การบริหารคนในธุรกิจครอบครัวนั้น มันจะไม่มีรูปแบบที่ตายตัวในการบริหาร แต่จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ขนาดของธุรกิจ ความเป็นมาของธุรกิจและหลักการที่ผู้ก่อตั้งทำมาจนถึงวันนี้ เพราะฉะนั้นความไม่ตายตัวตรงนี้ คุณโชคจึงไม่อยากฟันธงว่าจะต้องเป็นแบบไหน แต่ถ้าถามความคิดเห็นของคุณโชค ในเรื่องดังกล่าวนั้น คุณโชคให้ข้อคิดว่าเราจะแบ่งเป็นยุคบุกเบิก และยุคของการรักษา ซึ่ง Generation ที่สองส่วนใหญ่เราจะเป็นยุคของการรักษา ฉะนั้น การใช้วิจารณญานในการ
ทำธุรกิจใน style ผู้บุกเบิกบางทีอาจไม่เหมาะสม ไม่สมควรกับเวลาแล้ว แต่ถ้าผมอยู่ในยุคบุกเบิกในการบริหารธุรกิจครอบครัว การที่จะต้องทำให้รุ่นที่สองทำงานอย่างมีเหตุและมีผล และเราสามารถวัดผลงานเขาได้
อย่างแรกเลยคือ เราต้องแยกแยะความเป็นคนในครอบครัวและความเป็นมืออาชีพออกจากกันให้ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ยากที่จะกระทำ เพราะเมื่อเวลาเราสอนหรือให้งานแก่รุ่นที่สอง จะออกไปในแนวของพ่อสอนลูก ทำให้โจทย์ที่เรามอบหมายให้เขาทำบางทีจะเกิดความคลุมเคลือ การตัดสินใจการวิเคราห์tผลงานก็จะเกิดความคลุมเคลือ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดมาตรฐานในการพิจาณาการทำงานที่ชัดเจนและยากในการที่จะไปวัดผลคนที่ไม่ใช่คนในครอบครัวเรา ซึ่งรากฐานของครอบครัวที่ไม่เหมือนกัน จะเป็นตัวแปรสำคัญในการที่จะวางการบริหารงาน เพราะบางทีความรู้สึกจะขัดแย้งกับตัวเอง สงสารลูกบ้าง ทำให้แยกแยะลำบาก และในท้ายที่สุดคนในครอบครัว เกิดความรู้สึกว่าทำอะไร ก็ถูก ทำอะไรก็ได้ไม่มีปัญหา เราจึงอาจต้องลดความผูกพันธ์ทางอามณ์ลงมาบ้าง แล้วเพิ่มหลักการ และเอาการจัดการเข้ามาเสริม
คุณโชคยังเน้นว่าข้อยาก ก็คือ การพิจารณาคนในครอบครัว และคนที่ไม่ได้อยู่ในครอบครัว มันยากในการพิจารณาให้คุณให้โทษ เพราะถ้ามีความผูกพันกับเราคงจะยากที่จะพิจารณาโทษ ส่วนในกรณีของคุณโชคกับคุณพ่อนั้น มันไม่มีปัญหาเนื่องจาก คุณโชคขอมาทำงานในสิ่งที่ไม่มีผลประโยชน์อะไรเลย มันจึงไม่มี Commitment มาสร้างแรงกดดัน เพราะไม่มีผลประโยชน์ เพียงแต่เราอย่าไปเพิ่มความกดดันให้เขา โดยการบริหารงานไม่ให้แย่ไปกว่าที่เป็นอยู่ มันจึงดูเหมือนง่ายกว่าบางบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ที่ต้องรักษาผลการดำเนินงานให้ดีอย่างต่อเนื่อง
โดยคุณโชค เพิ่มเติมว่า ถ้าเราสามารถบริหารจัดการคนในธุรกิจครอบครัวได้นั้น สิ่งที่ได้มาแน่ๆ ก็คือ ความรวดเร็ว เพราะธุรกิจครอบครัวได้เปรียบในเรื่องของความเร็วในการตัดสินใจ เพราะไม่ต้องคิดเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ คนในครอบครัวสามารถพูดเรื่องงาน เรื่องนโยบายได้ทันทีไม่ว่าอยู่ที่ทำงาน ที่บ้าน หรือสถานที่ต่างๆ เมื่อทำกิจกรรมร่วมกันอยู่ ไม่เหมือนกับองค์กรใหญ่ๆ ที่จะต้องมีการนัดล่วงหน้า แจ้งเรื่องประชุม มีพิธีการมากมาย
เมื่อธุรกิจครอบครัวเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ นั้น ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวไม่ควรจะลด แต่ความชัดเจนในการแยกแยะระหว่างคนที่มีความสัมพันธ์ในครอบครัว กับคนที่ต้องสัมพันธ์กันในฐานะความเป็นมืออาชีพ ตรงนี้เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น ต้องมีความชัดเจนและลึกซึ้งมากขึ้น
ในส่วนของบางองค์กรที่ไม่ใช่มาจากธุรกิจครอบครัว แต่มีความพยายามที่จะให้พนักงานรู้สึกว่าเป็นคนในครอบครัวนั้น ต้องขึ้นอยู่กับศิลปะการแสดงออกของเจ้าของ ที่ต้องแสดงออกต่อพนักงานในองค์กร อาจะไม่เกี่ยวกับการให้ incentive ต่างๆ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งคุณโชคบังบอกด้วยว่าเจตนาของคุณโชคในการบริหารองค์กรฟาร์มโชคชัยนั้นต้องการให้เป็นแบบครอบครัว พี่น้อง เพราะฉะนั้น ถ้าใครอยากรู้ว่าพนักงานทุกคนรู้สึกมาอย่างที่คุณโชคต้องการหรือไม่ ลองไปเที่ยวฟาร์มโชคชัย แล้วสอบถามกับพนักงานโดยตรงได้เลย เพราะคุณโชคก็ยังอยากรู้เช่นเดียวกัน
บทความที่เกี่ยวกับคุณโชค บูลกุล :
ทิศทางและสถานการณ์การท่องเที่ยวไทย ในมุมมองโชค บูลกุล (Thailand Tourism Outlook)
บทเรียนของผู้ที่จะสืบทอดกิจการ โดย โชค บูลกุล
วิธีบริหารลูกน้องของโชค บูลกุล
โชค บูลกุลกับการเรียนรู้จากคุณพ่อ
ทำธุรกิจใน style ผู้บุกเบิกบางทีอาจไม่เหมาะสม ไม่สมควรกับเวลาแล้ว แต่ถ้าผมอยู่ในยุคบุกเบิกในการบริหารธุรกิจครอบครัว การที่จะต้องทำให้รุ่นที่สองทำงานอย่างมีเหตุและมีผล และเราสามารถวัดผลงานเขาได้
อย่างแรกเลยคือ เราต้องแยกแยะความเป็นคนในครอบครัวและความเป็นมืออาชีพออกจากกันให้ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ยากที่จะกระทำ เพราะเมื่อเวลาเราสอนหรือให้งานแก่รุ่นที่สอง จะออกไปในแนวของพ่อสอนลูก ทำให้โจทย์ที่เรามอบหมายให้เขาทำบางทีจะเกิดความคลุมเคลือ การตัดสินใจการวิเคราห์tผลงานก็จะเกิดความคลุมเคลือ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดมาตรฐานในการพิจาณาการทำงานที่ชัดเจนและยากในการที่จะไปวัดผลคนที่ไม่ใช่คนในครอบครัวเรา ซึ่งรากฐานของครอบครัวที่ไม่เหมือนกัน จะเป็นตัวแปรสำคัญในการที่จะวางการบริหารงาน เพราะบางทีความรู้สึกจะขัดแย้งกับตัวเอง สงสารลูกบ้าง ทำให้แยกแยะลำบาก และในท้ายที่สุดคนในครอบครัว เกิดความรู้สึกว่าทำอะไร ก็ถูก ทำอะไรก็ได้ไม่มีปัญหา เราจึงอาจต้องลดความผูกพันธ์ทางอามณ์ลงมาบ้าง แล้วเพิ่มหลักการ และเอาการจัดการเข้ามาเสริม
คุณโชคยังเน้นว่าข้อยาก ก็คือ การพิจารณาคนในครอบครัว และคนที่ไม่ได้อยู่ในครอบครัว มันยากในการพิจารณาให้คุณให้โทษ เพราะถ้ามีความผูกพันกับเราคงจะยากที่จะพิจารณาโทษ ส่วนในกรณีของคุณโชคกับคุณพ่อนั้น มันไม่มีปัญหาเนื่องจาก คุณโชคขอมาทำงานในสิ่งที่ไม่มีผลประโยชน์อะไรเลย มันจึงไม่มี Commitment มาสร้างแรงกดดัน เพราะไม่มีผลประโยชน์ เพียงแต่เราอย่าไปเพิ่มความกดดันให้เขา โดยการบริหารงานไม่ให้แย่ไปกว่าที่เป็นอยู่ มันจึงดูเหมือนง่ายกว่าบางบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ที่ต้องรักษาผลการดำเนินงานให้ดีอย่างต่อเนื่อง
โดยคุณโชค เพิ่มเติมว่า ถ้าเราสามารถบริหารจัดการคนในธุรกิจครอบครัวได้นั้น สิ่งที่ได้มาแน่ๆ ก็คือ ความรวดเร็ว เพราะธุรกิจครอบครัวได้เปรียบในเรื่องของความเร็วในการตัดสินใจ เพราะไม่ต้องคิดเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ คนในครอบครัวสามารถพูดเรื่องงาน เรื่องนโยบายได้ทันทีไม่ว่าอยู่ที่ทำงาน ที่บ้าน หรือสถานที่ต่างๆ เมื่อทำกิจกรรมร่วมกันอยู่ ไม่เหมือนกับองค์กรใหญ่ๆ ที่จะต้องมีการนัดล่วงหน้า แจ้งเรื่องประชุม มีพิธีการมากมาย
เมื่อธุรกิจครอบครัวเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ นั้น ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวไม่ควรจะลด แต่ความชัดเจนในการแยกแยะระหว่างคนที่มีความสัมพันธ์ในครอบครัว กับคนที่ต้องสัมพันธ์กันในฐานะความเป็นมืออาชีพ ตรงนี้เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น ต้องมีความชัดเจนและลึกซึ้งมากขึ้น
ในส่วนของบางองค์กรที่ไม่ใช่มาจากธุรกิจครอบครัว แต่มีความพยายามที่จะให้พนักงานรู้สึกว่าเป็นคนในครอบครัวนั้น ต้องขึ้นอยู่กับศิลปะการแสดงออกของเจ้าของ ที่ต้องแสดงออกต่อพนักงานในองค์กร อาจะไม่เกี่ยวกับการให้ incentive ต่างๆ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งคุณโชคบังบอกด้วยว่าเจตนาของคุณโชคในการบริหารองค์กรฟาร์มโชคชัยนั้นต้องการให้เป็นแบบครอบครัว พี่น้อง เพราะฉะนั้น ถ้าใครอยากรู้ว่าพนักงานทุกคนรู้สึกมาอย่างที่คุณโชคต้องการหรือไม่ ลองไปเที่ยวฟาร์มโชคชัย แล้วสอบถามกับพนักงานโดยตรงได้เลย เพราะคุณโชคก็ยังอยากรู้เช่นเดียวกัน
บทความที่เกี่ยวกับคุณโชค บูลกุล :
ทิศทางและสถานการณ์การท่องเที่ยวไทย ในมุมมองโชค บูลกุล (Thailand Tourism Outlook)
บทเรียนของผู้ที่จะสืบทอดกิจการ โดย โชค บูลกุล
วิธีบริหารลูกน้องของโชค บูลกุล
โชค บูลกุลกับการเรียนรู้จากคุณพ่อ
Comments
Post a Comment