อิทธิพลของดนตรี สะท้อนชีวิต โชค บูลกุล

เมื่อสมัยเด็กๆ นั้น ตอนที่คุณโชคยังมีเวลา คุณโชคจะอยู่กับดนตรีตลอด เพราะดนตรีสามารถทำให้เราสร้างจินตนาการขึ้นมา โดยไม่ต้องมีอะไรเกิดขึ้นจริงถ้าคุณมีความสุขหรือความทุกข์ มันสามารถถ่ายทอดออกมาได้ ซึ่งดนตรีก็เหมืนอเครื่องมืออันหนึ่ง ที่ดีมากในการช่วยให้เราระบายออก และนิ่ก็เป็นมุมคิดของคุณโชคที่มีต่อดนตรี ทำให้คุณโชคชอบที่จะเล่นดนตรีมาตั้งแต่เด็ก

ถ้าจะมาพูดถึงเรื่องการแต่งเพลง ซึ่งการจะแต่งเพลงสักเพลงของคุณโชคนั้น อย่างแรกจะเริ่มที่วัตถุประสงค์ของเพลงก่อนเลย ว่าเพลงนี้จะสื่อถึง ความผิดหวัง ความรัก ความโกรธ หรืออะไรต่างๆ และเมื่อเราได้วัตถุประสงค์แล้ว เราก็จะเกิดรูปแบบ (Style) ของเพลงขึ้นมา โดยที่ยังไม่มีเนื้อร้อง แต่มันจะมีทำนองของมันซึ่งเกิดขึ้นในจินตนาการของเรา และถ่ายทอดลงไปที่หลอดเสียงของเรา ทำให้เราฮัมออกมาเป็นตัวโน๊ต แต่ยังไม่มีคำ แต่เราจะได้ทำนอง (Melody) มาละ ซึ่งเป็นจุดแรกของการแต่งเพลง เพราะถ้าเราไม่ได้ทำนองมาก่อน เราก็จะไม่ได้เนื้อเพลง ซึ่งคนเที่ล่นเปียโนจะได้เปรียบตรงที่ว่า มือซ้ายเล่น Melody มือ ขวาจะเล่น Chord แต่สำหรับกีตาร์ มันต้องใช้การจำทำนอง แล้วก็ฮัมออกมา และจากองค์ประกอบจากจุดนี้ เราก็จะพยายามหาคำเรื่อยๆ โดยเป็นคำที่ประทับใจเรา แล้วใส่ลงไปในประโยค อาจจะใส่ไปในท่อน hook และการที่ดนตรีมีคำ ก็จะเกิดความหมายละ คราวนี้เราก็จะเริ่มประกอบชิ้นส่วนอื่นๆ เช่น ท่อนหัว ท่อนหาง ท่อนก่อน solo และท้ายที่สุดเพลงก็จะมีความครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนที่เหลือถ้าคุณต้องการเครื่องดนตรีชิ้นใด ก็ลองไปจินตนาการต่อว่า ถ้าเพลงแบบนี้คุณอยากให้กลองตีอย่างไร เบสส์เล่นอย่างไร เครื่องเป่าเล่นแบบไหน คุณก็เขียนออกมา และในท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นเพลงที่สมบูรณ์แบบ

โดยสิ่งที่คุณโชคเล่ามาทั้งหมด ในแง่ของวิธีคิด การเรียบเรียงการทำเพลงของคุณโชคขึ้นมาสักเพลงนี้ คุณโชคก็ได้ใช้วิธีคิดเหล่านี้ในการพัฒนาธุรกิจ และดำเนินชีวิตด้วย เพราะคุณโชคเชื่อว่า ทุกอย่างเราจะต้องรู้สึกให้ได้ก่อนว่า สิ่งที่เราจะทำมันน่าจะไปอย่างไร สิ่งที่เราจะทำเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ซึ่งถ้าเราไม่ได้ใช้ความรู้สึก สร้างภาพมันออกมาต่อสิ่งที่เราจะทำ บางทีเราอาจจะต้องไปอ่านหนังสือ อ่านทฤษฎีไม่รู้กี่บทต่อกี่บท กว่าที่เราจะทำมันได้ เพราะการที่เราจะทำอะไรแล้วใส่ความรู้สึกเข้าไปด้วยอย่างเป็นธรรมชาติ มันจะทำให้การหาองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับการแต่งเพลงก็คือ การเริ่มหาคำมาใส่ หาท่อนหัวมาใส่ ท่อนหางมาใส่ แต่ถ้าคุณรู้สึกหรือสัมผัสอะไรไม่ได้เลย คุณก็จะไม่รู้ว่าจะสร้างมันขึ้นมาอย่างไร เพราะฉะนั้น ความรู้สึกในการทำจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันจะทำให้คุณเกิดแรงปรารถนา (Passion) และจะสามารถจินตนาการต่อไปได้ เช่นเดียวกับธุรกิจ ถ้าคุณไม่รู้สึกว่ามันควรเป็นธุรกิจขนาดไหน เล็ก กลาง ใหญ่ ถ้าเล็ก เล็กอย่างไร ให้โดดเด่น ถ้ากลางทำอย่างไรให้อยู่ได้ ถ้าใหญ่ ทำอย่างไรถึงจะไม่อุ้ยอ้าย ซึ่งสิ่งพวกนี้มันจะต้องเกิดจากความรู้สึกของเราก่อน เพราะถ้าเราทำได้ องค์ประกอบเวลาสร้างธุรกิจหรือทำอะไรไปเรื่อยๆ มันจะมาเองโดยธรรมชาติ เพราะคุณจะรู้ว่า tone ของธุรกิจของคุณมันน่าจะประมาณไหน

เพราะฉะนั้นการจะทำอะไร คุณโชคจึงเน้นว่า มันต้องเกิดจากใจของเราก่อนเป็นอันดับแรก แต่คนเราทุกวันนี้ไปหลงติดกับดัก ว่าทำอะไรก็ได้ ขอให้ได้เงินมากๆ ขอให้รวยๆ พอโจทย์ของคนเราเป็นแบบนี้ จึงลืมที่จะใช้ความรู้สึกและจินตนาการ ซึ่งคนเรามักจะมองแยกประเด็นกันว่า ธุรกิจเล่นกับมันไม่ได้ เป็นเรื่องคอขาด บาดตาย เป็นเรื่องของเงิน จนเกร็งไปหมด แต่ถ้าคุณลองกลับไปเปิดขุมทรัพย์ในตัวคุณ หยิบเอาความรู้สึก ความเป็นธรรมชาติมาใช้บ้าง บางทีธุรกิจนั้นจะเกิดเสนห์ขึ้นมาเลย ซึ่งเสนห์ของธุรกิจก็คือ เนื้อหาและศิลปะ ที่ลงตัวกัน

ถ้าเทียบธุรกิจกับเพลง ถือว่าเวลาเราจะทำเพลงนั้น เริ่มต้นจะมีเพียง melody กับ chord เป็นโครงสร้างของเพลง แต่พอเริ่มประกอบเข้ามา คือมีเนื้อร้องครบถ้วน เราจะถือว่าเพลงนั้นมีเนื้อหาหลักเกือบจะครบถ้วนแล้ว นั่นคือ melody คำร้องและทำนอง แต่สิ่งที่จะเติมเข้ามา คือ เครื่องดนตรีต่างๆ เช่น กลอง เบสส์ พอเสร็จที่เหลือ ก็จะเรียกว่าเครื่องประดับ ซึ่งเป็นรายละเอียดเล็กน้อย ที่จะมาทีหลังจากเราได้ลองฟังทั้งเพลงดูแล้ว โดยคิดว่า น่าจะเติมนั่นนิด นิ่หน่อย ซึ่งตรงนี้ เราถึงเรียกว่า ศิลปะ โดยศิลปะบางอย่างใส่ไปแยะก็ไม่ใช่ว่าจะดี ซึ่งไม่ต่างกับธุรกิจ เพราะถ้าเราทำอะไรแบบทื่อๆ หรือมากเกินไปก็ไม่น่าสนใจ หรือน้อยเกินไปจนขาดสีสัน ไม่มีจุดเด่น ซึ่งศิลปะมันจะเป็นผสมผสานกันระหว่างทักษะของคุณและโอกาสที่คุณมีอยู่ และเงินทุนที่มีอยู่ เพื่อตอบโจทย์บุคคลิกภาพของ brand ของคุณ

คุณโชค สรุปท้ายว่า การเล่นดนตรี มันต้องมีแรงบันดาลใจก่อน เพราะฉะนั้น การทำธุรกิจเราให้เราทำก็ทำได้กันทุกคน แต่มันจะแตกต่างตรงที่ว่า ใครทำด้วยแรงบันดาลใจหรือไม่ ซึ่งจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จได้

บทความที่เกี่ยวกับ คุณโชค บูลกุล :
ศิลปะการตั้งคำถาม สไตล์โชค บูลกุล (The Art of the Question) ตอนที่ 1
กลยุทธ์เหนือเมฆ "การทำสิ่งธรรมดา ให้ไม่ธรรมดา" โดยโชค บูลกุล

Comments