20 กลลวงทางธุรกิจ ที่ต้องระวัง



วันก่อน อ.สมภพ ได้มาพูดเกี่ยวกับ 20 กลลวงทางธุรกิจ ในรายการ Business Connection ผมเห็นว่าน่าสนใจดี เลยลองเอาเนื้อหาที่จดๆ  ไว้นำมาฝากกัน โดยเพิ่มเติมเนื้อหา ตามความเข้าใจ ผสานกับที่ทาง อ. สมภพ ได้อธิบายไว้ ว่าแล้วก็ไปดูกันดีกว่าว่ากลลวงดังกล่าวมีอะไรบ้าง

20 กลลวงทางธุรกิจ


1. กำไรมาก :

การที่บริษัมีกำไรเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจมาก ทำให้แผนการใช้จ่ายอาจจะไม่ระมัดระวังเท่าที่ควร อาจจะมีค่าใช้จ่ายบริหารเกิดขึ้นมากมายก็ตรงนี้ ประมาณว่ามีเงินมาก ใช้ไงก็ได้ตามสบายฉัน

2. ความสำเร็จ : 

เป็นกลลวงที่อันตรายมากสุด เพราะเมื่อเราสำเร็จอะไรสักอย่าง มันจะทำให้เราฮึกเหิมจนอาจจะเลยเถิดไปถึงหลงระเริง หรือหลงตัวเองจนมั่นใจเกินเหตุ

3. ส่วนแบ่งการตลาด : 

ตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดที่เราใช้วัดๆ กันนั้น ถึงแม้เราจะมีตัวเลขที่ี่มาก ประมาณว่าเป็นผู้นำตลาดหรืออุตสาหกรรมเลยก็ว่าได้ แต่เราอาจจะไม่ได้มองดูสิ่งแวดล้อมที่แท้จริงว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่ เพราะบางทีเราอาจกำลังอยู่ในอุตสาหกรรมตกดินก็ได้ ผู้เล่นจึงน้อยราย ทำให้เรามีสัดส่วนที่มาก และถ้าเรายังไม่รู้ตัวอีก ยังยึดกับตัวเลขส่วนแบ่งที่มากมายนั้น ก็อาจจะทำให้เรามั่นใจเกินเหตุ ทำการขยายหรือยึดกับความสำเร็จรูปแบบเดิมๆ อีก (ข้อ 2 เลย)

4. ความเก่ง : 

เคยไหมกับการที่บริษัทหรือองค์กรเจอปัญหา แล้วคิดว่ายังไงทั้งองค์ความรู้และบุคลากรของบริษัทก็สามารถเอาอยู่ บริษัทเรามันสุดยอดอยู่แล้ว พนักงานเราก็เก่ง ทำอะไรสำเร็จๆ มาก็ตั้งหลายอย่าง แต่จนแล้วจนรอดก็ยังแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ สุดท้าย ต้องใช้บุคคลภายนอกเข้ามาแก้ ประมาณว่าต้องเปิดรับความเก่ง และองค์ความรู้ใหม่ๆ จากภายนอกบ้างไม่ใช่ยึดติดแต่ความเก่งของตัวเอง

5. ปัญหาและผลลัพธ์ : 

ดังที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า "ถ้ามีเวลาหนึ่งชั่วโมงเพื่อแก้ปัญหา จะใช้เวลา 59 นาที เพื่อนิยามปัญหา และอีก 1 นาที เพื่อหาผลลัพธ์" แต่ปรากฎว่าทุกวันนี้ องค์กรหรือบริษัทต่างๆ กลับใช้เวลาทั้ง 60 นาทีเพื่อหาผลลัพธ์กับปัญหาที่ไม่เป็นเรื่อง หรือหาผลลัพธ์ที่มาจากโจทย์ที่ผิด

6. รายงาน : 

มีผู้บริหารหรือผู้จัดการบางคนเอาเวลาหมกหมุ่นอยู่แต่รายงาน อ่านๆ มันทั้งวัน ไม่เคยติดที่จะออกไปดูสถานการณ์จริงว่ามันเป็นอย่างไร ตรงนี้ ผู้บริหารอาจจะได้ภาพที่ดูดีกว่าความเป็นจริงโดยส่วนใหญ่ เพราะผู้ใต้บังคับบัญชาจะเขียนรายงานในแง่บวกมากกว่าความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

7. การวิจัยตลาด : 

การวิจัยตลาดหลายๆ ครั้งได้ความเป็นจริงแค่ครึ่งเดียว บางครั้งก็อาจจะไม่ได้เลย และบางทีอาจร้ายไปกว่านั้น คือ ได้ข้อมูลที่ผิดๆ มาอีก

8. Aspirin (ยาแก้ปวดหัว) : 

เราต้องทำตัวเป็นยาแก้ปวดหัวให้ลูกค้า คือ แก้ปัญหาให้ลูกค้า  แต่หลายบริัษัทที่ทำตัวให้ลูกค้าปวดหัวซะงั้น

9. ความแตกต่าง  :


10. ความเร่งรีบ : 

ภาวะการแข่งขันปัจจุบัน ทำให้หลายบริษัทต้องเร่งรีบผลิตสินค้าออกมาแบ่งเงินในประเป๋าผุ้บริโภคมากขึ้น แต่แท้จริงแล้วเพราะความเร่งรีบทำให้บริํษัทไม่ไ้ด้ผลิตสินค้าที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างถูกจุด สินค้าจึงเป็นแค่สินค้า ไม่สามารถเป็น นวัตกรรมได้

11. ความชอบ : 

จะเน้นไปในเรื่องการจ้างคน โดยเราต้องจ้างคนที่เราชอบน้อยที่สุดแต่คุณสมบัติตรงกับที่ต้องการมากสุด แต่หลายครั้งที่เรามักจะคัดเลิกจากที่ชอบมากกว่า

12. ระยะสั้นที่สุด คือ ดีที่สุด : 

เน้นในเรื่องการสื่อสารภายในองค์กรให้ตรงประเด็นมากที่สุด อย่าพยายามพูดอ้อมเกินไป จนไม่สามารถจับประเด็นอะไรได้เลย

13. เจ้านาย : 

เป็นองค์กรที่ลูกน้อง เห็นดี เห็นงามด้วยกับเจ้านายอย่างเดียว ประจบว่างั้น ไม่เคยเสนอความคิดที่แตกต่าง หรือแนวทางใหม่ๆ เลย หลายที่อาจจะคิดว่าเป็นอันหนึงอันเดียวกัน ทำให้เดินหน้าไปสู่เป้าหมายที่เร็วขึ้น แต่ถ้าบางทีโจทย์ผิด ก็กลายเป็นว่าไม่มีใครทักท้วง มัวแต่เออ ออ ห่อหมก ตามๆ กันไป (ข้อ 5) สงสัยบางที่เจ้านายก็ชอบด้วยแหล่ะ ไม่มีใครขัด ข้าใหญ่ ข้าถูก คนเดียวในโลก

14. ความขัดแย้ง : 

หลายคนได้ยินคำว่าความขัดแย้งก็จะรู้สึกไม่ได้ พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นในองค์กร ซึ่งแท้จริงแล้วความขัดแย้งก็มีคุณประโยชน์เหมือนกัน เพราะทำให้เราเห็นวิธีการที่แตกต่าง หรืออาจจะดีกว่า แต่องค์กรต้องสามารถควบคุมความขัดแย้งให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเพราะข้อ 13


15. วิกฤตธุรกิจ : 

ไ้อ๋ย่ะ...พุดถึงคำว่าวิกฤตทุกคนก็กลัวกันหมด แต่วิกฤตมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายนอก แต่ถ้าภายในองค์กรของเรา สามัคคี รักใคร่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้ผ่านพ้นไปได้จะทำให้องค์กรของเรารักกันมากขึ้น มีความเป็นอันหนึงอันเดียวกันมากขึ้น อย่างเช่น วิกฤตน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา

16. คู่แข่ง :

ฟังแล้วเซร็ง ฟ้าส่งข้ามาเกิด แล้วใยต้องส่งเจ้ามาเกิดด้วย แต่แท้จริงแล้ว คำว่าคู่แข่ง จะทำให้เราไม่อยู่เฉย ต้องมีการพัฒนาตัวเองตลอดเวลา

17. Networking :


18. การประชุม : 

ถ้าดูตารางเวลาแล้วมีการประชุมหนาแน่นเต็มไปหมด ทั้งเช้า สาย บ่าย เย็น ไม่ได้แปลว่าองค์กรนั้นดูมีคุณค่านะ แต่ในทางกลับกันมันจะหมายถึงการที่ต้องเสียเวลา แรงงาน ทรัพยากรต่างๆ ไปกับการประชุม (โดยเฉพาะน้ำลาย ที่จะต้องมีการโต้เถียงกันอย่างแน่นอน)


19. การโฆษณา : 

ปัจจุบันนี้ องค์กรอาจจะไม่ต้องเน้นในงบเรื่องของการโฆษณาในจำนวนมากๆ เพราะเราสามารถใช้ social media ต่าง ที่มีต้นทุนที่ถูกกว่ามากๆ แทนได้ หรือเราจะเน้นไปที่การประชาสัมพันธ์แทน


20. Budget : 

เอ้า ยึดเอาไว้เลยนะ ห้ามเกินไม่งั้นไม่ได้ตาม KPI ที่ตั้งไว้ ซึ่งหลายที่มักจะเป็นอย่างนี้ แต่เราควรนำ Budget มาใช้อย่างยืดหยุ่น น่าจะก่อให้เกิดมูลค่ามากว่า 




รู้อย่างนี้แล้ว ก็โปรดระวังหลุมพลางธุรกิจดังกล่าวกันให้ดีๆ จะได้ก้าวข้ามผ่านผลักดันให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้อีกในอนาคต.

Comments