Logistic Cost

ในต้นทุน Logistic 100% ของประเทศไทย มีต้นทุนค่าขนส่งถึง 53% (ปี 48-49) หรือถ้าเราจะศึกษาแนวโน้ม Logistic cost ในอนาคต โดยพิจารณาจาก อัตราการเดิบโตของ GDP และอัตราการเติบโตของต้นทุน Logistic ของ USA ตั้งแต่ปี 2002-2005 การเติบโตของ GDP จะมากกว่า Logistic Cost แต่พอปี 2005 ถึงปัจจุบัน การเติบโตของ Logistic Cost เติบโตมากกว่า GDP จะเห็นได้ว่า ต้นทุน Logistic มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น เกิดอะไรขึ้น?

เมื่อพิจารณามองภาพใหญ่ :

เกิดความไม่สมดุลในการใช้รูปแบบการขนส่งสินค้า โหมดที่น่าจะต้นทุนต่ำ ก็ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนหรือใช้งาน แต่โหมดที่ต้นทุนสูง เช่น ทางบก มีการใช้แยะมาก (โดยต้นทุนการขนส่งที่แพงที่สุดเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยคือ ถนน, รถไฟ และทางน้ำ) ในปี 2550 ไทยมีการขนส่งทางถนนถึง 85% ทางน้ำ 13% และอีก 2% คือทางรถไฟ (เนื่องจากความเชื่อมั่นในการใช้บริการต่ำ) แล้วต้นทุนขนส่งสินค้าทางถนนมีโครงสร้างอย่างไรละ มาดูกัน

ต้นทุนขนส่งสินค้าทางถนน : ต้นทุนมี 2 ก้อน คือ
1. ต้นทุนทางตรง : ต้นทุนคงที่ + ต้นทุนผันแปร คือ ต้นทุนในการที่เราจะซื้อรถควรคิดให้ได้ว่าจะซื้อหรือจะเช่า อะไรต้นทุนต่ำสุด

ต้นทุนคงที่ (Fix Cost)
- อัตราดอกเบี้ยในการจะซื้อหรือจะเช่า ไม่ว่าเราจะใช้เงินจากแหล่งเงินกู้หรือของตัวเองจะมีต้นทุนทั้งนั้น
- การประกันภัย : ประกันภัยรถ ประกันภัยสินค้า
- ต้นทุนการบริหารจัดการ : เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ เงินเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ
- ต้นทุนในการตรวจสอบสภาพรถ ต้องตรวจสอบทุกปี
- คิดต้นทุนในรูป บาท/กม. ออกมาเพื่อเปรียบเทียบได้ง่ายและสะดวก

ต้นทุนผันแปร (Variable Cost)
- เชื้อเพลิงในการขนส่ง : ต้นทุนน้ำมันรถ 10 ล้อขึ้นไปของบ้านเราอยู่ที่ประมาณ 45% ของต้นทุนทั้งหมด
- ค่าแรงคนขับรถ
- ค่ายางรถ : ยาง10 ล้อ วิ่งได้ประมาณ 1 แสน กม.
- ซ่อมเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) : เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเองในบริษัท หรือตอนนี้ผู้จำหน่ายรถมีการให้บริการซ่อมบำรุงคิดเป็นกม.
- ค่าทางพิเศษต่างๆ
- ค่าล้างรถ

2. ต้นทุนทางอ้อม
- ต้นทุนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
- ต้นทุนทางสังคม การทำ CSR (Corporate Social Responsibility) ต่างๆ
- ต้นทุนในเรื่องการรักษาความปลอดภัย

Trip "ซึ่งต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมควรคิดออกมาให้ได้ในรูป บาท/กม."

โครงสร้างต้นทุนของรถบรรทุก ที่ส่วนใหญ่ใช้ในภาคขนส่ง มีดังต่อไปนี้

ต้นทุนของรถบรรทุก เมื่อทำสัดส่วนออกมา จะได้ : ค่าเชื้อเพลิง 44-60%, ค่าเสื่อมราคารถ 10-15%, ค่าบำรุงรักษา 10-13%, ประกันภัย 6-10% ,รายได้ของ พนักงาน 6-8% จะเห็นได้ว่า เราให้ความสำคัญกับพนักงานน้อยมาก

แล้วเราจะทำอย่างไรกับมันละ เมื่อรู้ต้นทุนแล้ว
1. ย้อนกลับไปมองตั้งแต่เริ่มวันทำงานว่าเราทำอะไรกับมันบ้าง ถ้าไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ก็ตัดทิ้ง
2. ให้ความสัมพันธ์กับต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
3. ทำ PM (Preventive Maintainance) ซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน จะบอกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงจะประหยัดอย่างไร 4. เลือกรถให้ถูกกับประเภทของสินค้าที่ขนส่ง
5. สร้างโครงข่ายการขนส่งที่เรามีอยู่ให้ได้ วิ่งรถแล้วให้คุ้ม
6. นำระบบสารสนเทศมาใช้ โดยเฉพาะ GPS
7. การใช้ยางรถยนต์
8. แบ่งเป็นกลุ่มประเภทรถ หรือพื้นที่ ในการสร้างประสิทธิภาพแข่งขันกัน
9. หาพลังงานทางเลือก

Trip : คุณรู้หรือไม่ว่าทีมฟุตบอล ก็เปรียบเสมือนเป็นระบบ Value Chain อันหนึ่ง

จากระบบห่วงโซ่คณค่า (Value Chain) ที่เป็นการมองภาพที่ใหญ่กว่า Supply Chain ซึ่งเราจะเชื่อม Supply Chain แต่ละอัน โดยใช้ Logistic ซึ่งเปรียบเสมือนทีมฟุตบอลทั้งทีม เป็น Value Chain ผู้เล่นแต่ละตำแหน่งคือ Supply Chain การจ่ายบอลคือ Logistic นั่งเอง เอ้า วันหลังดูบอลไปก็จะได้เห็นระบบ Logistic เลยนะเนี่ย

เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่อง :
KPI for Logistic
Logistic Management Strategy : กลยุทธ์การบริหาร Logistic
การบริหารการเงินใน Logistics (Financial Management in Logistics)

Comments