การสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นในองค์กร โดย โชค บูลกุล

1. การใช้คำพูดให้เหมาะกับสถานการณ์ที่แย่ และการเรียบเรียงประเด็น ให้ผู้ฟังเห็นความหวัง เห็นแสงสว่างได้ในระยะใกล้ที่สุด ทำให้เขาเห็นว่าการที่เขายังอยู่และสู้ร่วมกับองค์กร จะทำให้ผ่านสถานการณ์ร้ายๆ ไปได้
2. เมื่อธุรกิจไม่ดี สวัสดิการเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะใช้เป็นตัวสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นให้กับพนักงานที่มีต่อบริษัทได้

3. ตอนอยู่ในช่วงวิกฤติ คุณโชคโดยส่วนใหญ่จะคิดเกี่ยวกับเรื่องคน พฤติกรรมของคน ก็คือ สังเกตุจาก พฤติกรรมของพนักงาน

4. ผู้นำต้องมีการวางระบบ ให้สามารถเข้าถึงพนักงาน หรือเป็นเครื่องวัดอุณหภูมิแต่ละหน่วยธุรกิจ แต่ไม่ใช่ไปก้าวก่าย

5. การบริหารงานในภาวะวิกฤตของคุณโชค จะแบ่งทุกๆ 5 ปี (จากการเข้ามาบริหารงานทั้ง 18 ปี)
- 5 ปีแรก จะเป็นช่วง Reengineer
- 5 ปีต่อปี จะเป็นช่วง Rebrand
- 5 ปี ต่อมาอีก จะเป็นช่วง Reposition
- ในขณะนี้ (ปี 49-54) จะเป็นช่วง Rejuvenate : ทำให้คนเก่าที่ทำงานมานาน รู้สึกว่าเป็นคนใหม่ มีความรู้สึกใหม่ เติมพลังใหม่เข้าไป

ซึ่งวิธีหนึ่งที่ใช้ คือ การที่เราจะต้องเป็น People & HR Base Organization เพราะฉะนั้น หน้าที่หลักของคุณโชค ตอนนี้คือการทำอย่างไร ให้คนมีความรู้สึกตื่นตัว มีความหวังที่อยากจะทำอะไรให้ประสบความสำเร็จ เปรียบเสมือน น้ำที่อยู่ในขวด ถ้าไม่เขย่า มันก็จะเป็นคราบ ตะไคร่ เป็นตะกอนมากมาย

มันก็เปรียบเสมือนนิสัยของมนุษย์ ถ้าเราไม่หมั่นเขย่า ให้ใช้ชีวิตอยู่ไปวันๆ มันก็จะเกิดตะกอนที่เรียกว่า ความเคยชิน อยู่ไปแบบไม่มีความรู้สึกว่าอยากทำอะไรเพื่อองค์กร หรือทำแบบขอไปที

6. น่าจะมีโปรแกรมที่ให้ CEO ได้ใกล้ชิดกับกลุ่มคนที่เป็น Talent ขององค์กร เพื่อให้เขาเห็นว่าการที่เขาจะพัฒนาทักษะ เพื่อองค์กรมันมีความหวัง เช่น คุณโชค ใช้โปรเจค "ครีม" (ส่วนที่ข้นที่สุดในขวดนม)

7. การรักษาคนเก่งของคุณโชค คือ การเคารพในตัวเขา (การฟัง รับความคิดเห็นของเขา)

บทความที่เกี่ยวกับ คุณโชค บูลกุล :
วิธีบริหารลูกน้องของโชค บูลกุล
บทเรียนของผู้ที่จะสืบทอดกิจการ โดย โชค บูลกุล

Comments