การบริหารการเปลี่ยนแปลงสไตล์ โชค บูลกุล (Changing Management)

จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง (Change) ที่คุณโชคได้นำมาประสบการณ์มาเล่าให้ฟังนั้น เริ่มจากช่วงที่เริ่มเข้ามาในธุรกิจ
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต้องทำ มันเป็นความรู้สึกที่เราคิดว่ามันต้องเปลี่ยน แต่คุณโชคทำการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีประสบการณ์มาก่อน โดยที่คุณโชคจะทำอะไรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือตามที่ได้ตั้งใจไว้ ทำให้เราทำอะไรบางอย่าง ที่ไม่เหมือนของเดิม ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า Change แต่ความไม่มีประสบการณ์ก็ถือเป็นความได้เปรียบ เพราะอะไรๆ หลายๆ อย่างก็จะดูเป็นของใหม่ ซึ่งถ้าเราสามารถโน้มน้าวให้คนในองค์กรเชื่อในสิ่งที่เราคิด และที่ทำได้ ก็จะเกิดเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาได้ นิ่ก็เป็นประสบการณ์เมื่อ 17ปีที่แล้ว

แต่ถ้าปัจจุบันนี้ ที่ธุรกิจมีความมั่นคงพอควร แล้วถ้าเราจะ Change จะ Change อะไร ซึ่งอะไรก็ตามที่มีความมั่นคง แล้วถ้าเราบอกให้เปลี่ยน มันอาจจะเป็นดาบสองคม เพราะผลที่ได้มันอาจจะดีหรือไม่ดี หรือจะเปลี่ยนอย่างไร เมื่อคนในองค์กรมีความรู้สึกว่า ก็ของเดิมมันดีอยู่แล้ว จะเปลี่ยนทำไม ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่สถานการณ์มันบังคับให้เราต้องเปลี่ยน ซึ่งแท้จริงแล้วการจะเปลี่ยนแปลงได้นั้น มันอยู่ที่ว่า เขาเชื่อเราหรือเปล่าในการเปลี่ยน เพราะถ้าเขาไม่เชื่อและศรัทธาในตัวเรา เราก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งคุณโชคคิดว่า คำว่า Change ตรงนี้ ในมุมมองของ โอบาม่า ที่ใช้สโลแกนดังกล่าว เพื่อก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง ประธานาธิบดีได้นั้น เนื่องจากมันเป็นช่วงเวลาพอดี ที่คนอเมริกัน รู้สึกว่าอยากจะเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก อยู่ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เกิดวิกฤตจึงอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และอีกอย่างเนื่องจากโอบาม่าเป็นคนผิวสี จึงทำให้เกิดภาพของการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะสหรัฐฯ ไม่เคยมีประธานาธิบดี ผิวสีมาก่อน

ซึ่งจากกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่า จะมีอยู่ 2 สถานการณ์ในการเปลี่ยนแปลง
1. เกิดวิกฤต จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะคนจะรับฟังด้วยเหตุผลมากขึ้น ซึ่งถ้าไม่เปลี่ยนอาจตายได้
2. ยังไม่เกิดวิกฤตในภาพรวมยังมีเสถียรภาพอยู่ แต่ผู้บริหารเริ่มเห็นแล้วว่า หากไม่เริ่มเปลี่ยนแปลงวันนี้ อีก 5 ปี เราอาจจะแข่งขันไม่ได้ ซึ่งตรงจุดนี้จะมีปัญหาที่ว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ จะรู้สึกว่าจะเปลี่ยนทำไม มันก็ดีอยู่แล้ว เปลี่ยนแล้วอาจจะไม่ดีก็ได้

ในประเด็นต่อมาคุณโชค ได้กล่าวถึงว่า สถานการณ์ไหนที่ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงก็ตาย (Change or Die) ซึ่งจะเป็นสถานการณ์ เมื่อ 17 ปีที่แล้วที่คุณโชคเริ่มเข้ามาในธุรกิจ แต่สถานการณ์ที่เราจะเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ไม่ใช่จะหาได้ง่ายๆ เพราะบางทีวิกฤตอาจจะไม่ได้ร้ายแรงมากพอ

คุณโชคยังให้ข้อคิดเพิ่มเติม ว่าตอนที่สถานการณ์ดีจะมีวิธีโน้มน้าวอย่างไร ถ้าอยากจะเปลี่ยนแปลง

1. บุคลิกภาพของผู้นำ ซึ่งไม่ใช่เห็นคนอื่นพูดก็นำมาพูดบ้าง แต่แท้จริงแล้วการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้นั้น ผู้นำต้องมีมากกว่าความอยาก นั่นคือ แรงปราถนา (passion) ที่เปล่งประกายออกมาจากบุคลิกภาพ สามารถส่งสัญญาณออกมา ซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถรู้ เข้าถึง และสัมผัสได้เหมือนดั่งเช่น โอบาม่า พูดในวันที่ได้รับตำแหน่ง ที่มีพลังทั้งผู้พูด และผู้ฟัง

2. เราต้องมีเวทีในการแสดงเจตจำนงค์ เพื่อส่งสัญญาณของการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากผู้บริหารก่อน เราต้องสามารถให้เขาสามารถรับรู้ เข้าใจ เห็นภาพ ในสิ่งที่เราจะเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งถ้าผู้บริหารทุกคนเห็นชอบต่อการเปลี่ยนแปลง เขาจะตอบสนอง โต้ตอบ แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ซึ่งทุกคนต่างเห็นตรงกันว่า มันเป็นการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาจริงๆ แล้วเราจะเอาตรงนี้ ไปสื่อความกับผู้ใต้บังคับบัญชาอีกทีหนึง ซึ่งสิ่งสำคัญตรงนี้ ก็คือ Change Agent ซึ่ง Change Agent ตรงนี้ก็คือ การที่ผู้บริหารเข้าใจ วัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลงจากที่เราบอกออกไป

เพราะฉะนั้น ผู้นำจะมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะผู้นำที่ต้องการจะเปลี่ยนจริงๆ จะสามารถแสดงอัจฉริยะภาพของเขา ที่เขาเห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน มันจึงมีความจำเป็นที่เขาจะต้องสร้างให้เกิดความศรัทธาในตัวเขาขึ้นมาให้ได้ ซึ่งจะถือเป็นอัจฉริยะภาพของผู้นำ ซึ่งผู้นำทุกคนอาจจะไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

ในองค์กรของคุณโชคจะมีการใช้คำว่า Revolution กับ Evolution ซึ่ง Revolution มันไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงถึงกับกลายพันธ์ แต่มันเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบเล็กๆ หรือที่เรียกว่า Minor Change อย่างเช่น รถที่มักจะออกรุ่น Minor change แต่ Evolutiion จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ เช่น อาจจะเป็นรถ รุ่นใหม่ เช่น รถรุ่น Hybrid ซึ่ง Good Leader Cross Revolution แต่ GREAT Leader Cross Evolutio นั่นก็คือ Greate Leader จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และจะส่งผลต่อความมั่นคงของธุรกิจได้ในอนาคต.

เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับข้อคิดบริหารการเปลี่ยนแปลงจากคุณโชค บูลกุล หวังว่าทุกท่านน่าจะได้ประโยชน์บ้างนะครับ (ผมอาจจะเรียบเรียงไม่ค่อยดีมากนัก) ผู้อ่านทุกท่านสามารถติดตามบทความที่เกี่ยวเนื่องน่าสนใจของคุณโชคได้ตามรายการด้านล่างเลยครับ :กลยุทธ์รับมือกับวิฤตที่เกิดขึ้น ของโชค บูลกุล (How to Prepare Stop Crisis)
วิธีกระตุ้นและปลุกเร้าคนแวดล้อม
โชค บูลกุลกับประสบการณ์การเรียนรู้จากคุณพ่อ

Comments