ภาพยนต์เรื่อง 300 (Spartan)
มีหลายๆ เรื่องที่เหมาะกับ SME ซึ่ง พวกตัวเอก (Spartan) ในเรื่องก็คือตัวแทน SME ขนาดเล็ก ที่กำลังจะถูกศัตรู (Persian) ที่มีกำลังมากกว่าโจมตี เปรียบเหมือนเจอปัญหาปลาใหญ่กินปลาเล็ก SME จึงจะต้องต่อสู้กับบริษัทขนาดใหญ่
การรบ
ซึ่งในสนามรบจะมีการรบอยู่ 2 ประเภท คือ
1. รบโดยใช้มีด ใช้ดาบ ซึ่งก็คือฝ่ายศัตรู (Persian) ซึ่งมีกำลังมากกว่าใช้ เป็นการบุกๆ อย่างเดียว ซึ่งก็หมายถึงบริษัทใหญ่ๆ ที่ใช้เงินทุนเป็นจำนวนมากในการ บุกตีศัตรู
2. ใช้โล่ เป็นการรุกแบบตั้งรับโดยตลอด พอมีโอกาสจึงใช้มีดใช้ดาบ เหมือนดั่ง พวก Spartan
สนามรบ
จากการที่พวกตัวเอก (Spartan) สามารถที่จะดึงศัตรู (Persian) ที่มีกำลังมากกว่ามาสู่สนามศึกที่ตัวเองได้เปรียบถึงแม้จะมีกำลังพลน้อยกว่าก็ตาม เพราะฉะนั้น วิธีอยู่รอดของ SME และสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้ ก็คือ การที่สามารถดึงคู่ต่อสู้ที่มีกำลังมากกว่ามาสู่ตลาดที่ตัวเองถนัดหรือสนามที่ตัวเองมีความเปรียบมากกว่า ก็มีโอกาสชนะได้
ภาวะผู้นำ
จากการที่ผู้นำก็คือ พระเอกในเรื่อง (Spartan King Leonidas) สามารถสร้างความศรัทธา ความเชื่อ ความหวัง ให้เกิดขึ้นในหมู่ไพร่พล แม้จะอยู่ในสถาณการณ์เสียเปรียบ สถานการณ์วิกฤต ซึ่งถือเป็นการสร้างความมั่นใจต่อทหารทั้ง 300 คน โดยเชื่อว่าเราสามารถสู้ทหารจำนวนมากและสามารถเอาชนะได้
ก็เปรียบได้กับ SME เมื่ออยู่ในสภาวะวิกฤต บทบาทของผู้นำ จะมีส่วนสำคัญมากที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดต่อไป เพราะโดยธรรมชาติแล้ว SME มีขนาดเล็ก ดังนั้น อิทธิพลของผู้นำจะมีผลกับความเชื่อมั่น ความศรัทธา ต่อพนักงานระดับล่าง จงทำให้เขาเชื่อว่าพวกเราสามารถผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้
ลักษณะกองทัพ
จากการที่กองทัพของ Spartan มีขนาดเล็กกว่า สามารถที่จะปรับยุทธวิธี ยุทธศาสตร์การรบต่างๆ ให้เหมาะกับ ทัพย่อยๆ ต่างๆ ที่ฝ่าย Persian ส่งมาได้ ซึ่งก็เปรียบเสมือน SME ที่จะมีจุดเด่นจากการมีขนาดเล็ก ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการแข่งขันได้เร็วกว่าบริษัทขนาดใหญ่
ผลของการรบที่แท้จริง
ถึงแม้ฝ่ายพระเอก (Spartan) จะเป็นฝ่ายแพ้ แต่ถ้าพิจารณาถึงความสูญเสีย ฝ่ายศัตรู (Persian) จะมีมากกว่า เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เนื่องมาจาก การที่ฝ่าย Persian มัวแต่ใช้กำลังที่มีมากกว่าบุกๆ รุกๆ อย่างเดียว ทำให้ไม่ระมัดระวังตัว ทำให้เกิดความสูญเสียได้ง่าย ซึ่งก็เปรียบเหมือนบริษัทขนาดใหญ่ที่ใช้การรบแบบทุนนิยมใช้เงินเป็นอาวุธบุก ตลุย ตลาด ถึงแม้จะชนะในศึกครั้งนี้ แต่อาจจะทำให้เพลี่ยงพล้ำในสนามรบหน้าหรือสงครามได้ เพราะเกิดจากเราไม่ระมัดระวังตัวนั่นเอง (ซึ่งท้ายที่สุดพวก Persian ก็พ่ายแพ้แก่ อเล็กซานเดอร์)
Sea Biscuit
เป็นการแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะเป็น under gog ในสายตาคนอื่น แต่เราก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้ เปรียบเสมือนธุรกิจขนาดเล็กที่มักจะถูกมองข้าม
The Last Samurai
เป็นเรื่องของความภาคภูมิใจและวัฒนธรรมของคนในชาติ ซึ่งเป็นการรบกับทหารตะวันตกที่ใช้ปืน แต่ตัวเองใช้ดาบ ซึ่งยังไงก็แพ้ แต่ก็ยังสู้มันจะทำให้เรารู้สึกรักชาติ รักองค์กรมากขึ้น
บทความเกี่ยวกับ โชค บูลกุล :
คำแนะนำสำหรับ ทายาทที่จะสืบทอดกิจการ
วิธีกระตุ้นและปลุกเร้าคนแวดล้อม
มีหลายๆ เรื่องที่เหมาะกับ SME ซึ่ง พวกตัวเอก (Spartan) ในเรื่องก็คือตัวแทน SME ขนาดเล็ก ที่กำลังจะถูกศัตรู (Persian) ที่มีกำลังมากกว่าโจมตี เปรียบเหมือนเจอปัญหาปลาใหญ่กินปลาเล็ก SME จึงจะต้องต่อสู้กับบริษัทขนาดใหญ่
การรบ
ซึ่งในสนามรบจะมีการรบอยู่ 2 ประเภท คือ
1. รบโดยใช้มีด ใช้ดาบ ซึ่งก็คือฝ่ายศัตรู (Persian) ซึ่งมีกำลังมากกว่าใช้ เป็นการบุกๆ อย่างเดียว ซึ่งก็หมายถึงบริษัทใหญ่ๆ ที่ใช้เงินทุนเป็นจำนวนมากในการ บุกตีศัตรู
2. ใช้โล่ เป็นการรุกแบบตั้งรับโดยตลอด พอมีโอกาสจึงใช้มีดใช้ดาบ เหมือนดั่ง พวก Spartan
สนามรบ
จากการที่พวกตัวเอก (Spartan) สามารถที่จะดึงศัตรู (Persian) ที่มีกำลังมากกว่ามาสู่สนามศึกที่ตัวเองได้เปรียบถึงแม้จะมีกำลังพลน้อยกว่าก็ตาม เพราะฉะนั้น วิธีอยู่รอดของ SME และสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้ ก็คือ การที่สามารถดึงคู่ต่อสู้ที่มีกำลังมากกว่ามาสู่ตลาดที่ตัวเองถนัดหรือสนามที่ตัวเองมีความเปรียบมากกว่า ก็มีโอกาสชนะได้
ภาวะผู้นำ
จากการที่ผู้นำก็คือ พระเอกในเรื่อง (Spartan King Leonidas) สามารถสร้างความศรัทธา ความเชื่อ ความหวัง ให้เกิดขึ้นในหมู่ไพร่พล แม้จะอยู่ในสถาณการณ์เสียเปรียบ สถานการณ์วิกฤต ซึ่งถือเป็นการสร้างความมั่นใจต่อทหารทั้ง 300 คน โดยเชื่อว่าเราสามารถสู้ทหารจำนวนมากและสามารถเอาชนะได้
ก็เปรียบได้กับ SME เมื่ออยู่ในสภาวะวิกฤต บทบาทของผู้นำ จะมีส่วนสำคัญมากที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดต่อไป เพราะโดยธรรมชาติแล้ว SME มีขนาดเล็ก ดังนั้น อิทธิพลของผู้นำจะมีผลกับความเชื่อมั่น ความศรัทธา ต่อพนักงานระดับล่าง จงทำให้เขาเชื่อว่าพวกเราสามารถผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้
ลักษณะกองทัพ
จากการที่กองทัพของ Spartan มีขนาดเล็กกว่า สามารถที่จะปรับยุทธวิธี ยุทธศาสตร์การรบต่างๆ ให้เหมาะกับ ทัพย่อยๆ ต่างๆ ที่ฝ่าย Persian ส่งมาได้ ซึ่งก็เปรียบเสมือน SME ที่จะมีจุดเด่นจากการมีขนาดเล็ก ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการแข่งขันได้เร็วกว่าบริษัทขนาดใหญ่
ผลของการรบที่แท้จริง
ถึงแม้ฝ่ายพระเอก (Spartan) จะเป็นฝ่ายแพ้ แต่ถ้าพิจารณาถึงความสูญเสีย ฝ่ายศัตรู (Persian) จะมีมากกว่า เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เนื่องมาจาก การที่ฝ่าย Persian มัวแต่ใช้กำลังที่มีมากกว่าบุกๆ รุกๆ อย่างเดียว ทำให้ไม่ระมัดระวังตัว ทำให้เกิดความสูญเสียได้ง่าย ซึ่งก็เปรียบเหมือนบริษัทขนาดใหญ่ที่ใช้การรบแบบทุนนิยมใช้เงินเป็นอาวุธบุก ตลุย ตลาด ถึงแม้จะชนะในศึกครั้งนี้ แต่อาจจะทำให้เพลี่ยงพล้ำในสนามรบหน้าหรือสงครามได้ เพราะเกิดจากเราไม่ระมัดระวังตัวนั่นเอง (ซึ่งท้ายที่สุดพวก Persian ก็พ่ายแพ้แก่ อเล็กซานเดอร์)
Sea Biscuit
เป็นการแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะเป็น under gog ในสายตาคนอื่น แต่เราก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้ เปรียบเสมือนธุรกิจขนาดเล็กที่มักจะถูกมองข้าม
The Last Samurai
เป็นเรื่องของความภาคภูมิใจและวัฒนธรรมของคนในชาติ ซึ่งเป็นการรบกับทหารตะวันตกที่ใช้ปืน แต่ตัวเองใช้ดาบ ซึ่งยังไงก็แพ้ แต่ก็ยังสู้มันจะทำให้เรารู้สึกรักชาติ รักองค์กรมากขึ้น
บทความเกี่ยวกับ โชค บูลกุล :
คำแนะนำสำหรับ ทายาทที่จะสืบทอดกิจการ
วิธีกระตุ้นและปลุกเร้าคนแวดล้อม
Comments
Post a Comment