สวัสดีครับ เรามาต่อจากครั้งที่แล้ว (ค้นพบความรัก ค้นพบความสำเร็จ ตอนที่ 1) กับการหาคำตอบของคำกล่าวที่ว่า "หาในสิ่งที่ตัวเองรัก และเราจะประสบความสำเร็จในชีวิต" มันจริงหรือ ที่ผมทิ้งท้ายไว้ว่า การที่เราค้นหาเจอในสิ่งที่เรารัก ยังไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จ เพราะมันเป็นแค่หลักการข้อเดียวในอิทธิบาท 4 เท่านั้น ผมจึงนำหลักธรรมทั้งสี่ข้อ มาตีความหมายในมุมมองที่ผมเข้าใจ แต่ไม่ทิ้งแก่นของมัน คือ
ฉันทะ = รักในสิ่งที่ทำ
วิระยะ = ความขยันหมั่นเพียน เป็นตัวขับเคลื่อนในสิ่งที่เราทำ
จิตตะ = คิดเพื่อหาและกำหนดทิศทางที่จะทำ ที่จะไป
วิมังสา =ตรวจสอบ
ซึ่งก็คือ เมื่อเราเกิด ฉันทะ รักในสิ่งที่เราทำ แล้วเราก็จะมี วิริยะ เป็นตัวขับเคลื่อนให้เราทำสิ่งนั้นอย่างต่อเนื่อง โดยมี จิตตะ คอยกำหนดทิศทางว่าเราจะทำสิ่งที่เราทำอยู่นี้ ให้ประสบความสำเร็จต้องทำอย่างไร ไปทางไหน สุดท้ายคือ วิมังสา จะเป็นตัวตรวจสอบ (Monitoring) ว่าทิศทางหรือวิธีการที่เราเลือกนั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน มีการวัดผล และต้องแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อให้สิ่งที่เราขยันหมั่นเพียรทำมา ไม่เกิดการสูญเปล่า และมุ่งสู่ทิศทางที่ถูกต้องเพื่อพบกับความสำเร็จที่ได้ตั้งใจไว้ เยี่ยมจริงๆ เลยนะครับ สำหรับหลักธรรมของพระพุทธเจ้า คนถึงบอกว่าหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นสากล ไม่มีข้อสงสัยจริงๆ ครับ (ไม่รู้ว่าเพื่อนๆ จะงงกันหรอเปล่า ถ้างงผมทำแผนภาพอธิบายประกอบทางด้านล่างครับ หรือว่าจะงงเพิ่มขึ้น ^^”)
แต่มีประเด็นหนึงที่น่าสนใจ เพราะเท่าที่ผมได้สังเกตดูพบว่า ผู้คนโดยส่วนใหญ่ (รวมทั้งผมด้วย) นำหลักธรรมคำสอนดังกล่าวมาใช้กันแล้ว (โดยไม่รู้ตัว) ยิ่งผู้ที่ต้องทำงานในบริษัทใหญ่ๆ ยิ่งต้องทำต้องผ่านกันอยู่แล้ว เพราะหลักธรรมดังกล่าว ก็เปรียบเหมือนหลักการการบริหารธุรกิจจากทางตะวันตก ที่จะต้องมีตัวชี้วัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น KPI, Balance Scorecard, PDCA เป็นต้น ที่เราจะต้องมีการกำหนดเป้าหมาย กำหนดวิธีการที่จะทำให้ถึงเป้าหมาย ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายต้องตรวจสอบ วัดผลว่าทำแล้วได้ไม่ได้อย่างไร ต้องแก้ไขอย่างไร เพื่อให้ท้ายที่สุดไปสู่เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้จนประสบความสำเร็จ
แต่เพื่อนๆ รู้ไหมครับว่าจุดที่แตกต่างคืออะไร ?…
ซึ่งจุดที่แตกต่างและเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับชีวิตเรา นั่นก็คือ ความสุขหรือความรักที่จะทำหรือไม่นั่นเอง นิ่จึงเป็นคำตอบว่าคนเรานั้นสามารถที่จะทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าจะทำงานบริษัท หรือออกมาทำธุรกิจส่วนตัว เพราะเรามีหลักธรรมสามข้ออยู่ในการทำงานอยู่แล้ว (วิริยะ, จิตตะ และวิมังสา) แต่ที่ชี้วัดความสุขของเรา คือการรักในสิ่งที่ทำ (ฉันทะ) มันจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอาจจะต้องทำเพราะภาระหน้าที่จากที่ทำงาน หรือภาระหน้าที่จากกิจการที่บ้าน โดยงานที่ได้ทำนั้นเราก็สามารถทำให้มันสำเร็จตรงตามเป้าหมายได้ แต่ทุกครั้งที่ทำ มันแลดูจะลำบากยากเย็น เหนื่อยกาย เหนื่อยใจ ทำไมต้องใช้พลังชีวิตมากมายอย่างนี้นะ ซึ่งมันอาจจะมาจากการที่เราตั้งโจทย์ในชีวิตผิดไป โดยเอาความสำเร็จเป็นที่ตั้ง เพราะเราคิดว่า เมื่อเราประสบความสำเร็จแล้วชีวิตเราก็จะมีความสุข แต่กลายเป็นว่าเราทำสำเร็จแล้ว ทำไมเราถึงไม่มีความสุขเอาซะเลย กลับไปทำ ทำ และทำอีก อาจจะประสบความสำเร็จได้อีก แต่เราก็ยังไม่มีความสุขอยู่ดี
ดังนั้น ถ้าเรากลับมาตั้งโจทย์ในชีวิตใหม่ เอาความสุขเป็นตัวตั้ง เป็นตัวมาก่อนความสำเร็จ เฉกเช่นเดียวกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องอิทธิบาท 4 ที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้น ที่ได้เอาความรักในสิ่งที่ทำ หรือก็คือความสุขมาก่อนเป็นข้อแรก และนิ่จึงเป็นคำตอบที่ว่าทำไมเมื่อเราหาสิ่งที่ตัวเองรักเจอ แล้วเราถึงประสบความสำเร็จนั่นเอง…
บอกกล่าวหน่อยครับ : นิ่เป็นบทความชิ้นแรกในชีวิตที่ผมลองเขียนขึ้นเอง อาจจะไม่สมบูรณ์อะไรมากนัก แค่อยากพยายามสื่อสารในสิ่งที่ตัวเองคิด มาให้เพื่อนๆ ได้ลองอ่าน ลองคิด ลองพิจารณา หรือใครจะติชม เพิ่มเติมก็ได้นะครับ ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ขอบคุณมากครับ
ค้นพบความรัก ค้นพบความสำเร็จ ตอนที่ 1
ฉันทะ = รักในสิ่งที่ทำ
วิระยะ = ความขยันหมั่นเพียน เป็นตัวขับเคลื่อนในสิ่งที่เราทำ
จิตตะ = คิดเพื่อหาและกำหนดทิศทางที่จะทำ ที่จะไป
วิมังสา =ตรวจสอบ
ซึ่งก็คือ เมื่อเราเกิด ฉันทะ รักในสิ่งที่เราทำ แล้วเราก็จะมี วิริยะ เป็นตัวขับเคลื่อนให้เราทำสิ่งนั้นอย่างต่อเนื่อง โดยมี จิตตะ คอยกำหนดทิศทางว่าเราจะทำสิ่งที่เราทำอยู่นี้ ให้ประสบความสำเร็จต้องทำอย่างไร ไปทางไหน สุดท้ายคือ วิมังสา จะเป็นตัวตรวจสอบ (Monitoring) ว่าทิศทางหรือวิธีการที่เราเลือกนั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน มีการวัดผล และต้องแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อให้สิ่งที่เราขยันหมั่นเพียรทำมา ไม่เกิดการสูญเปล่า และมุ่งสู่ทิศทางที่ถูกต้องเพื่อพบกับความสำเร็จที่ได้ตั้งใจไว้ เยี่ยมจริงๆ เลยนะครับ สำหรับหลักธรรมของพระพุทธเจ้า คนถึงบอกว่าหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นสากล ไม่มีข้อสงสัยจริงๆ ครับ (ไม่รู้ว่าเพื่อนๆ จะงงกันหรอเปล่า ถ้างงผมทำแผนภาพอธิบายประกอบทางด้านล่างครับ หรือว่าจะงงเพิ่มขึ้น ^^”)
แต่มีประเด็นหนึงที่น่าสนใจ เพราะเท่าที่ผมได้สังเกตดูพบว่า ผู้คนโดยส่วนใหญ่ (รวมทั้งผมด้วย) นำหลักธรรมคำสอนดังกล่าวมาใช้กันแล้ว (โดยไม่รู้ตัว) ยิ่งผู้ที่ต้องทำงานในบริษัทใหญ่ๆ ยิ่งต้องทำต้องผ่านกันอยู่แล้ว เพราะหลักธรรมดังกล่าว ก็เปรียบเหมือนหลักการการบริหารธุรกิจจากทางตะวันตก ที่จะต้องมีตัวชี้วัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น KPI, Balance Scorecard, PDCA เป็นต้น ที่เราจะต้องมีการกำหนดเป้าหมาย กำหนดวิธีการที่จะทำให้ถึงเป้าหมาย ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายต้องตรวจสอบ วัดผลว่าทำแล้วได้ไม่ได้อย่างไร ต้องแก้ไขอย่างไร เพื่อให้ท้ายที่สุดไปสู่เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้จนประสบความสำเร็จ
แต่เพื่อนๆ รู้ไหมครับว่าจุดที่แตกต่างคืออะไร ?…
ซึ่งจุดที่แตกต่างและเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับชีวิตเรา นั่นก็คือ ความสุขหรือความรักที่จะทำหรือไม่นั่นเอง นิ่จึงเป็นคำตอบว่าคนเรานั้นสามารถที่จะทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าจะทำงานบริษัท หรือออกมาทำธุรกิจส่วนตัว เพราะเรามีหลักธรรมสามข้ออยู่ในการทำงานอยู่แล้ว (วิริยะ, จิตตะ และวิมังสา) แต่ที่ชี้วัดความสุขของเรา คือการรักในสิ่งที่ทำ (ฉันทะ) มันจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอาจจะต้องทำเพราะภาระหน้าที่จากที่ทำงาน หรือภาระหน้าที่จากกิจการที่บ้าน โดยงานที่ได้ทำนั้นเราก็สามารถทำให้มันสำเร็จตรงตามเป้าหมายได้ แต่ทุกครั้งที่ทำ มันแลดูจะลำบากยากเย็น เหนื่อยกาย เหนื่อยใจ ทำไมต้องใช้พลังชีวิตมากมายอย่างนี้นะ ซึ่งมันอาจจะมาจากการที่เราตั้งโจทย์ในชีวิตผิดไป โดยเอาความสำเร็จเป็นที่ตั้ง เพราะเราคิดว่า เมื่อเราประสบความสำเร็จแล้วชีวิตเราก็จะมีความสุข แต่กลายเป็นว่าเราทำสำเร็จแล้ว ทำไมเราถึงไม่มีความสุขเอาซะเลย กลับไปทำ ทำ และทำอีก อาจจะประสบความสำเร็จได้อีก แต่เราก็ยังไม่มีความสุขอยู่ดี
ดังนั้น ถ้าเรากลับมาตั้งโจทย์ในชีวิตใหม่ เอาความสุขเป็นตัวตั้ง เป็นตัวมาก่อนความสำเร็จ เฉกเช่นเดียวกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องอิทธิบาท 4 ที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้น ที่ได้เอาความรักในสิ่งที่ทำ หรือก็คือความสุขมาก่อนเป็นข้อแรก และนิ่จึงเป็นคำตอบที่ว่าทำไมเมื่อเราหาสิ่งที่ตัวเองรักเจอ แล้วเราถึงประสบความสำเร็จนั่นเอง…
บอกกล่าวหน่อยครับ : นิ่เป็นบทความชิ้นแรกในชีวิตที่ผมลองเขียนขึ้นเอง อาจจะไม่สมบูรณ์อะไรมากนัก แค่อยากพยายามสื่อสารในสิ่งที่ตัวเองคิด มาให้เพื่อนๆ ได้ลองอ่าน ลองคิด ลองพิจารณา หรือใครจะติชม เพิ่มเติมก็ได้นะครับ ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ขอบคุณมากครับ
ค้นพบความรัก ค้นพบความสำเร็จ ตอนที่ 1
Comments
Post a Comment