SME กับ CSR โดยอ.สมภพ เจริญกุล

CSR (Corporate Social Responsibility) หรือที่เรียกว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ซึ่งต่อมาในช่วงหลังๆ ได้มีการทำ CSR มากเกินไป จนกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดอย่างหนึ่ง โดยถ้าเราจะดูถึงความเป็นมาของ CSR จะเกิดจากคำสองคำ หนึ่ง คือ Public Relation อีกคำหนึ่ง ก็คือ Social Event (กิจกรรมพิเศษ) นำมาจัดรวมกัน โดยผลสุดท้ายจะได้ประโยชน์แก่สังคม และที่สำคัญคือตัวองค์กรเอง เพราะฉะนั้น CSR ทำขึ้นเพื่อสร้างเสนห์ให้เกิดขึ้นกับตัวองค์กร ซึ่งการทำ CSR นั้นจะสร้างความแตกต่างให้กับตัวสินค้าได้ อยู่ที่ว่า Brand ไหน ที่ผู้บริโภคมีการรับรู้ว่าอยากจะอุดหนุน อยากใช้สินค้าหรือบริการ

วิธีการสร้าง CSR
1. สร้าง CSR ด้วย Brand ของตัวเอง : เนื่องจากเป็นการง่ายที่จะทำ เนื่องจาก ไม่ต้องไปผู้กับ Brand อื่น ดำเนินการได้เองเลย
2. สร้าง CSR ร่วมกับหน่วยงานอื่น : ที่ชัดเจนก็จะเป็นโครงการตามพระราชดำริ Brand ต่างๆ มักจะไปผูกโยง เช่น การปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ มีข้อดี คือ ประชาชนยอมรับอยู่แล้ว
3. สร้าง CSR ร่วมกับ Brand อื่น : เช่น เมื่อเกิดภัยพิบัติต่างๆ จึงร่วมมือกัน

ข้อพิจารณาในการทำ CSR
1. อย่าทำอะไรที่ซ้ำกับคู่แข่ง เนื่องจาก คนที่ทำก่อนอยู่ในใจของลูกค้าไปแล้ว
2. เลือกกิจกรรมที่ลูกค้าเป้าหมายหรือสังคม สามารถมีการตอบรับได้อย่างรวดเร็ว
3. กิจกรรมที่ทำ อย่าสลับสับซ้อน
4. สื่อสารให้ชัดเจนว่าสังคมได้ประโยชน์อะไร
5. อย่าเลือกกิจกรรมที่ทำมากเกินไป ทำให้ไม่มีเอกลักษณ์ ทำอย่างเดียวเน้นชัดไปเลย มันจะได้ผูกโยงกับ Brand อย่างชัดเจน
6. อย่าโจงครึม หรือพูดเอาหน้ามากเกินไป หนักที่สังคม เบาที่องค์กร
การเตรียมการทำ CSR
1. วิเคราะห์ SWOT ขององค์กร เพราะกิจกรรมทางการตลาดและ CSR ที่เราจะทำมันต้องสอดคล้องกับองค์กร
2. ดูว่าลูกค้าหรือสังคม ให้ความสำคัญกับเรื่องใดเป็นเพิเศษ
3. กิจกรรม CSR สอดคล้องกับกลุ่มตลาดเป้าหมายทางการตลาดของเรา
4. มีความต่อเนื่อง จึงต้องเตรียมทุนให้พร้อม
5. ได้รับความร่วมมือกับบุคลากรของตัวเองเป็นหลัก
6. ติดตาม ควบคุม วัดผล เพราะสิ่งที่เราไม่ได้ทำโดยส่วนใหญ่ คือ การวัดผล เพราะเรามองว่าเราทำเพื่อสังคม จึงไม่ได้ตาม แต่แท้จริงแล้วควรจะสามารถวัดผลย้อนหลังได้ ว่ากิจกรรมที่ทำไปแล้ว มีผลตอบสนองอย่าไร

แท้จริงแล้วการทำ CSR เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ทุกองค์กรไม่สามารถอยู่ได้ ถ้าไม่ได้คิดถึงสังคม มันจะเป็นตัวเสริมของการทำธุกิจ ไม่ใช่เป็นแกนหลักของการทำธุรกิจแต่เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะละเลย

เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่อง :
การตลาดที่มากกว่า 4P (More 4P Marketing)
มองอนาคต (Look at the Future)

Comments