Greenwashing Market (ตลาดสินค้า (ฟอก) เขียว ตอนที่ 2)


จากบทความก่อนหน้า Greenwashing Market (ตลาดสินค้า (ฟอก) เขียว ตอนที่ 1)  ที่เราได้ทราบกันไปแล้วว่ามีตัวบาปทั้งเจ็ดออกอาละวาดกันมากแค่ไหน วันนี้เราจะมาดูกันต่อว่าตลาดสินค้าสีเขียวในสหรัฐฯ ในหมวดผลิตภัณฑ์ที่เหลือ ทั้ง Household Cleaning Products, DIY Buliding and Construction Products และสุดท้ายในหมวด Electronics คงจะต้องมีตัวบาปออกปาละวาดอีกเป็นแน่แท้ (ใครอยากทบทวนว่าบาปทั้งเจ็ดนั้นมีอะไรบ้าง ทางนี้ครับ >> บาปเจ็ดประการของการฟอกเขียว The Seven Sins of Greenwashing)

Household Cleaning Products


- การเติบโตของสินค้าสีเขียวออกสู่ตลาดเทียบปี 2009 : เพิ่มขึ้น 101% (เทียบกับทั้งหมดที่เพิ่ม 73%)

- สัดส่วนสินค้าที่ไม่มีบาปติดตัวเลย (Sin-Free) : อยู่ที่ 3.73% (เทียบกับทั้งหมดที่ 4.5%)

- บาปที่อาละวาดมากสุด : บาปของความคลุมเครือ (Vagueness) 77% (เฉลี่ยรวม 67%), บาปของการไม่มีหลักฐาน (No Proof) 74% (เฉลี่ยรวม 70.1%)


โดยรวมสินค้าหมวด Household Cleaning Products ออกสู่ตลาดสูงเช่นเดียวกัน และมีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วย เนื่องจากมีสัดส่วน sin free ใกล้เคียงกับสัดส่วนทั้งหมดที่สำรวจสินค้า แต่บาปที่อาละวาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คือ บาปของความคลุมเครือ (Vagueness) และ บาปของการไม่มีหลักฐาน (No Proof) เนื่องจากมีเปอร์เซนต์เพิ่มมากกว่าที่พบจากการสำรวจสินค้าทั้งหมดในบาปสองข้อนี้


DIY Buliding and Construction Products



- การเติบโตของสินค้าสีเขียวออกสู่ตลาดเทียบปี 2009 : เพิ่มขึ้น 108% (เทียบกับทั้งหมดที่เพิ่ม 73%)

- สัดส่วนสินค้าที่ไม่มีบาปติดตัวเลย (Sin-Free) : อยู่ที่ 6% (เทียบกับทั้งหมดที่ 4.5%)

- บาปที่อาละวาดมากสุด : บาปของความคลุมเครือ (Vagueness) 65% (เฉลี่ยรวม 67%), บาปของการไม่มีหลักฐาน (No Proof) 64% (เฉลี่ยรวม 70.1%) และ บาปของการบอกไม่หมด (Hidden Trade-Off) 40% (เฉลี่ยรวม 27.4%)


เป็นที่น่าสนใจนะว่าถึงแม้สินค้ากลุ่มนี้มีการเติบโตของสินค้าสีเขียวออกสู่ตลาดค่อนข้างสูงเหมือนกับกลุ่มอื่นๆ แต่กลับมีแนวโน้มทีดีว่า การอาละวาดของบาปในกลุ่มนี้ลดน้อยลง โดย มีสัดส่วนสินค้าที่ไม่มีบาปใดๆ ติดตัว (sin-free) มากกว่าสัดส่วนจากการสำรวจสินค้าทั้งหมดอีกนะเนี่ยะ ส่วนบาปที่อาละวาดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คือ บาปของการบอกไม่หมด (Hidden Trade-Off) เนื่องจากมีเปอร์เซนต์เพิ่มมากกว่าที่พบจากการสำรวจสินค้าทั้งหมดในบาปข้อนี้

Consumer Electronics



- การเติบโตของสินค้าสีเขียวออกสู่ตลาดเทียบปี 2009   : เพิ่มขึ้น 73% (เทียบกับทั้งหมดที่เพิ่ม 73%)

- สัดส่วนสินค้าที่ไม่มีบาปติดตัวเลย (Sin-Free) : อยู่ที่ 0% (เทียบกับทั้งหมดที่ 4.5%)

- บาปที่พบมากสุด : บาปของความคลุมเครือ (Vagueness) 88% (รวม 67%), บาปของการบอกไม่หมด (Hidden Trade-Off) 68% (รวม 70.1%) และ บาปของการใช้ใบรับรองปลอม (Worshipping False Labels) 52% (31%)



สินค้าในหมวดสุดท้ายที่เขาได้ทำการสำรวจกันนั้น เป็นสินค้าที่เราๆ ก็ชื่นชอบกันอยู่ คือ สินค้าในหมวด Electronics นั่นเอง โดยมีสินค้าสีเขียวออกสู่ตลาดใกล้เคียงจากการสำรวจทั้งหมด แต่เป็นที่น่าตกใจว่าสินค้าในกลุ่มนี้มีบาปติดตัวมากันหมด ส่วนบาปที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คือ บาปของความคลุมเครือ (Vagueness) และ บาปของการใช้ใบรับรองปลอม (Worshipping False Labels)โดยเฉพาะบาปนี้ที่ใกล้ตัวและเห็นกันอยู่บ่อยครั้งเวลาเราไปซื้อสินค้า เช่น ทีวี ตู้เย็น แอร์ บลาๆๆ จะมีฉลากสารพัดมาติดไว้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเต็มไปหมดเลยนะนั่น (แล้วอย่างนี้จะเชื่อได้ไหมละเนี่ย)

เห็นผลสำรวจจากประเทศสหรัฐฯ ซึ่งถือว่าเป็นตัวพ่อ ตัวแม่ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คงสะท้อนภาพให้เห็นได้ว่สินค้าสีเขียว (Green Product) มีความซับซ้อนมากว่าที่คิดไว้ทีเดียว หันกลับมามองเมืองไทยเราบ้างก็เริ่มมีการตื่นตัว และออกสินค้าสีเขียวกันมากขึ้น ที่นำผลการสำรวจนี้มาเล่าให้ฟังไม่ใช่ต้องการบอกสินค้าเขียวของเราบ้านเรานั้น มันมีแนวโน้มว่าเขียวไม่จริง ดูอย่างอเมริกาสิ สินค้าสีเขียวของเขายังเขียวไม่แท้ก็ตั้งเยอะแยะ แล้วบ้านเราจะเหลือรึ แต่ผมมองอีกมุมหนึงว่า ถ้าผู้บริโภคอย่างเราเข้าใจสินค้าสีเขียวกันมากขึ้น ผู้ประกอบการต่างๆ เขาจะผลิตหรือออกสินค้าสีเขียวอะไรออกมาก็ต้องให้ความใส่ใจกันมากขึ้นเองโดยปริยายครับ เพราะเดี๋ยวนี้ผู้บริโภคอย่างเราถือได้ว่ามีอำนาจเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมากมาก

ถ้าคิดจะรัก(ษ์)โลก ก็ขอให้รัก(ษ์)แบบมีสติกันนะครับ


Comments