ที่มาของ LEAN นั้น มาจากระบบของ TOYATA ซึ่งในแง่ของการผลิตเรามีการนำ LEAN มาใช้กันมาก แต่ในแง่ของการบริการยังไม่มีเท่าที่ควร แต่ถ้าจะให้ยกตัวอย่างในการนำ LEAN มาใช้ในแง่ของการบริการ ก็คือ การให้บริการของสำนักงานเขต จะเห็นได้ว่าแต่ก่อนต้องใช้เวลาเกือบครึ่งวัน เพราะต้องเดินขึ้นชั้นหนึ่ง ชั้นสอง หรือชั้นสาม แต่พอมาในปัจจุบันที่มีการให้บริการที่รวดเร็วขึ้นมาก เช่น การมาทำบัตรประชาชน ที่ใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที รวมทั้งการทำ passport ก็เช่นเดียวกัน ที่มีการให้บริการที่รวดเร็วขึ้น
--------------------------------------------------------------------------------
สำหรับท่านใดสนใจ Ebook ที่รวบรวม 15 เทคนิค ปรับกลยุทธ์โลจิสติกส์ (Logistics Strategy Handbook)
--------------------------------------------------------------------------------
จากการที่นำระบบ LEAN มาใช้ ซึ่งหัวใจของการนำระบบมาใช้ คือ การลดเวลาการรอคอยของลูกค้าที่มาใช้บริการ ซึ่งเป็นการเอาลูกค้าเป็นที่ตั้ง และเป็นการสร้างคุณค่าให้เกิดกับลูกค้าให้มากที่สุด (Maximize Customer Value) โดยใช้ทรัพยากรให้น้อยหรือคุ้มค่าให้มากที่สุด ซึ่งตรงนี้จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ว่า เราจะทำอย่างไรให้ทั้งระบบมันสมดุลกัน
หลักการของ LEAN ไม่ใช่เป็นการไปบีบอะไรสักอย่างให้มันลดลง แล้วตกลงมันแปลว่าอะไร ซึ่งถ้าเราจะแปลว่า ผอม มันจะมีอยู่ 2 คำ คือ
LEAN : เป็นการผอม แต่เป็นการผอมอย่างแข็งแรง สมส่วน หุ่นดี
THIN : เป็นการผอมแบบบักโกรก เหมือนกุ้งแห้ง ผอมแห้งแรงน้อย สุขภาพไม่ดี
ตรงนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญว่า แล้วเราจะทำให้องค์กรของเราแข็งแรงได้อย่างไร เลยมีการนำเรื่อง LEAN เข้ามาใช้ โดยที่การทำ LEAN จะเน้นอยู่ 3 ส่วน
1. ปฏิวัติองค์กรในเรื่องของคน : ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะคนคือ ทุกอย่าง ซึ่งเราอาจจะต้องปฏิวัติเรื่องคน ให้มีความรู้สึกอยากทำงาน เราจะต้องสร้างคน สร้างวัฒนธรรมและเน้นในเรื่องของการฝึกอบรม โดยปรับจากความคิด ทัศนคติ
2. ปฏิวัติในเรื่องของกระบวนการ/วิธีการทำงาน : โดยเอาลูกค้าเป็นที่ตั้ง และทำการออกแบบกระบวนการทำงานของเราให้สอดคล้องกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เช่น ทำอย่างไรให้ลูกค้ามาคอยน้อยที่สุด และได้รับการบริการที่ดี
3. ปฏิวัติทางด้านเทคโนโลยี : โดยไม่ใช่บ้าซื้ออย่างเดียว ซึ่งโดยปกติ เรื่อง LEAN การซื้อจะเป็นกระบวนการหลังสุด จะเน้นไปในการปรับมากกว่า ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ปรับง่ายที่สุดในสามตัว เพราะอะไรที่คิดว่าขาดก็สามารถหาซื้อมาได้
แต่ถ้าเราจะปรับกระบวนการนั้น ความยากจะมากกว่าถึง 10 เท่าของการปรับทางเทคนิค เนื่องจาก คนจะเริ่มต่อต้าน จากความเคยชินในการทำงานสุดท้ายการที่เราจะปรับคนนั้น ความยากของมันเกือบเป็นร้อยเท่าถ้าเทียบกับการปรับกระบวนการ เพราะถึงแม้เราจะปรับเทคโนโลยี จนมาปรับกระบวนการ แต่สุดท้ายคนไม่ทำ ก็ไม่ประสบความสำเร็จอยู่ดี ซึ่งปัญหาส่วนใหญ๋ดังกล่าว 100% จะอยู่ที่ตัวผู้นำ ซึ่งผู้นำควรจะต้องศึกษาระบบ LEAN เพิ่มเติมให้มากขึ้น เพื่อให้เข้าใจในการนำระบบ LEAN มาใช้อย่างถ่องแท้เพื่อมาถ่ายทอดให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้
ซึ่งในระบบ LEAN นั้นทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม ก็เหมือนโซ่ที่ต่อกัน แต่ถ้าเกิดมีใครคนใดคนหนึ่งไม่ทำ ก็เหมือนโซ่หนึงมันอ่อน โซ่เส้นอื่นๆ ก็จะรับน้ำหนักไม่ไหว เช่นเดียวกัน วัฒนธรรมจึงปรับยากมาก ซึ่งผู้นำจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนความคิดและทัศนคติขององค์กร
เพราะฉะนั้นสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างองค์กร ในการนำระบบ LEAN มาใช้นั้น คือ ค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กร
บทความที่เกี่ยวเนื่อง :
Comments
Post a Comment