Cycle Counting กับการแก้ปัญหา Logistic

คุณเคยเจอปัญหาแบบนี้หรือไม่ ระบบการจัดเก็บข้อมูลผิดพลาด เช็คในคอมฯมี ไปดูจริงไม่มี หรือไปดูในคอมฯไม่มี ดันเดินไปเจอ ถ้าเกิดปัญหาประเภทนี้ คือ การบันทึกกับของจริงไม่ตรงกัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจาก การไม่บันทึกลงระบบ หรือเพราะความเคยชิน ว่าเดี๋ยวก่อน เดี๋ยวค่อยทำ สักพักก็ลืม 

--------------------------------------------------------------------------------
สำหรับท่านใดสนใจ Ebook ที่รวบรวม 15 เทคนิค ปรับกลยุทธ์โลจิสติกส์ (Logistics Strategy Handbook) ลอง 
--------------------------------------------------------------------------------

ซึ่งจากปัญหาดังกล่าว เราสามารถที่จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Cycle Counting หรือการตรวจนับตามรอบ หลักการง่ายๆ ที่ให้ทำ คือ Pareto ถ้าสินค้ามีมูลค่ามากก็ตรวจนับให้ถี่ (รายสัปดาห์) ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าน้อย แต่มีปริมาณมาก ก็อาจจะไม่ต้องถี่มากนัก 

แต่โดยหลักการของวิธี CYCLE COUNTING จะมีอยู่ 5 ข้อ 

1. แบ่งกลุ่มประเภทสินค้า โดยใช้กฏของ Pareto ในการพิจารณาถึงมูลค่ากับปริมาณ : แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่มี มูลค่ามาก ปริมาณน้อย (A) ต้องมีการตรวจนับทุกสัปดาห์ กลุ่มที่มี มูลค่าปานกลาง ปริมาณปานกลาง (B) : อาจจะตรวจนับทุกเดือน กลุ่มที่มี มูลค่าน้อย ปริมาณมาก (C) : อาจจะตรวจนับทุกไตรมาส หรือรายปีก็ได้ 

ซึ่งตามหลักการของ Pareto ที่สัดส่วนจะอยู่ที่ 80 : 20 แต่เราอาจจะปรับเป็น 95 : 5 ก็คือ เพื่อแบ่งกลุ่มของสินค้าที่อาจจะมีมูลค่าถึง 95% ของมูลค่าสินค้าทั้งหมดก็เป็นได้

2. ติดระบบ Barcode ให้กับสินค้า เนื่องจากสินค้ามีหลายร้อย Item การใช้ barcode จะช่วยให้เราตรวจสอบสะดวกและมีความแม่นยำมากขึ้น 

3. กำหนดค่าตั้งต้นใหม่ของสินค้าแต่ละชนิด แต่ละประเภท set up ขึ้นใหม่ทั้งหมด 

4. จัดทำระบบฐานข้อมูล เพื่อให้เปลี่ยนแปลงไปตามหน่วยนับที่เปลี่ยนแปลง 

5. จัดทำหรือปรับปรุงระบบการเบิกจ่ายสินค้า 

Comments