แล้วคนเราจะ จัดการจุดแข็งของเราอย่างไร
ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวการบริหารบุคคล
ถ้าองค์กรของท่าน มีคนที่มีความสามารถที่หลากหลาย ท่านจะต้องเฝ้าดูพรสวรรค์โดยธรรมชาติของพนักงานเหล่านั้นคืออะไร เพื่อนำบุคลากรดังกล่าว ไปวางสู่ตำแหน่งงานที่ถูกต้อง และพัฒนาเขา จนทำให้เขากลายเป็นจุดแข็งขององค์กรให้ได้
สมมติฐานในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรที่ผิด (จาก Gallop Poll) คือ
1. คนทุกคนสามารถเรียนรู้และเก่งได้ในหลายด้าน ถ้าองค์กรมีระบบการเรียนรู้ที่ดี
2. การพัฒนาคนต้องพัฒนาเขาที่จุดอ่อน ทำให้เก่งขึ้นให้ได้แล้วเราจะเช็คได้อย่างไรว่า องค์กรเรายึด 2 ข้อนี้ไว้หรือเปล่า โดย
- องค์กรใช้จ่ายเงินมากในการฝึกอบรมคนมากกว่าเลือกคนที่เหมาะสมตั้งแต่แรก
- องค์กรเน้นการวัดผลงาน โดยดูจากสไตล์การทำงานที่จุกจิกเกินไปหรือไม่ เช่น การเข้าทำงานสายกี่นาที, ลาไปกี่วัน เป็นต้น
3. องค์กรทุ่มเวลาในการฝึกอบรมและเม็ดเงินในการลดจุดอ่อนพนักงานมากเกินไปหรือไม่
(คนเราต้องสร้างตัวเองจากจุดแข็ง เพราะฉะนั้น คุณต้องรู้ว่าจุดแข็งของคุณคืออะไร แต่ส่วนมากจะไม่รู้จะรู้แต่จุดอ่อน จนกลายเป็นว่าต้องพยายามลดจุดอ่อนของตัวเองมากขึ้น)
4. การเลื่อนขั้นหรือปรับเงินเดือน อยู่บนพื้นฐานของทักษะที่มีขึ้นใหม่ๆ หรือเปล่า ซึ่งมันจะกลายเป็นว่า คนก็พยายามหาเรียนในด้านต่างๆ มากเกินไป กลายเป็นว่าอาจจะรู้ทุกเรื่อง แต่ไม่เก่งสักเรื่อง
1. ต้องมีคำถามที่เราถามตัวเอง คือ ถ้าเกิดเราจะสร้างจุดแข็งของเราขึ้นมา มันมีอุปสรรคอะไรหรือไม่
2. จุดแข็ง คือ อะไรสักอย่างที่คนเราแสดงออกมา แล้วสามารถทำได้ดีอย่างสม่ำเสมอ แล้วเรายังรู้สึกมีความสุข และสนุกในการทำอยู่ด้วย
3. เราไม่จำเป็นต้องมีจุดแข็งในทุกๆ ด้าน
4. เราจะแสดงผลงานได้ยอดเยี่ยม คือ การขยายจุดแข็ง ไม่ใช่พยายามจะไปลดจุดอ่อน แต่ไม่ใช่ไม่สนใจจุดอ่อน หรือละเลยไป เพราะคนที่สร้างตัวจากจุดแข็ง เขาไม่ได้เพิกเฉยกับจุดอ่อน เขาเพียงแต่หาพยายามหาอะไรบางอย่างที่ทำแล้วเกิดผลมากกว่าเท่านั้นเอง โดยเขาจะรู้วิธีจำกัดขอบเขตของจุดอ่อน ไม่ให้แสดงผลมากนัก
ซึ่งเราต้องสามารถทำความเข้าใจและแยกแยะระหว่างสิ่งที่เราเก่งตามธรรมชาติ (Talent) กับสิ่งที่เราเรียนรู้ได้ แยกให้ออกระหว่างพรสวรรค์กับพรแสวง แล้วเราจะไปถึงจุดยอดในสิ่งที่เราเลือกทำได้อย่างไร จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีพรสวรรค์มาก่อน หรือในกรณีที่เราไม่มีความรู้และต้องหาทางศึกษา (พรแสวง) แต่มันเป็นสิ่งที่คุณไม่ชอบ ไม่ใช่ตัวตนของคุณ คำถามคือ พรแสวงหรือพรสวรรค์จะสำคัญกว่ากัน
2. จุดแข็ง คือ อะไรสักอย่างที่คนเราแสดงออกมา แล้วสามารถทำได้ดีอย่างสม่ำเสมอ แล้วเรายังรู้สึกมีความสุข และสนุกในการทำอยู่ด้วย
3. เราไม่จำเป็นต้องมีจุดแข็งในทุกๆ ด้าน
4. เราจะแสดงผลงานได้ยอดเยี่ยม คือ การขยายจุดแข็ง ไม่ใช่พยายามจะไปลดจุดอ่อน แต่ไม่ใช่ไม่สนใจจุดอ่อน หรือละเลยไป เพราะคนที่สร้างตัวจากจุดแข็ง เขาไม่ได้เพิกเฉยกับจุดอ่อน เขาเพียงแต่หาพยายามหาอะไรบางอย่างที่ทำแล้วเกิดผลมากกว่าเท่านั้นเอง โดยเขาจะรู้วิธีจำกัดขอบเขตของจุดอ่อน ไม่ให้แสดงผลมากนัก
ซึ่งเราต้องสามารถทำความเข้าใจและแยกแยะระหว่างสิ่งที่เราเก่งตามธรรมชาติ (Talent) กับสิ่งที่เราเรียนรู้ได้ แยกให้ออกระหว่างพรสวรรค์กับพรแสวง แล้วเราจะไปถึงจุดยอดในสิ่งที่เราเลือกทำได้อย่างไร จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีพรสวรรค์มาก่อน หรือในกรณีที่เราไม่มีความรู้และต้องหาทางศึกษา (พรแสวง) แต่มันเป็นสิ่งที่คุณไม่ชอบ ไม่ใช่ตัวตนของคุณ คำถามคือ พรแสวงหรือพรสวรรค์จะสำคัญกว่ากัน
ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวการบริหารบุคคล
ถ้าองค์กรของท่าน มีคนที่มีความสามารถที่หลากหลาย ท่านจะต้องเฝ้าดูพรสวรรค์โดยธรรมชาติของพนักงานเหล่านั้นคืออะไร เพื่อนำบุคลากรดังกล่าว ไปวางสู่ตำแหน่งงานที่ถูกต้อง และพัฒนาเขา จนทำให้เขากลายเป็นจุดแข็งขององค์กรให้ได้
สมมติฐานในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรที่ผิด (จาก Gallop Poll) คือ
1. คนทุกคนสามารถเรียนรู้และเก่งได้ในหลายด้าน ถ้าองค์กรมีระบบการเรียนรู้ที่ดี
2. การพัฒนาคนต้องพัฒนาเขาที่จุดอ่อน ทำให้เก่งขึ้นให้ได้แล้วเราจะเช็คได้อย่างไรว่า องค์กรเรายึด 2 ข้อนี้ไว้หรือเปล่า โดย
- องค์กรใช้จ่ายเงินมากในการฝึกอบรมคนมากกว่าเลือกคนที่เหมาะสมตั้งแต่แรก
- องค์กรเน้นการวัดผลงาน โดยดูจากสไตล์การทำงานที่จุกจิกเกินไปหรือไม่ เช่น การเข้าทำงานสายกี่นาที, ลาไปกี่วัน เป็นต้น
3. องค์กรทุ่มเวลาในการฝึกอบรมและเม็ดเงินในการลดจุดอ่อนพนักงานมากเกินไปหรือไม่
(คนเราต้องสร้างตัวเองจากจุดแข็ง เพราะฉะนั้น คุณต้องรู้ว่าจุดแข็งของคุณคืออะไร แต่ส่วนมากจะไม่รู้จะรู้แต่จุดอ่อน จนกลายเป็นว่าต้องพยายามลดจุดอ่อนของตัวเองมากขึ้น)
4. การเลื่อนขั้นหรือปรับเงินเดือน อยู่บนพื้นฐานของทักษะที่มีขึ้นใหม่ๆ หรือเปล่า ซึ่งมันจะกลายเป็นว่า คนก็พยายามหาเรียนในด้านต่างๆ มากเกินไป กลายเป็นว่าอาจจะรู้ทุกเรื่อง แต่ไม่เก่งสักเรื่อง
บทความที่เกี่ยวเนื่อง :
สมการคนเก่ง ใน Logistics
Comments
Post a Comment