บริหารเงิน บริหารตน โดยโชค บูลกุล (Financial Management)

โดยส่วนตัวแล้วคุณโชค จะไม่ค่อยถนัดทางด้านนี้เท่าไหร่นัก ส่วนใหญ่จะออกแนวศิลปะ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ จึงถนัดในเรื่องการตลาดมากกว่า แต่หลังจากที่ต้องเข้ามาบริหาร บริษัทกลุ่มฟาร์มโชคชัย จึงเริ่มที่จะมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยในช่วงที่บริษัทประสบภาวะวิกฤตนั้นมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งตั้งแต่นั้นมาคุณโชคใช้หลักการบริหารเงิน โดยเน้นไปที่เงินสดเป็นสำคัญ ทำให้ 17 ปี ในการทำงานของคุณโชคนั้น ไม่เคยต้องกู้เงินเลย จนถึงทุกวันนี้ ธุรกิจก็เติบโต กระแสเงินสดก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

โดยคุณโชคให้ความเห็นว่าธุรกิจที่มีขนาดใหญ่นั้น มักที่จะต้องกู้มาก เนื่องจากต้องขยายธุรกิจ แต่ในเรื่องกระแสเงินสด เราอาจจะใช้เงินผิดประเภท ผิดวงจร หรือการวางงบประมาณของเราไม่ครอบคลุม ทำให้เงินสดขาดมือได้ แต่สำหรับธุรกิจฟาร์มโชคชัยนั้น เงินสดที่เราได้มา เราจะแบ่งออกเป็นส่วนๆ ทั้งสำรองไว้สำหรับการลงทุน, การป้องกันเงินเฟ้อ, เงินออม, เงินลงทุนระยะสั้น และสุดท้ายคือ เงินที่แบ่งปันแก่พนักงาน

คุณโชคเชื่อว่า ถ้าธุรกิจสามารถบริหารกระแสเงินสดได้ดี ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตที่รุนแรงแค่ไหน ก็สามารถฝ่าฟันไปได้ ผ่อนหนักเป็นเบา ธุรกิจของฟาร์มโชคชัยจึงเน้นแต่เงินสด ยกเว้นธุรกิจอาหารโคนม ที่จะเป็นเงินเชื่อ เนื่องจากคู่ค้าเป็นเกษตรกร เพราะฉะนั้นการดำเนินธุรกิจของคุณโชค ที่เน้นเงินสดนั้น จะทำให้ธุรกิจมีเงินสดเก็บไว้เพื่อใช้ในยามที่มีโอกาสดี เช่น ในช่วง ปีสองปีนี้ ที่เศรษฐกิจแย่ แต่ถือว่าเป็นโอกาสดีของผู้ที่มีเงินสดที่จะลงทุน ซึ่งจะเห็นได้ว่า การก่อสร้างโรงงาน Ummilk ของคุณโชคที่ลงทุนในช่วงนี้ มีต้นทุนลดลงเกือบ 30%

คุณโชคจะเน้น Budget เป็นสำคัญ จะมีการวัดผลทุกเดือน เพื่อให้สิ้นปีนั้นเป็นไปตามเป้า โดยผู้บริหารระดับสูงอย่าดูตัวเลขแค่ตอนสรุป แต่ทุกการประชุมต้องมีการสรุปทุก 10 หรือ 15 วัน เป็นการเกาะติดในเรื่องรายรับรรายจ่าย เพื่อที่จะดูว่ามันสามารถเป็นไปตามเป้าหมายในแต่ละเดือนมากน้อยแค่ไหน แทนที่เราจะมารอวันที่ 25 ของเดือน แล้วจึงประชุมดูงบ พอมันไม่เข้าเป้าก็ไม่พอใจ ด่าลูกน้อง ซึ่งถ้าเรามีการเกาะติดนั้น จะสามารถทำให้เข้าใจได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากอะไร เราควบคุมได้มากน้อยแค่ไหน หรือความสามารถของบุคลากรเราอาจจะไม่พอ ซึ่งทำให้เราสามารถมาปรับแผนได้อย่างทันถ่วงที
ซึ่งการทำธุรกิจแบบนี้คนที่ทำเงินสด จะเข้าใจได้ แต่คนที่ทำเงินเชื่อ ส่วนใหญ่จะคิดว่าควรจะเน้นในเรื่องการบริหารการเงินไว้ก่อน เนื่องจาก เราเอาเงินคนอื่นมาใช้ และในท้ายที่สุดปัญหาที่เกิดขึ้นเล็กๆน้อยๆ ทุกวันที่เราตามเหตุการณ์มันไม่ทัน มันทำให้ต้นทุนทางการเงินเราสูงกว่า คนที่เกาะติด

แท้ที่จริงแล้วปัญหาทางการเงิน คือเป็นเรืองของเจตนารมณ์ หลายๆ คนอาจจะคิดแค่ว่าทำอย่างไรก็ตามให้ได้ส่วนต่าง โดยไม่ได้คิดถึงว่า ธุรกิจเรามันต้องเหนื่อย มันต้องสุจริต มันต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ แต่จะเน้นแค่เก็งกำไร ซึ่งทางพุทธศาสนาถือว่าบาป ส่วนปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้น แท้จริงแล้วเกิดจากมนุษย์ที่ทำอะไรแล้วไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่จริงๆ มันควรจะเป็น การประกอบอาชีพ มันเป็นเรื่องของการลงแรง ลงสมอง วางกลยุทธ์ ทำทุกอย่างให้เป็นไปตามศักยภาพที่เราทำได้ ส่วนต่างที่เกิดขึ้นนั้น ถือเป็นรางวัล แต่มนุษย์วันนี้ ทำอะไรที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ โดยอาจเอาดอกเบี้ยตรงนี้ที่ถูกกว่า มาปล่อยกู้ในอัตราที่แพงกว่า ซึ่งเราต้องเข้าใจว่าเงินนั้น เกิดจากการทำงานของ Real Sector แต่วันนี้ทุกคนกระโดดไปอยู่ในตลาดทุน แต่ไม่มีใครทำงานใน real sector เลย เช่น ตลาดทองคำ Gold Future

บทความที่เกี่ยวกับ โชค บูลกุล :
กำหนดกระแสกับโชค บูลกุล (Trend Setter)
Think BIG ไปกับโชค บูลกุล

Comments