เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นผู้นำกับโชค บูลกุล (How to treat your's child to be a leader)

การที่เราจะเรียนรู้ให้เป็นผู้นำได้นั้น ก่อนอื่นเราต้องดูก่อนว่า เขามีโอกาสในการพัฒนาสิ่งที่เรียกว่าความรอบรู้ทางอารมณ์ หรือเรียกว่า EQ มากกว่าความรู้ทางวิชาชีพหรือไม่ เพราะคุณโชคให้ความเห็นว่า เด็กสมัยใหม่บางครั้งการเรียนอะไรมากๆ แยะๆ นั้น มันเกิดจากพ่อแม่สมัยใหม่กลัวลูกไม่เก่งเลยไปฝากความหวังให้กับสถาบันทั้งหลาย เร่งให้ลูกเรียนอะไรหลายอย่างๆ เพราะกลัวไม่ทัน และผลักดันให้เด็กเข้าเรียนเร็วกันจนเกินความจำเป็น

ซึ่งคุณโชคมองว่า ถ้าเป็นลูกผมนั้น เมื่อเด็กอายุยังน้อย คุณโชคอยากซนมากกว่าที่จะเข้าไปสู่ระบบการเรียน คุณโชคเชื่อว่าการเรียนจะเป็นการพัฒนาในเรื่องของวิชาการ แต่การซนจะเป็นการพัฒนาในเรื่องของจินตนาการ การเอาตัวรอด เพราะฉะนั้น เมื่อเราตีกรอบให้ลูกเรียนตั้งแต่อายุยังน้อยไม่ว่าจะเรียนภาษา เรียนกีฬา เต้นรำ ดนตรี คุณโชคเชื่อว่ามันจะเป็นการตีกรอบตั้งแต่เด็ก ซึ่งตรงข้ามที่สังคมเรียกร้องความคิดสร้างสรรค์ (Creative)ซึ่งถ้ามนุษย์เราถูกตีกรอบตั้งแต่ยังเด็ก คำว่าความคิดสร้างสรรค์มันก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะเราถูกฝึกมาให้มีความรู้จริง แต่เป็นควมรู้เฉพาะด้าน เฉพาะเรื่องแต่ไม่มีความรอบรู้

ในการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต มันไม่ใช่เป็นหลักการเรียนแบบโรงเรียน ซึ่งเป็นการเรียนแบบทีละหน้า ทีละบท ทีละวิชา แต่เมื่อคุณมาอยู่ในโลกของการทำงาน มันเป็นการเอาทุกเรื่องๆ มาใช้ อยู่ที่ความเหมาะสมว่าจะเอาเรื่องไหนมาใช้ ใช้มาก ใช้น้อย ซึ่งวิจารณญานตรงนี้ คุณโชคถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งมันควรจะต้องถูกฝึกตั้งแต่ยังเด็ก

เพราะฉะนั้น ช่วงระยะเริ่มต้นของเด็ก สำคัญมากที่จะต้องให้เขาได้ซน เพราะเราจะได้เห็นจินตนาการเขา ในการตั้งคำถาม และหาคำตอบได้ตัวเองคุณโชคเชื่อว่า สิ่งมีชีวิตที่มีปัญญาอย่างเรา มันมีวิธีการในการพัฒนาการรอบรู้ และการรู้โดยความเข้าใจ ผ่านการสังเกตุและการปฏิบัติ ซึ่งคุณโชคถือเป็นจุดเริ่มต้นเลย ซึ่งถ้าเราเริ่มต้นให้ลูก เขาได้ฝึกทักษะตรงนี้ จะเป็นพื้นฐานของชีวิตเลย ว่าจากนี้ไปพื้นฐานการใช้ชีวิตของพวกเขา คือ การได้ปฏิบัติหรือการได้ตั้งสมมติฐานในการเริ่มต้นหาวิธีการปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าการที่เรามีทฤษฎี ที่อาจจะมีความรู้แยะ แต่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเพราะไม่ได้ลงมือปฏิบัติ เพราะพื้นฐานนิสัยไม่เคยต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างสังคมตะวันตกและเอเชีย เราจะมีความเชื่อว่า ถ้าเรียนแยะเกรดเยี่ยม อนาคตสดใส แต่เราน่าจะส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ของเรา รู้จักสังเกตุ ตั้งคำถาม จะได้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์เพิ่มขึ้น

ซึ่งคุณโชค ยังเพิ่มเติมว่า จากประเด็นที่อยากให้เด้กรู้จักเรียรู้ด้วยตนเอง ตอนนี้ฟาร์มโชคชัย จึงพยายามที่จะเปลี่ยนจาก Agro Tourism เป็น Knowledge Tourism เพื่อเปลี่ยนเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งตอนนี้มีเด็กนักเรียนจากสิงค์โปร์เข้ามาเยอะมาก เพราะสิงค์โปร์เข้าใจว่า ก่อนที่คนจะเก่งได้นั้น ต้องเรียนรู้ที่จะใช้ วิชาชีพของตัวเอง อยู่ร่วมกับธรรมชาติ เขาจึงเปลี่ยนสถานที่เรียนรู้ในห้องเรียน เป็นสถานประกอบการ ซึ่งสามารถที่จะสร้างแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติในการเรียนรู้ได้มากกว่า ซึ่งในอนาคตจะทำให้คนเข้าใจในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติมากกว่า ในเมื่อแต่ก่อนการเรียนรู้จะสอนให้เราเอาชนะคนอื่น โดยไม่คำนึงถึงการเบียดเบียน ทำให้สังคมเกิดการแข่งขันเพื่อที่จะให้ได้ที่หนึ่งให้ได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น มาตาพุต ที่เกิดจากการใหญ่ แต่ไม่ได้คำนึงถึงการเบียดเบียน เพราะฉะนั้น เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ธรรมชาติของการเป็นสิ่งมีชีวิตมันควรอยู่อย่างไร แล้วค่อยตามด้วยความเก่ง ไม่ใช่เริ่มมาก็เก่ง เก่งบนหลักการโดยไม่ได้คำนึงถึงสภาวะสิ่งแวดล้อม

คุณโชค สรุปประเด็นไว้ว่า ถ้าเราพัฒนาความรอบรู้ และการเอาตัวรอด บนพื้นฐานของการเข้าใจธรรมชาติ มันจะได้ลดละการเบียดเบียน และเติบโตมาเป็นผู้นำที่สามารถเอาตัวรอด (การนำพาองค์กร ประเทศชาติไปรอด) โดยไม่ไปเบียดเบียนใคร ซึ่งตรงนี้ถือเป็น Idle ในการเป็นผู้นำในอนาคต เราจึงต้องเลี้ยงลูกด้วยความกล้า อย่าเลี้ยงลูกด้วยความกลัว เช่น ถ้าพ่อแม่อาจจะเคยตกบันได เราจะเอาความกลัวที่ฝังใจ มาทำให้ลูกไม่กล้าเดินลงบันได เพราะกลัวตก ทั้งๆ ที่เด็กยังไม่มีประสบการณ์แต่กลัวไปก่อนแล้วเพราะพ่อแม่เอาไปใส่เขา ตรงนี้ จึงมองว่าพ่อแม่สมัยใหม่ กลัวลูกเราไม่ทันโลกหรือเปล่า จึงไม่กล้าเลี้ยงด้วยตนเอง ก็เลยต้องให้สถาบันโน่น นี้ เข้าโรงเรียน Inter ซึ่งในบางครั้งถ้าเรา inter ตั้งแต่ 3-4 ขวบ จะเป็นไปได้ที่เขาจะไม่รู้ประวัติประเทศไทย ไม่ถูกปลูกฝังของการเป็นไทย แล้วโตขึ้นเขาจะมีความเป็นไทยได้มากน้อยแค่ไหน

บทความที่เกี่ยวโชค บูลกุล :
โชค บูลกุลกับการเรียนรู้จากคุณพ่อ
การเติบโตของแหล่งท่องเที่ยวของหัวหินและเขาใหญ่ (Huahin and Khaoyai)
ผู้นำ สร้างได้หรือไม่ โดยโชค บูลกุล (Leader can make ?)

Comments