ช่วง : คุณโชค บูลกุล (1 กค.- 31 กค.52)

การหาตำแหน่งทางการตลาด (Positioning)
- เนื่องจากการดำเนินธุรกิจมีอยู่หลายขนาด เพราะฉะนั้นเราต้องชัดเจนในตำแหน่งทางการตลาดของตัวเอง เพื่อที่จะรู้กำลังและความสามารถของตนเอง เราต้องวางตำแหน่งของตนเองให้ถูกก่อนถึงค่อยมาคิดในเรื่องการวางยุทธศาสตร์ของธุรกิจ
- เช่น um milk positiong ให้อยู่ระหว่างยักษ์ใหญ่ที่ไม่อยากลงมาแข่งและ ขนาดเล็ก/กลาง ก็ไม่สามารถขึ้นมาแข่งขันได้ ทำให้เกิดช่องว่างทางการตลาดขึ้น แล้วทำการสร้างเรื่องราวให้กับ ummilk โดยใช้ความได้เปรียบของธุรกิจต้นน้ำคือ ฟาร์มโชคชัย มาสร้างว่าวัตุดิบในการทำ ไอศครีมมาได้อย่างไร จนทำให้ผุ้บริโภคเกิดการมีส่วนรวมและกลายเป็นประสบการณ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ ummilk ไม่ว่าจะซื้อที่ shop ตามห้างต่างๆ
- สิ่งที่สามารถชนะความเร็วได้ ก็คือ ความอดทน ในทางธุรกิจ คือ อดทนในเรื่องการหาฐานลูกค้า
- การที่เราจะวางตัวเองในตลาดได้นั้น เราต้องรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้สักก่อน และศักยภาพที่เราทำได้เนี่ยะ มันจะไป serve ตลาดได้อย่างไง เราไม่อาจออก product ที่เป็น mass อย่างเดียวได้แล้วตอนนี้ เราควรจะออก product ที่เป็นแบบ Mass customize เพื่อให้เห็นตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจน
- สำหรับตัว Ummilk ที่มีการวางตำแหน่งของตัวเองดังกล่าวมา และมีช่องทางจำหน่ายอยู่ในห้าง เพราะมองว่า เงินที่หมุนเวียนอยูใน กทม. ส่วนใหญ่จะมาจากห้างทั้งนั้น เพราะฉะนั้นจึงต้องไปอยู่ในห้าง และการที่เรามี positioning ที่ชัดเจน ทำให้ ห้างต่างๆ ก็อยากได้เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับตัวเอง
- สร้างเสนห์ให้กับสินค้าตนเอง โดยมองให้ได้ว่าของดีมีจำนวนจำกัด จากการสร้างความแตกต่าง
- Creative Economy ต้องเกิดจาก กลุ่มคนที่มีแรงบันดาลใจหรือมีแรงปรารถนาในสิ่งที่ทำได้
- ส่วนใหญ่ธุรกิจที่เป็น Chain จะไม่มีความเป็นธรรมชาติ ความรู้สึกของความเป็นมนุษย์ เวลาไปใช้บริการแล้วลูกค้าจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง
- ธุรกิจที่พัก ตอนนี้มันแตกต่างแต่ในงานสถาปัตยกรรม แต่เนื้อหาสาระจริงๆ มันน้อยที่จะมีการแตกต่าง ซึ่งตรงนี้จะเป็นตัวกำหนด Position ของตลาดคุณ
- Economy of Scale : เป็นขนาดที่พอดีกับศักยภาพของการจัดการของเรา ในกระบวนการต่างๆ ทั้งหมด อยู่ใน scale เดียวกันหมด
เช่น ฟาร์มโชคชัย มี Economic of Scale ประมาณ 3 แสนคนต่อปี พอมาแทบกับจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดต่อปีแล้วจะเห็นว่าเป็นจำนวนที่น้อยมาก นั่นแสดงว่าธุรกิจฟาร์มโชคชัย มีความเป็น Limited Edition มากๆ ถึงแม้จะมีคนพูดถึงมากๆ เพราะฉะนั้นการบริหารงานเลยต้องมีความสอดคล้องกับขนาดของธุรกิจ ทุกอย่างในการบริหารจัดการก็ต้องทำใน scale ที่ Niche มากๆ เช่น การซื้อสื่อก็จะไม่ใช้แบบ Mass เพราะถ้าเราซื้อแบบ Mass มันก็จะไม่สอดคล้องกับรายได้ที่ธุรกิจควรจะได้ นิ่แหล่ะที่เราเรียกว่า Economic of Scale คือ สัดส่วนทุกอย่างต้องเป็นสัดส่วนเดียวกัน
เพราะฉะนั้นมันถึงย้อนไปในตอนเริ่มต้นว่า คุณถึงต้องรู้ถึงขนาดของธุรกิจตัวเองก่อน จึงจะสามารถกำหนดสัดส่วนการบริหารในจุดต่างๆ ได้

การแปลงวิกฤตเป็นโอกาส
- ขึ้นอยู่กับ
1. ความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละคน
2. การพลิกผันโจทย์
3. โอกาสที่เข้ามา

การบริหารจัดการความผิดหวัง
- ชีวิตมนุษย์เราอยู่บนพื้นฐานความทุกข์ไม่ใช่ความสุข เพราะฉะนั้น ความผิดหวังจึงเป็นเรื่องที่เราต้องเจอแน่ ซึ่งมันเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตเราจึงควรยอมรับในจุดนี้
- เราน่าจะคิด แบบชนะวันละนิด วันละหน่อย ไม่ใช่เป็นการคิดใหญ่ เพราะเมื่อเราคิดใหญ่ เมื่อพลาดจะผิดหวังมาก แต่เมื่อเราก้าวทีละเล็กๆ มันก็มีโอกาสสมหวังได้ ซึ่งเมื่อเราสมหวัง จงอย่าดีใจหรือ เหลิงมากจนเกินไป และควรจะเก็บมันไว้ ถ้าวันไหนเราผิดหวัง เราก็คิดถึงเหตุการณ์นี้ที่เราสมหวัง มันก็จะทำให้เรามีกำลังใจสู้ต่อไปได้

การปกป้องชื่อเสียงของบริษัท
- การทำธุรกิจจะมี 4 phase ด้วยกัน
1. การริเริ่ม : จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ ใครๆ ก็สามารถคิดได้
2. การรุก : จะรุกอย่างไร ต้องใช้ทุนทรัพย์และกลยุทธ์ทางการตลาด
3. การตั้งรับ : เราจะบริหารความเสี่ยงให้โปร่งใส มีธรรมภิบาล ตรวจสอบได้
4. รักษา : จะรวมทั้ง เริ่ม รุก และ รับ รวมทั้งการพัฒนาทักษะของบุคลากรพร้อมกันไปด้วย
- ซึ่งจะเป็นโจทย์ที่ยากสำหรับทายาท ที่จะมาสืบต่อบริษัท เพราะต้องเริ่มต้นในจุดที่รักษา ต้องมองและทำทุกมิติในเวลาเดียวกัน
- เราจะต้องเปลี่ยนการรับรู้ Brand (ที่อาจจะตั้งมาโดยใช้ชื่อของเจ้าของ) ของผู้คน ให้เป็นในเชิงสถาบันให้ได้ (Corporate) ให้คนรับรู้ brand แล้วนึกถึงบริษัท องค์กร การบริการ มากกว่าการนึกถึงเจ้าของ เช่น apple ก็ยังยึดอยู่กับ steav job อยู่ หรือแม้กระทั้ง โอเอชิ ก็ยังผูกติดกับคุณตันอยู่
>>> โดย CEO อาจจะต้องลดระดับความสามารถ ให้สอดคล้องกับ Corporate และศักยภาพของทีม เพื่อให้สิ่งที่สะท้อนออกมาเป็น Corporate branding มากกว่าสะท้อนตัวบุคคล หรือ CEO ต้องเลือกที่จะ branding ตัวเอง ผ่านเวที ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ มากกว่าทำตัวเองให้โดดเด่นในเรื่องของภาพลักษณ์อย่างเดียว ซึ่งก็คือให้ CEO สร้าง Content ไม่ใช่สร้าง Image
- การที่คุณจะกลายเป็นผู้นำในธุรกิจ ไม่เสมอไปที่จะเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ๋ อาจจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดกลางก็ได้ แต่บริษัทขนาดใหญ่เขาจะต้องมองคุณ
>>> ธุรกิจต่อไป มีแนวโน้มเป็นขนาดเล็กลง เนื่องจาก คนเก่งที่ตกงานจะวิกฤตเศรษฐกิจรอบนี้มีจำนวนมาก และจะไม่อยู่เฉยๆ และไม่หางานทำในองค์กรใหญ่แล้ว แต่ละคนอาจะคิดและสร้างนวัตกรรมต่างๆ ขึ้น ออกสู่ท้องตลาดมากขึ้น และตลาดก็จะถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ มากขึ้น (Niche) และการปล่อยกู้จะมีแนวโน้ม ปล่อยให้ SME มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของสถาบันการเงินไปในตัวด้วย

การรักษาบุคลากรที่เก่งๆ ในระดับ SME
- คนเก่ง ในคำจำกัดความ คนเก่งมักจะมีปัญหาการทำงาน ร่วมกับคนอื่น แต่จะเลือกคนที่ขยัน มีความตั้งใจ และนำมาฝึกฝนทักษะมากกว่า
(ที่จริงต้องอยู่ที่ ธรรมชาติของธุรกิจ ถ้าการเงินก็คงต้องเอาเก่งมากๆ แต่ในธุรกิจการเกษตร อาจจะไม่ต้องขนาดนั้น)
- แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคนไหนมีความรู้หรือไม่มีความรู้
>>> ต้องให้โอกาสเขามีการนำเสนอ โดยวิธีง่ายๆ คือ การให้ทำ power point เขาสามารถนำเสนอแล้วเราสามารถเห็นภาพตามได้
>>> เราต้องแยกแยะระหว่างคนฉลาดเรียนกับฉลาดทำ
>>> ในคำพูดของมนุษย์จะบอกได้ว่าเขามีศักยภาพอย่างไร

บทความที่เกี่ยวกับ โชค บูลกุล :
เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นผู้นำกับโชค บูลกุล (How to treat your's child to be a leader)
ทิศทางและสถานการณ์การท่องเที่ยวไทย ในมุมมองโชค บูลกุล (Thailand Tourism Outlook)
กลยุทธ์รับมือกับวิฤตที่เกิดขึ้น ของโชค บูลกุล (How to Prepare Stop Crisis)
การบริหารการเปลี่ยนแปลงสไตล์ โชค บูลกุล (Changing Management)

Comments