โชค บูลกุลกับประสบการณ์การเรียนรู้จากคุณพ่อ

มันอยู่ที่ตัวเราว่า เข้าใจบทบาทของเราอย่างไร ประสบการณ์คุณพ่อกับเราจะแตกต่างกัน หนึ่งคือ คุณพ่อเป็นเจ้าของจริงๆ เพราะฉะนั้นจะทำจะตัดสินใจทำอะไร จะอิสระมากกว่า ทำตามความรู้สึกและอารมณ์ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่เราได้เรียนรู้คือ เราจะทำตัวเป็นเหมือนเจ้าของไม่ได้ มันต่างสถานการณ์ เราจึงต้องวาง Position ของเราให้เหมาะสม โดยสิ่งที่เราจะมองตัวเอง คือ การเป็นผู้สานต่อ การเป็นพนักงานมีเหตุและมีผล

โดยหลักการของคุณพ่อในอดีต คือ เป็น Enterprenueur ซึ่งในสังคมสมัยนั้น เชื่อว่าการทำอะไรแล้ว ต้องแตกต่าง ต้องใหญ่ ต้องโดดเด่น เพื่อตอบสนองความต้องการและเป็นการสร้างความได้เปรียบของชั้นเชิงทางการตลาดด้วย แต่ในยุคสมัยนี้ เราจะมองแค่นี้คงไม่ได้ แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การมี initiative (ความคิดริเริ่ม) ที่เหมือนกันระหว่างคุณพอกับคุณโชค แต่จะขึ้นอยู่กับกรอบในแต่ละช่วง

แง่มุมทางการตลาด มีการมองแตกต่าง คุณพ่อจะเป็นนักริเริ่มจริงๆ แต่จะไม่ค่อยเน้นในเรื่องหลักจากนั้น ทั้งในเรื่องการตลาด การ follow ตามความคิดริเริ่มเหล่านั้น ทำให้การบริหารงานไม่ต่อเนื่อง

มุมมองในเรื่องการบริหารคน ก็ต่างกัน เพราะคุณพ่อชอบการก่อสร้าง จะมักจะไปคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้ในองค์กรมากกว่า ทำให้คนกลุ่มนี้รักเขามากกว่าแต่ในวาระคุณโชค ที่เป็น CEO ที่จะมีบทบาททั้งภายในภายนอก บทบาทในสังคม บทบาทผู้นำองค์กร ที่จะต้องจัดความสำคัญให้ถูก เพราะถ้าเราให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนเท่าเทียมกันหมด พนักงานอาจจะรู้สึกดี แต่ประสิทธิผลของเราอาจจะลดลง ซึ่งต้องทำให้เขารู้ว่าเราเอาใจใส่

คุณโชค ตั้งใจแต่แรกเลยตั้งแต่เข้ามาทำงานว่า อยากเป็นพนักงานที่มีค่าที่สุดในองค์กร เพราะเวลาเรา bench ตัวเอง เราจะได้มีความรู้สึกภูมิใจ ว่าเรามีคุณค่า ไม่ใช่บริษัทต้องเปิดมาเพื่อให้ลูกมีงานทำ เพราะบางบริษัท เปิดออกมาเพื่อให้ลูกมีที่ ที่ทำให้ตัวเองดูมีความสามารถ แท้จริงแล้วเราต้องสร้างพื้นที่ทางสังคม เพื่อให้สังคมยอมรับในคุณค่าของเราด้วย ไม่ใช่ยึดติดกับสิ่งที่คิดว่ามีคุณค่าในองค์กรที่พ่อแม่สร้างมาให้

เนื้อหาที่เกี่ยวกับคุณโชค บูลกุล :
คำแนะนำสำหรับ ทายาทที่จะสืบทอดกิจการ
โชค บูลกุลกับการเรียนรู้จากคุณพ่อ
เคล็ดลับบริหารคนในธุรกิจครอบครัว (HR Management in Family Business) โดย โชค บูลกุล

Comments