ผลิตภัณฑ์สีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (ตอนที่ 1 : Green Product)


และแล้วมหาอุทกภัยในปีนี้ก็กำลังจะผ่านพ้นกันไป บางที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปจนน้ำลดเตรียมเก็บกวาดล้างบ้านกันยกใหญ่ แต่บางที่น้ำผ่านมาแล้วแต่ฉไหนใยยังไม่พ้นไปสักที ก็ขอเป็นกำลังใจ อดทนกันอีกนิดนะครับ สำหรับผมถึงแม้จะไม่ได้เป็นผู้ประสบภัยโดยตรง แต่ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน และก็เชื่อได้ว่าหลังจากนี้การใช้ชีวิตของเราคงต้องเปลี่ยนแปลงไปบ้างไม่มากก็น้อย ส่วนตัวทุกวันนี้ผมก็จะคอยสำรวจ ตรวจสอบเลยหล่ะสภาพคลองแถวบ้านเป็นอย่างไร โดยจากเหตุกาณ์ในครั้งนี้ทำให้รู้ว่าว่าแถวบ้านมีคลองอยู่ตรงไหน กี่สาย บ้านห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยากี่กิโล ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้อยู่บ้านนี้มาเกือบ 20 ปีไม่เคยรู้แล้วว่าแถวบ้านก็มีคลอง หรือไม่ชาวกรุงเทพต่อจากนี้อาจจะมีการทิ้งขยะกันในคูคลองกันน้อยลง เพราะรู้แ้้ล้วว่า คลองใหญ่ คลองเล็ก คลองสาขาต่างๆ มีความสำคัญมากกว่าที่เราคิด เพราะมันคือทางระบายน้ำอย่างดีที่มีส่วนช่วยทำให้น้ำที่ท่วมอยู่ในครั้งนี้ลดความวิกฤตลงได้อย่างไร (ประมาณว่าช่วยให้หลายพื้นที่ไม่ท่วมเลยก็ว่าได้) นิ่ก็เป็นมุมหนึ่งของชาวบ้านอย่างเราๆ

แต่สำหรับภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากจากมหาอุทกภัยในครั้งนี้ โดยจากสำรวจของธนาคารโลก ประเมินว่าความเสียหายของเศรษฐกิจไทยจากเหตุอุทกภัยครั้งนี้สูงถึง 1.36 ล้านล้านบาท โดยเป็นความเสียหายภาคเอกชนถึง 1.28 ล้านล้านบาท หรือ 97% มากมายกันเลยทีเดียว ซึ่งหลังจากนี้ภาคธุรกิจนอกจากจะหามาตรการป้องกันภัยธรรมชาติในอนาคตแล้ว คงจะต้องหันกลับมามองในเรื่องของสิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจัง ที่ไม่ใช่เป็นกิจกรรมทางการตลาดทำตามกระแสเหมือนเคย แต่คงต้องกำหนดทิศทางหรือวางแผนธุรกิจ โดยมีเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ เราจะทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์ของเราสร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด หรือที่เขาเรียกว่า "ผลิตภัณต์สีเขียว" (Green Product) เอ...แล้วเจ้าผลิตภัณต์สีเขียว มันหน้าตาเป็นอย่างไร อะไรที่จะบอกว่ามันเป็นผลิตภัณฑ์สีเขียว เราไปดูกันครับ


รับเพิ่ม! บัตรกำนัลสตาร์บัคส์มูลค่า 300 บาท/ท่าน เมื่อกรอกใบสมัครบัตรฯซิตี้จนครบผ่านช่องทางนี้เท่านั้น* (สำหรับลูกค้าใหม่ที่ทำตามเงื่อนไขการรับของกำนัลเช่นเดียวกับช่องทางปกติ)

ผลิตภัณฑ์สีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ตอนที่ 1 :  ความหมายของผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product)
ตอนที่ 2 : การตลาดสีเขียว (Green Marketing)
ตอนที่ 3 : การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Eco Design)
ตอนที่ 4 : ฉลากสีเขียว (Green Label or Eco Label)


ผลิตภัณฑ์สีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (ตอนที่ 1 : Green Product)


ภัยพิบัติร้ายแรงทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก และการพยากรณ์ทางวิทยาศาสตร์ถึงวิกฤตการณ์ร้ายแรงทางธรรมชาติจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ล้วนเป็นกระแสที่ทำให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและภาพแวดล้อมทั่วโลก ผู้คนจำนวนมากจากหลายแวดวงอาชีพเข้ามาร่วมกันจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นในการพิทักษ์ความบริสุทธิ์ของสภาพแวดล้อม หรือบรรเทามลภาวะที่เป็นปัญหาวิกฤตอยู่ในทุกวันนี้ ซึ่งปรากฏออกมาในรูปของการรณรงค์เพื่อสร้างสรรค์สังคมในลักษณะต่าง ๆ รวมถึงการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมด้วยการผลิตสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือ ผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product)



ความหมายของผลิตภัณฑ์สีเขียว


“สีเขียว” เป็นสีที่นำมาใช้ในความหมายของ การอนุรักษ์น้ำ การอนุรักษ์พลังงาน การลดขยะ การลดสารพิษ การมีมาตรฐานการรับรองสินค้าที่ผลิตออกมาเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทำให้กระบวนการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นจริงได้ ในทางปฏิบัติทั้งในบ้านและสำนักงาน กระแสกระบวนการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่เด่นชัดและรุนแรงที่เกิดทำให้ทศวรรษนี้ เป็น “ยุคแห่งสีเขียว” เพราะผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมีจำนวนมากขึ้น และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลออกข้อบังคับกฎระเบียบหรือพระราชบัญญัติในการควบคุมภาคธุรกิจไม่ให้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างขาดสำนึกถึงส่วนรวม แนวความคิดของคำว่า “สีเขียว” เมื่อถูกนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ ก็เรียกว่า “ผลิตภัณฑ์สีเขียว” (Green Product) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษกว่าผลิตภัณฑ์อื่นในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนี้

1) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตให้พอดีกับความต้องการของผู้บริโภค โดยปราศจากความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย

2) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้สารพิษที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์

3) เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้อีกไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์จากวัสดุเดิมหรือกรรมวิธีย่อยสลายแล้วดัดแปลงมาใช้ใหม่

4) เป็นผลิตภัณฑ์ที่อนุรักษ์พลังงานธรรมชาติ ผลิตแล้วต้องไม่เปลืองพลังงาน เริ่มตั้งแต่การผลิต การใช้ ไปถึงการสิ้นสภาพ กระบวนการผลิตจะไม่ทำให้เสียสินค้าโดยไม่จำเป็นหรือเมื่อผลิตออกมาเป็นสินค้าแล้วควรจะมีอายุ การใช้งานนาน เพิ่มหรือเติมพลังงานเข้าไปใหม่ได้

5) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภาชนะหีบห่อน้อยที่สุด การออกแบบกล่องหรือหีบห่อบรรจุต้องไม่ฟุ่มเฟือย


6) กระบวนการผลิตสินค้าในโรงงานต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการนำทรัพยากรมาใช้ หรือทิ้งของเสียลงสู่ธรรมชาติ

7) ห้ามทารุณกรรมสัตว์ เช่น สุนัข แมวหรือลิงโดยการนำไปสัตว์ทดลองเพื่อวิจัยผลการผลิตสินค้า

8) ห้ามนำสัตว์สงวนพันธ์ุมาผลิตเป็นสินค้าเด็ดขาด หรือมีการทำลายชีวิตสัตว์เหล่านั้นทางอ้อม


โดยสรุป “ผลิตภัณฑ์สีเขียว” จะต้องประกอบหลักการ 4R คือ การลดของเสีย (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำมาปรับใช้ใหม่ (Recycle) และการซ่อมบำรุง (Repair)

คราวต่อไป เราจะมาดูกันต่อว่า เราจะทำการตลาดให้ผลิตภัณฑ์สีเขียวของเรา อย่างไร ตามไปอ่านกันต่อใน 6 ข้อคิดกับการตลาดสีเขียว (Six "Green" Marketing Ideas)



หมายเหตุ : บทความผลิตภัณฑ์สีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เป็นของคุณสันทนา อมรไชย

Comments