การบริหารโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรม (Supply Chain Management in Industrial Sector)

ก่อนอื่น เราจะมากล่าวถึงเรื่องการบริหารโซ่อุปทาน (supply chain management)ก่อน ซึ่งก็คือการบริหารการจัดการตั้งแต่ซื้อวัตถุดิบ ผลิต จนสินค้าไปถึงมือลูกค้า ซึ่งแตกต่างจาก Logistic ตรงที่ Supply Chain มันเป็นกิจกรรม ในขณะที่ Logisitc เป็นตัวเชื่อมกิจกรรม เพราะฉะนั้นถ้าเรามีกิจกรรม (Supply Chain)ที่ไม่ดี มันเชื่อมอย่างไรก็ไม่ดี เราจะมองที่การเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรธุรกิจ ตลอดโซ่อุปทาน แล้วที่นี้ คุณค่าของโซ๋อุปทาน (Value Supply Chain) มันคืออะไร

คุณค่าของโซ๋อุปทาน (Value Supply Chain) มันก็เป็นความแตกต่างของสิ่งที่เราใส่เข้าไปตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain)ไม่ว่าเราจะมีกิจกรรมอะไร มีค่าใช้จ่ายอะไร มีแรงงานอะไร เป็นต้น มันจะเป็นความแตกต่างที่เราใส่เข้าไปตลอดการบริหารโซ่อุปทาน(Supply Chain) หรือตลอดโครงสร้างโซ่อุปทาน (Supply Chain)ที่เรามีอยู่ ซึ่งผลแตกต่างจะเห็นที่ผลลัพธ์ปลายทาง ซึ่งก็คือ ผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่เรามีอยู่

ซึ่งถ้าเรามองแบบนี้ก็จะย้อนกลับเข้าไปในเรื่องการบริหารทั่วไป ที่เราใช้คำว่า Productivity ที่ output / input แต่ output/input ของโซ่อุปทานจะต้องมองตลอดโซ่อุปทาน(Supply Chain) ไม่ใช่มองช่วงใดช่วงหนึ่ง นิ่คือความแตกต่าง

ถ้าเป็นคุณค่าของโซ่อุปทาน (Value Supply Chain)ในเชิงของธุรกิจ เราจะวัดที่ความสามารถในการสร้างกำไร ในการบริหารจัดการตลอดโซ่อุปทาน ซึ่งก็คือ เรากำลังมองเรื่องของ Office Ability คือ เรากำลังจะดูว่า เราสามารถสร้างมูลค่าสุดท้ายหรือราคาขายสุดท้ายออกไป กับต้นทุนการดำเนินงานทางโซ่อุปทานต่างๆ โดยที่ผลต่างของมันก็คือกำไร

โดยสรุปก็คือ เราจะทำทั้งสองอย่าง คือ ถ้าเราดูในภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรมทั่วๆ ไป คุณค่าของมันก็คือ Productivity แต่ในเชิงธุรกิจเราจะมองแค่นั้นไม่ได้ เราจะต้องมองในแง่ของ Office Ability ด้วย

แล้วเราจะทำอย่างไรในการบริหารโซ่อุปทาน ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะมีอยู่ 5 ปัจจัย

1. ปัจจัยการผลิต : เราจะต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่าเราจะผลิตอะไร ผลิตทำไม ผลิตเมื่อไหร่ ผลิตให้ใคร ผลิตอย่างไร (5W 1H)

2. ปัจจัยเรื่องสินค้าคงคลัง : เราจะเก็บอย่างไร เก็บเท่าไหร่ ซึ่งสิ่งที่เก็บอยู่มันต้องสามารถตอบสนองทั้งฝ่ายการตลาดที่อาจมีการจัดกิจกรรมการตลาดหรือสอดคล้องกับฝ่ายผลิต ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องมองเพิ่มในส่วนสินค้าคงคลัง เพราะถ้าเราไม่ทำแบบนี้ ทุกคนอาจจะทำให้สินค้าน้อยๆ เพราะจะได้มีต้นทุนต่ำ แต่ความเป็นจริงอาจจะไม่สอดคล้องกับฝ่ายตลาด ที่ลูกค้ากำลังต้องการมากแต่ไม่มีของให้ หรือฝ่ายผลิตต้องการผลิตแต่ไม่มีวัตถุดิบเพียงพอ

3. ปัจจัยการขนส่ง : เราจะขนเองหรือจะจ้าง Out Source รูปแบบของการขนส่งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เราจะต้องดู

4. ปัจจัยสถานที่ตั้ง : ต้องดูว่าเราจะตั้งใกล้แหล่งผู้ซื้อ หรือใกล้แหล่งวัตถุดิบ

5. ปัจจัยเรื่องข้อมูลสารสนเทศ : เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะการบริหารโซ๋อุปทาน มันเป็นการเชื่อมโยง มันเป็นความร่วมมือกันของกิจกรรมทั้งหมด เพราะฉะนั้นปัจจัยตัวนี้จะทำให้เราตัดสินใจได้อย่างถูกต้องแล้วทันถ่วงที ซึ่งข้อมูลที่หมายถึงไม่ใช่ Data แต่ต้องเป็นข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วให้เป็นสารสนเทศ หรือ Information มันจึงต้องสร้างระบบฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ และอีกส่วนหนึ่งคือเราต้องสื่อสารกัน เพราะถ้าเรามีข้อมูลแต่เราไม่สามารถสื่อสารทั่วถึงตลอดโซ่อุปทานได้ ก็จะก่อให้เกิดความล้มเหลวได้ ซึ่งข้อมูลที่ดี ทุกคนในองค์กรต้องเข้าใจในบริบทเดียวกัน Content เดียวกัน ไม่ใช่ว่าคนหนึ่งเข้าใจ อีกคนเข้าใจอย่าง

โดยสรุปก็คือ จากทั้ง 5 ปัจจัยที่ได้กล่าวมานั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดและถือเป็นศูนย์กลางของทั้งหมด คือ ข้อมูลสารสนเทศ (Information) นั่นเอง

ในส่วนการตัดสินใจจากข้อมูลที่ได้มาจากปัจจัยทั้ง 5 เราจะมีอยู่ 3 ด้าน
1. กลยุทธ์ : โดยที่เราจะต้องออกแบบก่อนว่ามีรูปแบบอย่างไรของโครงสร้างโซ่อุปทานของเรา มีกลยุทธ์อย่างไรในการจัดการโซ่อุปทานของเรา
2. วางแผน : โดยการนำรูปแบบ หรือกลยุทธ์ที่ได้วางไว้ มาในเชิงการปฏิบัติให้ได้ นำนโยบายออกสู่ภาคปฏิบัติ ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการตลาดมากขึ้น ขจัดการแปรปรวนของลูกค้าเราได้ (ปรากฏการณ์แส้ม้า(Bullwhip Effect in Supply Chain)
3. การปฏิบัติการ : อาจจะทำรายสัปดาห์ หรือรายวัน ไม่ว่าจะเป็น การจัดการคำสั่งซื้อของลูกค้า การจัดตารางรถบรรทุกที่จะรับสินค้า การเติมเต็มสินค้าตามความต้องการของลูกค้า เป็นต้น

เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่อง :
Cycle Counting กับการแก้ปัญหา Logistic
Logistic Management Strategy : กลยุทธ์การบริหาร Logistic

Comments