Logistic Management Strategy : กลยุทธ์การบริหาร Logistic

ใช้หลักกลยุทธ์ OE-MU-MC (โอ้ มิว แม็ก)
OE (Optimise Efficency)

เนื่องจากงาน Logistics เป็นอะไรที่วุ่นวาย และมีทั้งกิจกรรมและข้อมูลมากมาย จึงจำเป็นต้องสร้างระบบให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะทำอย่างไรละ

1. ต้องสร้าง team : อาจจะแบ่งตามลูกค้า ภูมิภาค ตามชนิดงาน หรือตามการจัดการ ซึ่ง team ที่สร้างขึ้นมาต้องเป็น profit center ไม่ใช่ cost center ไม่รับรู้รายได้ รับแต่ค่าใช้จ่าย เราต้องดูรายจ่ายแล้วต้องดูด้วยว่าสร้างผลประกอบการขึ้นมาด้วยเท่าไหร่

2. เมื่อสร้าง team แล้ว นำผลงานในอดีตที่ดีหรือไม่ดี มาปรับปรุงพัฒนา เจาะหาปัญหาให้ได้ว่า ว่าที่ผ่านมาปัญหาในการทำงานอยู่ที่ไหน

3. ต้องสร้างภาวะผู้นำ ให้เกิดขึ้นกับทีม โดยผู้นำต้องทำหน้าที่
3.1 COACH ทำอย่างไรให้ทีม ทำงานตามแผนที่วางไว้
3.2 ทำตัวเป็นพี่เลี้ยง เพื่อสร้างความเป็นกันเองในการทำงาน เพื่อจะได้ภาพของปัญหาที่ชัดเจน
3.3 เป็นครู กล้าที่จะสั่งสอน
3.4 คุณพ่อคุณแม่ กล้าที่จะโทษ
4. เป็นผู้สื่อสารที่ดี จากล่างขึ้นบนและบนลงล่าง อย่าทำตัวเป็นผู้นำสารอย่างดี ต้องสื่ออกมาด้วยแนวความคิดของตัวเองด้วย

5. เป็นเชียร์ลีดเดอร์ เพื่อจูงใจให้ทีมกลับมายามสภาพวิกฤต
นอกจากนี้ยังต้องการแผนการตลาด ซึ่งจะต้องใช้ CRM เพื่อให้เกิด repeat order โดยอย่างง่ายที่สุด คือ รักษาคำพูดในสิ่งที่ได้บอกกับลูกค้าเอาไว้แล้ว นอกจากนี้เรายังต้องมีการวิเคราะห์ เพื่อให้มันมีประสิทธิภาพมากสุด ทั้งทางรถ ทางคลังสินค้า และสินค้าคงเหลือ

ซึ่ง Optimise Effiency ท้ายที่สุดแล้วจะต้องเป็น KPI (KPI for Logistic) เพื่อให้ทุกอย่างที่ตั้ง สามารถวัดผลได้ ซึ่ง KPI ที่จะตั้งขึ้นเป็นเกณฑ์ อาจจะเป็นในเรื่องเวลาในการส่งของถึงลูกค้า การแก้ไขข้อร้องเรียนต้องแก้ปัญหาให้รวดเร็วและชัดเจนระบุไว้เลยว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ เป็นต้น


MU (Maximize Utilization)
เป็นการนำทรัพย์สิน เครื่องมือต่างๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากทรัพยสินเครื่องมือเกี่ยวกับ Logistics มีราคาค่อนข้างสูง เช่น คลังสินค้า รถยนต์ เป็นต้น เราจึงต้องใช้ทรัพย์สินเพื่อสร้างรายได้ให้มากที่สุด แล้วเราจะทำอย่างไร

1. สร้างโครงข่ายการบริการ Logistics ร่วมกัน เช่น ถ้าเราต้องส่งของไปต่างจังหวัด ขากลับเราก็ติดต่อกับเครือข่ายเพื่อนำเขาอย่างอื่นกลับมาด้วยประเทศเรายัง ติดปัญหาความไว้เนื้อเชื้อใจ เปิดใจ โดยเราจะต้องสร้างโครงข่ายโดยต้องดูจากความต้องการของตลาดว่าเป็นอย่างไร มีการวิเคราะห์หา demand อย่างชัดเจน ซึ่งการร่วมมือกันดั่งกล่าว จะมีเจ้าภาพในการจัดการ เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายการบริการกับในแต่ละองค์กร

2. นำ IT มาจับการใช้งานของทรัพย์สิน (E-Logistic) เครื่องมือต่างๆ และทำ feed analysis วิเคราะห์อัตราการใช้ในแต่ละกลุ่ม สินทรัพย์ เครื่องมือ ต่างๆ เพื่อทำการเปรียบเทียบการใช้งาน เทียบเดือนต่อเดือน
3. การให้รางวัลพิเศษแก่พนักงาน ในเงื่อนไขต่างๆ ที่พนักงานทำได้ (Perfomance Bonus) เป็นการจูงใจให้เกิดการทำงาน และทรัพย์สินในการดำเนินงาน ก็ถูกใช้อย่างคุ้มค่า

4. เราต้องมีตัววัด โดยเป็นอัตราการใช้งานเครื่องมือ สินทรัพย์ต่างๆ เพื่อไปตั้ง KPI

MC (Minimize Cost)

การบริหารต้นทุน (Logistic Cost) ให้ต่ำที่สุด (ไม่ใช่ลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด) มองในแง่ทำให้มันน้อยลง (minimize) ไม่ใช่ทำให้ต่ำสุด (Lowest)

บริหารเรื่องการเงิน (Financial Tool) :
- การซื้อสินทรัพย์ด้าน Logistics จะซื้อแบบไหน มองการซื้อในเรื่องของภาษีด้วย
- ในส่วนของเครดิตเทอมทั้งได้จากลูกค้าและจาก supplier เราก็จะใช้เงินทุนหมุนวียนที่ไม่สูงนัก
- ทำต้นทุนเป้าหมายในแต่ละกิจกรรมขององค์กรออกมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถ เรื่องคลังสินค้า เรื่องน้ำมันเชื้อเพลิง
สุดท้ายนี้ เราควรหันกลับมามอง ตั้งคำถามในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เฉกเช่นเดียวกับ บริษัทระบบ Logistics รายใหญ่ของโลก (DHL, FEDEX) เริ่มที่จะกลับมาถามตัวเองใหม่แล้วว่า บริษัททำอะไร บริษัทไม่ได้อยู่ในธุรกิจที่ส่งสินค้าจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่งเท่านั้น และธุรกิจอะไรที่เราสามารถทำได้มากกว่านั้น เป็นการสร้างมูลค่าใหม่ (Value Creation)

เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่อง :

Comments