เศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Sufficiency Economy and Creative Economy)

ความแตกต่างและความเหมือน
เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เริ่มมาตั้งแต่ปี 2517 จากพระบรมราโชวาท จากงานพระราชทานปริญญาบัตรมหาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งหลักเกณฑ์สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง มีอยู่ 5 คำ คือ สามห่วง / สองเหตุผล

สามห่วง

คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี ภายใต้เงื่อนไขมีความรู้และคุณภาพ

1. ความพอประมาณ : การเลือกทำในสิ่งที่ตนเองถนัด และทำอย่างพอประมาณ (Core Compentency) สร้างขนาดธุรกิจที่เหมาะกับตน รู้จักตัวเอง

2. ความมีเหตุผล : ใช้เครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ อย่างสมเหตุสมผล มีการจ้างงานในพื้นที่หรือใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น

3. มีภูมิคุ้มกัน : มีการบริหารความเสี่ยงแค่ไหน มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อกระจายความเสี่ยง มีการร่วมมือกับชุมชน มีเครือข่ายร้านค้าในชุมชน เพื่อจะส่งวัตถุดิบให้

เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy)
ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกในการนำ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์มาใช้ โดยนำมาใช้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เกิดจากภูมิปัญญา ซึ่งหลักเกณฑ์สำคัญ คือ มันเป็นแนวคิดขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ ใช้การศึกษา การสร้างสรรค์ ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Interecture Property) ซึ่งให้มันเชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม รู้จักใช้เทตโนโลยีสมัยใหม้ และอาศัยวัฒนธรรมเป็นจุดขาย โดยจะเห็นได้จากประเทศเกาหลี ที่มีหนัง เพลง สินค้า ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน

เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ กับบทบาทของรัฐบาลไทย
รัฐบาลไทยกำลังทุ่มเงิน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อให้กลุ่มอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ด้วยกัน

กลุ่มที่ 1 คือ การสืบทอดทางมรดกและวัฒนธรรม สินค้าที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น งานฝีมือ หัตถกรรม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แพทย์แผนไทย อาหารไทย เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 คือ ศิลปะการแสดง เช่น ทัศนศิลป์ต่างๆ
กลุ่มที่ 3 คือ สื่อสมัยใหม่ เช่น ภาพยนต์ วีดีทัศน์ การพิมพ์ กระจายเสียง ดนตรีต่างๆ
กลุ่มที่ 4 คือ การสร้างสรรค์และออกแบบ เช่น แฟชั่น งานสถาปัตร การโฆษณา และ sotfware

เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่อง :
การลงทุนในธุรกิจปาล์มน้ำมันในไทย
5 สิ่งที่อเมริกาควรเรียนรู้จากจีน
GDP ไตรมาส 4 ปี 2552 ของประเทศไทย โดย ดร.ตีรณ พงษ์มฆพัฒน์

Comments