ ตอนจบ
Comments
Post a Comment