ความเข้าใจผิด 7 ประการเกี่ยวกับ Logistic


1. ความหมาย Logistic หรือ โซ่อุปทาน (Supply Chain) แตกต่างกันอย่างไร
โดยโซ่อุปทาน (Supply Chain) จะครอบคลุมกว้างกว่า Logistic แต่แท้จริงเราไม่จำเป็นต้องแยก หรือหาความแตกต่าง เพราะทั้งสองคำมันเกื้อกูลกันอยู่แล้ว เพื่อทำให้ประสิทธิภาพของ Logistic ดีขึ้นอยู่แล้ว

2. Logistic เป็นเรื่องของการขนส่ง
เรื่องการขนส่งเป็นแค่กิจกรรมย่อยๆ อันหนึ่งของ Logistic เท่านั้น เพราะในเรื่องของ Logistic เป็นเรื่องของการจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย การเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นสินค้า จนไปถึงผู้บริโภค ซึ่งส่วนใหญ่เราพูดถึงการขนส่งทำให้ผู้ประกอบการหลายท่าน จะไม่ได้เน้นในเรื่องการบริหาร การบริการลูกค้า การวางแผนจัดลำดับการผลิต การวางแผนสินค้าคงคลัง

3. เน้นพัฒนาในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมเป็นหลัก
(เป็นความใจผิดที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในเรื่องที่สองที่เข้าใจผิด) ทำให้ประเทศเน้นแต่การเน้นพัฒนาโครงสร้างคมนาคม ทั้งทางบกทางน้ำ ทางอากาศ ปรับปรุงประสิทธิภาพดังกล่าว แต่ที่เราจะต้องเน้นเพิ่มเติมคือ หลักการบริหารจัดการให้กระบวนการ Logistic ทั้งหมด เกิดประสิทธิภาพ


4. Logistic คือ คำตอบเดียวที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
แท้จริงแล้วการนำระบบ Logistic มาปฏิบัติเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ไม่ใช่คิดว่าเรานำ Logistic มาปฏิบัติแล้วจะเป็นคำตอบของความสำเร็จทุกอย่าง ต้องสื่อสารให้พนักงานเข้าใจ

5. สงสัยกันว่า Logistic ควรจะอยู่หมวดใด
Logistic และ Supply Chain จะเกี่ยวโยงกับหลายสาขา ทั้งการผลิต การขาย การตลาด การเงิน ลูกค้า ต้องบูรณาการร่วมกัน

6. เอา Logistic ไปใช้ใน SME อาจไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเล็กไป
เราสามารถนำเอาแนวความคิดของ Logistic ไปปรับปรุงใช้ได้ไม่ว่าบริษัทเล็กหรือใหญ่

7. Logistic จะอยู่ไปอีกนานหรือไม่
เรื่องของ Logistic หรือ Supply Chain มันเกิดขึ้นมานานแล้ว และจะอยู่ต่อไปถึงอนาคตและขะยิ่งมีความสำคัญต่อศักยภาพทางการแข่งขันขององค์กร หรือแม้กระทั่งของประเทศ

ประเด็น เพิ่มเติม
Logistic บางที่อาจจะไม่ใช่การลดต้นทุน เพราะบางทีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เรานำมาใช้จะเป็นการลงทุนเพิ่มด้วยซ้ำไป ฉะนั้น การทำ Logistic ไม่ใช่การลดต้นทุน แต่เป็นวิธีการที่เรามองหาและทำให้เราสามารถใช้เงินลงทุนให้เกิดประสิทธิภาพมากสุด

แล้วเราจะทำอย่างไรให้การใช้ Logistics ให้เกิดผลมากสุด
1. เข้าใจในวิธีการบริหารจัดการ ทำให้ทุกแผนกนั้นสอดคล้องกับแผนกข้างเคียง ไม่จำเป็นต้องทำดีที่สุด
2. ปลูกฝังความเข้าใจในวิธีการดังกล่าวให้เกิดขึ้นกับพนักงาน


เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่อง :
Logistic Management Strategy : กลยุทธ์การบริหาร Logistic
ประสิทธิภาพด้านการขนส่ง (Logistic Efficiency)

Comments