GDP ไตรมาส 4 ปี 2552 ของประเทศไทย น่าจะโตสัก 3 -4 % เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นของปี 2551 ทำให้ฐานต่ำจึงคิดว่าในไตรมาส 4 ปี 2552 นี้น่าจะโตขึ้น และถ้าเราดูไตรมาส 1 (เทียบกันปีต่อปี)-7% กว่า ส่วนไตรมาสสองอยู่ที่ -4 ถึง -5% ส่วนไตรมาสสามอยู่ที่ -2.8% เพราะฉะนั้นในไตรมาส 4 ถ้าเราทำได้สัก 3% เศษ มันน่าจะทำให้เศรษฐกิจปีนี้น่าจะอยู่ที่ประมาณ -2.5 ถึง -2.8% ไม่น่าจะถึง -3%
ซึ่งในส่วนปัจจัยเสี่ยงที่น่ายังมีผลกระทบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกขณะนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับ ราคาน้ำมัน และสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วว่ายังมีปัญหาอะไรซ่อนอยู่หรือไม่ ส่วนรูปแบบการฟื้นตัวมันจะเป็นระยะสั้น ฟื้นตัวในเชิงเทคนิคหรือตัวเลข แต่ว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังซบเซาอยู่ ทำให้เป็นการฟื้นตัวอย่างไม่ต่อเนื่อง เป็นลักษณะการแกว่งตัวมากกว่า
ซึ่งปีหน้า ดร.ตีรณ คาดคะเนว่าเศรษญกิจไทยน่าจะโตประมาณ 3% ขึ้นไป เพราะฐานตัวเลขในปีนี้ต่ำมากแล้ว เพราะฉะนั้น ปีหน้า 3-4% ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากเกินไป เพราะฉะนั้นถ้าไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ปี 2552 ถ้าตัวเลขเศรษฐกิจเติบโตมาก ก็อย่าไปคิดว่ามันกลับมาเป็นตัววี (V Sharp)เพราะมันเป็นการเปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำของปีนี้เท่านั้นเอง
ในส่วนตัวเลขการส่งออกของเราในไตรมาส 4 ปีนี้น่าจะดีขึ้นและจะเข้าสู่สภาวะปกติในปีหน้า ซึ่งการที่การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก ยังอยู่ในลักษณะแกว่งอยู่นั้น เนื่องจาก ตัวเลขความมั่นคั่งระดับโลกที่หายไปประมาณ 30% จากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ซึ่งมันจะต้องสร้างและสะสมความมั่งคั่งขึ้นมาใหม่จึงจะกลับไปสู่สภาวะเศรษฐกิจที่ดีอย่างเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งยังเป็นเรื่องยากอยู่ ทำให้อีก 2-3 ปี ข้างหน้าเศรษฐกิจโลก ยังถูกกำกับโดยกำลังซื้อของประชาชนซึ่งยังไม่ถูกเท่าที่ควร ซึ่งความชัดเจนจะเห็นในปี 2011 ว่าเศรษฐกิจโลกและของไทยจะโตได้สักเท่าไหน ซึ่งจะเป็นการเติบโตที่นิ่งขึ้น แต่ในระยะยาวแล้วเศรษฐกิจโลกและของไทยในระยะยาวน่าจะต่ำอยู่ ยกเว้นกลุ่มประเทศ BRIC
ส่วนหลักที่เราจะใช้ในการประเมิน GDP ต้องขึ้นอยู่กับระยะสั้นหรือระยะยาว
ถ้าระยะสั้น (1-2 ปี) เราก็ต้องดูองค์ประกอบการบริโภค การลงทุน ว่ามันมีลู่ทางหรือไม่ ส่วนการส่งออกและการนำเข้าจะมีมูลค่าการเติบโตที่ใกล้เคียงกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ตัวที่ใหญ่จึงมาเน้นที่การบริโภคและการลงทุน และดูภาครัฐบาลเข้ามาในส่วนของไทยนั้น กำลังของภาครัฐบาลมีไม่มากนัก เพราะมีกฏหมายเรื่องงบประมาณและการขึ้นภาษีมากำกับอยู่จึงไม่ค่อยเปลี่ยแปลงหวือหวามากนัก ดังนั้น ตัวที่จะมีผลมากก็คือ การบริโภค จะมีสัดส่วนประมาณ 60% ของ GDP
แต่ถ้ามองในระยะยาว ต้องมองความสามารถในการแข่งขัน สู้คู่แข่งในตลาดโลกได้หรือไม่ ต้นทุนเราเป็นอย่างไรถ้าเราแพงกว่า ก็ยากที่จะขยายการส่งออก ทำให้ต้องอาศัยการบริโภคตลาดภายในล้วนๆ แต่ส่วนใหญ่เราจะมองเศรษฐกิจโลกและไทย ควบคุ่กันไปในการพยากรณ์
ส่วนอุปสรรคในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย หลักๆ ก็ยังคงเป็น ราคาน้ำมันดิบของโลก ที่ตอนนี้ยังมีความผันผวนอยู่ ซึ่งตอนนี้เริ่มขึ้นมาในระดับต้นทุน 60-70 บาร์รเล แต่ถ้าเริ่มสูงกว่านี้ จะกระทบกับไทยได้ ส่วนตัวช่วยของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า คงยังต้องขึ้นอยู่กับการส่งออกเป็นหลักนั่นเอง
เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่อง :
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดย ดร. ตีรณ พงษ์มฆพัฒน์
เศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Sufficiency Economy and Creative Economy)
ซึ่งในส่วนปัจจัยเสี่ยงที่น่ายังมีผลกระทบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกขณะนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับ ราคาน้ำมัน และสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วว่ายังมีปัญหาอะไรซ่อนอยู่หรือไม่ ส่วนรูปแบบการฟื้นตัวมันจะเป็นระยะสั้น ฟื้นตัวในเชิงเทคนิคหรือตัวเลข แต่ว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังซบเซาอยู่ ทำให้เป็นการฟื้นตัวอย่างไม่ต่อเนื่อง เป็นลักษณะการแกว่งตัวมากกว่า
ซึ่งปีหน้า ดร.ตีรณ คาดคะเนว่าเศรษญกิจไทยน่าจะโตประมาณ 3% ขึ้นไป เพราะฐานตัวเลขในปีนี้ต่ำมากแล้ว เพราะฉะนั้น ปีหน้า 3-4% ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากเกินไป เพราะฉะนั้นถ้าไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ปี 2552 ถ้าตัวเลขเศรษฐกิจเติบโตมาก ก็อย่าไปคิดว่ามันกลับมาเป็นตัววี (V Sharp)เพราะมันเป็นการเปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำของปีนี้เท่านั้นเอง
ในส่วนตัวเลขการส่งออกของเราในไตรมาส 4 ปีนี้น่าจะดีขึ้นและจะเข้าสู่สภาวะปกติในปีหน้า ซึ่งการที่การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก ยังอยู่ในลักษณะแกว่งอยู่นั้น เนื่องจาก ตัวเลขความมั่นคั่งระดับโลกที่หายไปประมาณ 30% จากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ซึ่งมันจะต้องสร้างและสะสมความมั่งคั่งขึ้นมาใหม่จึงจะกลับไปสู่สภาวะเศรษฐกิจที่ดีอย่างเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งยังเป็นเรื่องยากอยู่ ทำให้อีก 2-3 ปี ข้างหน้าเศรษฐกิจโลก ยังถูกกำกับโดยกำลังซื้อของประชาชนซึ่งยังไม่ถูกเท่าที่ควร ซึ่งความชัดเจนจะเห็นในปี 2011 ว่าเศรษฐกิจโลกและของไทยจะโตได้สักเท่าไหน ซึ่งจะเป็นการเติบโตที่นิ่งขึ้น แต่ในระยะยาวแล้วเศรษฐกิจโลกและของไทยในระยะยาวน่าจะต่ำอยู่ ยกเว้นกลุ่มประเทศ BRIC
ส่วนหลักที่เราจะใช้ในการประเมิน GDP ต้องขึ้นอยู่กับระยะสั้นหรือระยะยาว
ถ้าระยะสั้น (1-2 ปี) เราก็ต้องดูองค์ประกอบการบริโภค การลงทุน ว่ามันมีลู่ทางหรือไม่ ส่วนการส่งออกและการนำเข้าจะมีมูลค่าการเติบโตที่ใกล้เคียงกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ตัวที่ใหญ่จึงมาเน้นที่การบริโภคและการลงทุน และดูภาครัฐบาลเข้ามาในส่วนของไทยนั้น กำลังของภาครัฐบาลมีไม่มากนัก เพราะมีกฏหมายเรื่องงบประมาณและการขึ้นภาษีมากำกับอยู่จึงไม่ค่อยเปลี่ยแปลงหวือหวามากนัก ดังนั้น ตัวที่จะมีผลมากก็คือ การบริโภค จะมีสัดส่วนประมาณ 60% ของ GDP
แต่ถ้ามองในระยะยาว ต้องมองความสามารถในการแข่งขัน สู้คู่แข่งในตลาดโลกได้หรือไม่ ต้นทุนเราเป็นอย่างไรถ้าเราแพงกว่า ก็ยากที่จะขยายการส่งออก ทำให้ต้องอาศัยการบริโภคตลาดภายในล้วนๆ แต่ส่วนใหญ่เราจะมองเศรษฐกิจโลกและไทย ควบคุ่กันไปในการพยากรณ์
ส่วนอุปสรรคในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย หลักๆ ก็ยังคงเป็น ราคาน้ำมันดิบของโลก ที่ตอนนี้ยังมีความผันผวนอยู่ ซึ่งตอนนี้เริ่มขึ้นมาในระดับต้นทุน 60-70 บาร์รเล แต่ถ้าเริ่มสูงกว่านี้ จะกระทบกับไทยได้ ส่วนตัวช่วยของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า คงยังต้องขึ้นอยู่กับการส่งออกเป็นหลักนั่นเอง
เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่อง :
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดย ดร. ตีรณ พงษ์มฆพัฒน์
เศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Sufficiency Economy and Creative Economy)
Comments
Post a Comment