อย่างแรกเลยที่คุณโชคมองนั้น เห็นว่านักธุรกิจไทยเวลาจะคิดทำธุรกิจอะไร จะคิดง่ายเกินไป ให้น้ำหนักกับในเรื่องรูปลักษณ์ภายนอกมากเกินไป เช่น packaging หรือ Promotion หรือการให้ความสำคัญกับความแตกต่างเพียงผิวเผิน ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญของความแตกต่างของสินค้าประเภทนั้น ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ Ummike ความแตกต่างอาจจะไม่ได้อยู่ในเรื่องของชื่อหรือ packaging แต่แท้จริงแล้วตอนที่เราคิด เราจะเน้นเลยว่าสิ่งที่จะทำให้สินค้าชิ้นนี้แตกต่างได้ เราต้องเริ่มต้นจากวัตถุดิบ ต้องเริ่มต้นจากกระบวนการผลิต ที่ต้องดีเกินมาตรฐานทั่วไป ทำให้ผู้บริโภคปัจจุบันรับรู้ถึงความแตกต่างของ Ummik ที่ไม่ใช่ชื่อหรือ packaging แต่สิ่งที่แตกต่างมันก็คือ รสชาติ ความเข้มข้นของไอศครีม คุณภาพของไอศครีม ซึ่งเป็นสาระสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสินค้า
ซึ่งปัจจุบันนี้ คุณโชครู้สึกว่า SME ของเรา ตรงนี้ยังทำไม่ได้ดีเต็มที่และยังไม่มีการแพร่หลายมากนัก เราต้องเน้นของเนื้อหา (content) ของธุรกิจ อย่างเช่นสินค้าของญี่ปุ่นที่มีการเน้นในเนื้อหาของสินค้าก่อนแล้วจึงค่อยไปเน้นในเรื่องของ Marketing (Packaging, Promotion)มันถึงจะยิ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามากขึ้นได้ แต่ SME ของเรานั้นจะเอาในเรื่องของ Packaging เป็นตัวตั้ง เรามักจะมีการพูดถึง Creative Design แต่ว่าเนื้อหาจริงๆ ของสินค้านั้นมีน้อยมาก
คุณโชคจึงไม่เห็นด้วยในการพัฒนาสินค้า โดยใช้ packaging เป็นตัวนำ เพราะสินค้าที่ไม่มีความแตกต่างในเชิงเนื้อหาจริงๆ พอถึงจุดๆ หนึ่งคนก็จะรู้สึกไม่จำเป็นต้องมี พอไม่จำเป็นต้องมี ธุรกิจก็ไม่หยั่งยืน เราจึงต้อง back to basic ของตัวสินค้าก่อน เช่น กาแฟ ควรจะกลับไปเน้นในเรื่องเมล็ดกาแฟ สร้างจุดแตกต่างในการปรุงแต่งในการผลิตการทำ แล้วค่อยมาเน้นในเรื่องของ ถ้วยแก้ว ภาชนะ บรรยากาศของร้าน สถานที่ ไม่ใช่คิดแต่ว่าเปิดร้านกาแฟ แค่ตกแต่งร้านให้สวย แล้วจะอยู่ได้ แท้จริง
แล้วมันอยู่ไม่ได้
เราจึงจะต้องกลับไปนั่งคิด ตอบคำถามให้ได้ว่า ธุรกิจของคุณ Value จริงมันคืออะไร และพัฒนาสร้างขีดความสามารถ สร้างความแตกต่างจาก value นั้น ไม่ใช่จาก packaging มาก่อน ต่อดเวย marketing เป็นที่สองแล้วค่อยตามด้วยเรื่องของ Value ลำดับสุดท้าย แต่แท้จริงแล้วนั้น value จะต้องมาก่อนแล้วจึงค่อยตามด้วย กลยุทธ์ทางการตลาด
วันนี้สังคมเราจะเน้นในเรื่องของภาพลักษณ์ เวลาเราอยากจะทำอะไรจึงมักจะเน้นในเรื่องร่วมสมัย ไฮเทค พวกนี้ความจริงมันเป็นต้นทุนทางการเงินทั้งนั้น ยิ่งคุณมีต้นทุนสูงเพราะอยากมี Social Status สูง Value ของสินค้าของคุณก็มีน้อย อันนี้อยู่ยาก เพราะฉะนั้นของทุกอย่างมันจึงต้อง Back to basic ก่อน ถ้าพื้นฐานของๆ คณดี มันก็จะช่วยทำให้คุณต่อยอดได้อย่างหยั่งยืน
คุณโชคเน้นย้้ำว่า SME ถ้าอยากจะเริ่มต้นจริงๆ ให้คิดถึง Core Value และต้องเป็น Core Value ที่แตกต่าง ไม่ใช่ใครก็หลอกเลียนได้ ธุรกิจเราก็จะจบลงเร็ว เราจะต้องระบุลงไปให้ชัดเจนเลยว่า ลูกค้าเรากลุ่มไหน เราจึงค่อยมาวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจต่างๆ ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน
แล้วถ้าเราเป็นคนธรรมดา ที่จะทำสิ่งธรรมดา โดยไม่ธรรมดานั้น คุณโชคให้ความเห็นว่า อย่างแรก ต้องเป็นคนที่รู้จักสังเกตุ และตั้งคำถาม ทุกอย่างที่ผ่านมามันคือประสบการณ์ ถ้าเราสามารถหาคำตอบ มันจะกลายเป็นกรอบความคิด ที่ทำให้เราเข้าใจในการทำธุรกิจมากขึ้น
บทความที่เกี่ยวกับ โชค บูลกุล :
กลยุทธ์การแบ่งคนในองค์กร โดยโชค บูลกุล (Human Resources Strategy)
Think BIG ไปกับโชค บูลกุล
How to build Umm!..Milk brand โดยโชค บูลกุล
ซึ่งปัจจุบันนี้ คุณโชครู้สึกว่า SME ของเรา ตรงนี้ยังทำไม่ได้ดีเต็มที่และยังไม่มีการแพร่หลายมากนัก เราต้องเน้นของเนื้อหา (content) ของธุรกิจ อย่างเช่นสินค้าของญี่ปุ่นที่มีการเน้นในเนื้อหาของสินค้าก่อนแล้วจึงค่อยไปเน้นในเรื่องของ Marketing (Packaging, Promotion)มันถึงจะยิ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามากขึ้นได้ แต่ SME ของเรานั้นจะเอาในเรื่องของ Packaging เป็นตัวตั้ง เรามักจะมีการพูดถึง Creative Design แต่ว่าเนื้อหาจริงๆ ของสินค้านั้นมีน้อยมาก
คุณโชคจึงไม่เห็นด้วยในการพัฒนาสินค้า โดยใช้ packaging เป็นตัวนำ เพราะสินค้าที่ไม่มีความแตกต่างในเชิงเนื้อหาจริงๆ พอถึงจุดๆ หนึ่งคนก็จะรู้สึกไม่จำเป็นต้องมี พอไม่จำเป็นต้องมี ธุรกิจก็ไม่หยั่งยืน เราจึงต้อง back to basic ของตัวสินค้าก่อน เช่น กาแฟ ควรจะกลับไปเน้นในเรื่องเมล็ดกาแฟ สร้างจุดแตกต่างในการปรุงแต่งในการผลิตการทำ แล้วค่อยมาเน้นในเรื่องของ ถ้วยแก้ว ภาชนะ บรรยากาศของร้าน สถานที่ ไม่ใช่คิดแต่ว่าเปิดร้านกาแฟ แค่ตกแต่งร้านให้สวย แล้วจะอยู่ได้ แท้จริง
แล้วมันอยู่ไม่ได้
เราจึงจะต้องกลับไปนั่งคิด ตอบคำถามให้ได้ว่า ธุรกิจของคุณ Value จริงมันคืออะไร และพัฒนาสร้างขีดความสามารถ สร้างความแตกต่างจาก value นั้น ไม่ใช่จาก packaging มาก่อน ต่อดเวย marketing เป็นที่สองแล้วค่อยตามด้วยเรื่องของ Value ลำดับสุดท้าย แต่แท้จริงแล้วนั้น value จะต้องมาก่อนแล้วจึงค่อยตามด้วย กลยุทธ์ทางการตลาด
วันนี้สังคมเราจะเน้นในเรื่องของภาพลักษณ์ เวลาเราอยากจะทำอะไรจึงมักจะเน้นในเรื่องร่วมสมัย ไฮเทค พวกนี้ความจริงมันเป็นต้นทุนทางการเงินทั้งนั้น ยิ่งคุณมีต้นทุนสูงเพราะอยากมี Social Status สูง Value ของสินค้าของคุณก็มีน้อย อันนี้อยู่ยาก เพราะฉะนั้นของทุกอย่างมันจึงต้อง Back to basic ก่อน ถ้าพื้นฐานของๆ คณดี มันก็จะช่วยทำให้คุณต่อยอดได้อย่างหยั่งยืน
คุณโชคเน้นย้้ำว่า SME ถ้าอยากจะเริ่มต้นจริงๆ ให้คิดถึง Core Value และต้องเป็น Core Value ที่แตกต่าง ไม่ใช่ใครก็หลอกเลียนได้ ธุรกิจเราก็จะจบลงเร็ว เราจะต้องระบุลงไปให้ชัดเจนเลยว่า ลูกค้าเรากลุ่มไหน เราจึงค่อยมาวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจต่างๆ ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน
แล้วถ้าเราเป็นคนธรรมดา ที่จะทำสิ่งธรรมดา โดยไม่ธรรมดานั้น คุณโชคให้ความเห็นว่า อย่างแรก ต้องเป็นคนที่รู้จักสังเกตุ และตั้งคำถาม ทุกอย่างที่ผ่านมามันคือประสบการณ์ ถ้าเราสามารถหาคำตอบ มันจะกลายเป็นกรอบความคิด ที่ทำให้เราเข้าใจในการทำธุรกิจมากขึ้น
บทความที่เกี่ยวกับ โชค บูลกุล :
กลยุทธ์การแบ่งคนในองค์กร โดยโชค บูลกุล (Human Resources Strategy)
Think BIG ไปกับโชค บูลกุล
How to build Umm!..Milk brand โดยโชค บูลกุล
Comments
Post a Comment