การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดย ดร. ตีรณ พงษ์มฆพัฒน์

เศรษฐกิจไทยจะฟื้นแน่จริงหรือ
การฟื้นจะต้องดูช่วงเวลา และดูว่าเป็นการฟื้นจริงๆ หรือแค่ขยับหัว


เทียบกับวิกฤตเศรษฐกิจในอดีต
ซึ่งจากวิกฤตของ Subprime ที่ผ่านมาเกือบ 2 ปี ที่มีขนาดความรุนแรงใกล้เคียงกับปี 1930 แต่อาจจะสัก 70% เท่านั้น เพราะเมื่อเราดูจากราคาบ้านในสหรัฐฯ ที่ลดลงตกมาแค่ 35% (ในปี 1930 ลดลงตั้ง 50%) แต่คนดูวิตกมากกว่า เพราะแรงกระแทกที่มาก ประเด็นคือ ระบบเศรษฐกิจในปี 1930 และในปัจจุบันแตกต่างกัน โดย ระบบในปัจจุบันเรามีกลไก และประสบการณ์บางอย่างที่ทำให้ความรุนแรงลดลงไป เช่น

1. สถาบันประกันเงินฝาก (FDIC) ที่รับความเสี่ยง
2. นโยบายของรัฐบาลมีการพัฒนามากกว่าปี 1930 และการขยับตัวที่ไวกว่าของรัฐบาลในการเข้าไปช่วยระบบเศรษฐกิจ

รูปแบบการฟื้นตัว
คำถามก็คือ ตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัวเริ่มดีแล้ว มันกำลังจะกลายเป็นตัว V แล้วใช่หรือไม่ ซึ่งจากแนวโน้มหลังจากการวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านของโลกจะเป็นตัว W ซึ่งทำให้แนวโน้มหลักที่จะเป็น ก็คือตัว W มี 3 ปัจจัยสนับสนุน

1. นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่แต่ละประเทศทำ เป็นนโยบายที่ส่งผลระยะสั้น เพราะเป็นกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน ณ ตอนนั้น ซึ่งธุรกิจอาจจะจ้างคนได้ แต่ในระยะสั้น เท่านั้น พอเงินตรงนี้เริ่มหมด แรงกดดันทางเศรษฐกิจก็จะเป็นไปตามธรรมชาติของระบบ ธรรมชาติของระบบก็คือ ภาคเอกชน กำลังซื้อของประชาชน ถ้าภาคเอกชนไม่สามารถมาเติมกำลังซื้อให้กับระบบเศรษฐกิจได้ มันก็ไม่สามารถฟื้นยาวได้

2. สถานการณ์ยังมีปัญหาเรื่องหนี้เสียในระบบมาก และหนี้เสียที่เกิดขึ้นทำให้ภาคครัวเรือน ยังไม่อยากใช้จ่าย

3. ราคาน้ำมัน ราคาถึงแม้จะตกลงมา แต่ถ้าดูตามปัจจัยพื้นฐานยังเป็นสิ่งที่ขาดแคลนอยู่ แล้วราคาควรอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งมันจะขึ้นกับ ต้นทุนการผลิต ต้นทุนการกลั่น ซึ่งน่าจะอยู่ที่ 70-80 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งต่ำกว่านี้ยาก เพราะถ้าต่ำกว่านี่ พลังงานทดแทนก็ไม่เกิด ทำแล้วไม่คุ้ม ซึ่งถ้าราคาน้ำมันมากว่า 80 เหรียญ ก็อาจจะเกิดภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอีกครั้ง

การฟื้นตัวของประเทศไทย
น่าจะเป็น W ตามเศรษฐกิจโลกเช่นกัน ซึ่งปัจจัยการเมืองยังเป็นสิ่งที่กดดันเศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ แต่ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ยังไม่ส่งผลมากนัก เนื่องจากยังเป็นช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยกันทั่วโลก ก็คือ ไม่ดีกันทั่วโลกนั่นเอง แต่กลับกัน สถานการณ์ทางการเมืองจะเป็นปัจจัยหลักทันที ถ้าเศรษฐกิจทั่วโลกดีขึ้น

เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่อง :
5 สิ่งที่อเมริกาควรเรียนรู้จากจีน
GDP ไตรมาส 4 ปี 2552 ของประเทศไทย โดย ดร.ตีรณ พงษ์มฆพัฒน์

Comments