วิกฤตที่เกิดขึ้น จากปีสองปี ที่ผ่านมา ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างล้มละลายนั้น คุณโชคไม่เชื่อว่าเขาจะรู้ตัว คุณโชคมองว่าหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้น เกิดจากความประมาท มองโลกในมุมที่ว่าสิ่งที่กระทำในวันนี้ มันจะไม่ส่งผลกระทบทันที เพราะฉะนั้น อะไรที่เสี่ยงได้ ก็จะเสี่ยง เนื่องจากกระแสโลกเราทุกวันนี้ ที่มีความโลภ ความอยาก เกินกว่ากำลัง มันจะบดบังเรา ในการวิเคราะห์ความเป็นจริงของสถานการณ์ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงสูงสุดของคนทำธุรกิจในสมัยนี้ อาจะยกตัวอย่าง ปรากฏการณ์โลกร้อน ที่เราอาจจะรู้สึกว่ามันเกิด แต่คิดว่าอาจจะไม่ได้เกิดในเร็ววันนี้ ก็เลยอาจจะยังไม่เกิดจิตสำนึกในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมอย่างแท้จริง
เพราะฉะนั้น ถ้าเราตั้งต้นด้วยความไม่ประมาท เราจะมีโอกาสรอดมากกว่า เราจะต้องมีการบริหารความเสี่ยง ซึ่งการบริหารความเสี่ยง ก็คือ การที่เราสามารถจินตนาการเหตุการณ์ของความเสี่ยงให้ได้ ก่อนที่เราจะถลำลึกลงไปในการทำธุรกิจให้ใหญ่โต เกินกว่าที่เราจะประเมินความเสี่ยงของเราได้จริงๆ เพราะฉะนั้น ตอนที่ธุรกิจเล็กอยู่ ยังไม่มีความซับซ้อน จะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องคิดว่า ถ้าเกิดภายหน้าธุรกิจใหญ่ขึ้น อะไรคือความเสี่ยง
โดยเราต้องเริ่มสร้างสถานการณ์สมมติ (Simulation)ขึ้นมา เพื่อก่อให้เกิดการฝึกซ้อม อย่างเช่นแผนธุรกิจ Umm Milk ที่ตอนนี้เปิดไปแล้ว 13 สาขา ซึ่งเดือนพฤศจิกายน จะเปิดอีก 1 สาขา ที่เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า ซึ่งร้านนี้จะเป็นร้านที่ 14 ซึ่งในแผนของเราจะถึงครึ่งทางพอดี คุณโชคจึงได้ประชุมกับทีมงานทางการตลาดว่า โจทย์ของร้านที่ 15 จะไม่เหมือนกับร้านที่ 14 นะ เพราะว่า เมื่อมาถึงครึ่งทางแล้ว โจทย์จากวันนี้เป็นต้นไปมันหมายความว่า เราจะต้องพิจารณาคู่ค้าของเรามากขึ้น สมมติว่าเราไปเปิดสาขาทั้ง 14 สาขากับห้างใดห้างหนึ่ง ห้างเปิดที่ไหน เราก็ตามไปเปิดด้วย ถ้าเขาเกิดยกเลิกสัญญาเราเนี่ยะ มันอาจจะปิดเลยทีเดียว 14 ร้าน เพราะบางทีเราอาจะคิดว่าการพ่วงสัญญา สบายเรา เขาเปิดไหนเราก็ตามไปเปิดด้วย แต่อย่าลืมว่าการพ่วงสัญญา มันได้ตอนที่โอกาศมันดี หากเขามีให้เรา แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งเขาอยากเปลี่ยนลุค เปลี่ยนรูปแบบ อยากจะหาร้านที่ตรง concept มากกว่า ตรง Position ใหม่มากกว่า ก็อาจจะขอยกเลิกสัญญากับเรา ซึ่งเราอาจะตั้งรับไม่ทัน
คุณโชคจึงมองว่า สาขาที่ 15 ของ Umm Milk เนี่ยะ จะสามารถสร้างอำนาจการต่อรองอย่างไรเพราะตอนที่เริ่มต้น มี 1 หรือ 2 สาขาในห้างใด้ห้าง ถือว่าเป็นต่อ เพราะว่าห้างไหนๆ ก็อยากได้ แต่พอมีมากขึ้น เราจะกลายเป็นรองละ เพราะว่า ความเสี่ยงมันจะตกอยู่กับเรา คุณโชคจึงต้องเริ่มวางแผนสาขาที่ 15 เป้าหมายคือไร ซึ่งคุณโชคยังบอกด้วยว่าในไตรมาสแรกของปีหน้าจะไม่มีการเปิดสาขาใหม่ เพราะจะให้ส่วน audit ทำการ audit ทั้งหมด เพื่อตรวจสอบ Operation ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบขนส่ง การเก็บเงิน สัญญาเช่า เป็นต้น ถ้าคนทำงานเหล่านั้นสามารถตอบคำถาม ผ่านการตรวจสอบได้ แสดงว่ารู้จริง ความเสี่ยงก็จะน้อยลง
ซึ่งคุณโชคเชื่อว่า มีน้อยบริษัทที่จะทำเหมือนเรา เนื่องจากว่ายังมีโอกาสในการเปิดสาขาอยู่มาก ถ้าเป็นบริษัทอื่นอาจะเห็นว่าเป็นช่วงโอกาสดี รีบขยายสาขามากขึ้นๆ แต่เรากลับเลือกที่จะหยุดมากกว่า เพื่อที่จะเตรียมตัวและช่วยในการบริหารความเสี่ยงให้น้อยลง
ในส่วนการเตรียมล่วงหน้านั้น ว่าเรื่องไหนควรคิดไม่คิด จะต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และสามัญสำนึก ซึ่งประสบการณ์จะเพิ่มพูนไปตามเวลา ส่วนสามัญสำนึกอาจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับนิสัยและประสบการณ์ที่ตัวเองพบเจอมาด้วย คนที่เติบโตมาจากวิกฤตจึงจะมีความแข็งแกร่งมากกว่าคนที่เก่งแต่ไม่เคยเผชิญประสบการณ์วิกฤตมาแต่อย่างใด
เราจึงต้องรู้จักสร้างสถานการณ์ (Simulation) เพื่อบริหารความเสี่ยง เพราะถ้าไม่มีการสร้างสถานการณ์ขึ้นมาบ้าง บริษัทก็จะอยู่ในสภาวะเคยชินกับสภาพการทำงานเดิมๆ ซึ่งพอเกิดสถานการณ์วิกฤตขึ้นมาจริงๆ องค์กรก็ปรับตัวไม่ทัน ไม่สามารถรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ จนอาจล้มละลาย ส่วนวิธีการ Simulate คุณโชค ให้ความเห็นว่า ต่างองค์กร ต่างธุรกิจ จะมีวิธีการจำลองแบบ แตกต่างกันไป จะต้องพูดเป็นกรณีๆ ไป
คุณโชคให้ความเห็นสรุปว่า ถ้าคุณไม่มีการสร้างสถานการณ์สมมติ ไม่มีการซ้อม แล้ววันที่เกิดวิกฤตขึ้นจริงๆ คุณจะตั้งรับอย่างไร ซึ่งบริษัทที่พังกันไปนั้น ไม่ใช่ไม่รู้ แต่ไม่เคยซ้อม รู้ในเชิงทฤษฎี แต่คิดว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้น ธุรกิจที่มีความมั่งคงหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจคราวนี้ ก็จะเป็นแนว SME ที่มี Creative แยะ ประสิทธิภาพสูง พนักงานน้อยแต่ครอบคลุมโลก เช่น Google ในส่วนบริษัทที่ใหญ่ก็จะมีจุดอ่อนมากกว่าบริษัทเล็ก(Small but Beautiful) ซึ่งจะน่าเป็นทฤษีของการทำธุรกิจในอนาคต (รบด้วยโลห์ : จากตัวอย่างหนังเรื่อง 300)
เนื้อหาที่เกี่ยวกับคุณโชค บูลกุล :
การบริหารการเปลี่ยนแปลงสไตล์ โชค บูลกุล (Changing Management)
การสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นในองค์กร โดย โชค บูลกุล
เคล็ดลับบริหารคนในธุรกิจครอบครัว (HR Management in Family Business) โดย โชค บูลกุล
เพราะฉะนั้น ถ้าเราตั้งต้นด้วยความไม่ประมาท เราจะมีโอกาสรอดมากกว่า เราจะต้องมีการบริหารความเสี่ยง ซึ่งการบริหารความเสี่ยง ก็คือ การที่เราสามารถจินตนาการเหตุการณ์ของความเสี่ยงให้ได้ ก่อนที่เราจะถลำลึกลงไปในการทำธุรกิจให้ใหญ่โต เกินกว่าที่เราจะประเมินความเสี่ยงของเราได้จริงๆ เพราะฉะนั้น ตอนที่ธุรกิจเล็กอยู่ ยังไม่มีความซับซ้อน จะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องคิดว่า ถ้าเกิดภายหน้าธุรกิจใหญ่ขึ้น อะไรคือความเสี่ยง
โดยเราต้องเริ่มสร้างสถานการณ์สมมติ (Simulation)ขึ้นมา เพื่อก่อให้เกิดการฝึกซ้อม อย่างเช่นแผนธุรกิจ Umm Milk ที่ตอนนี้เปิดไปแล้ว 13 สาขา ซึ่งเดือนพฤศจิกายน จะเปิดอีก 1 สาขา ที่เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า ซึ่งร้านนี้จะเป็นร้านที่ 14 ซึ่งในแผนของเราจะถึงครึ่งทางพอดี คุณโชคจึงได้ประชุมกับทีมงานทางการตลาดว่า โจทย์ของร้านที่ 15 จะไม่เหมือนกับร้านที่ 14 นะ เพราะว่า เมื่อมาถึงครึ่งทางแล้ว โจทย์จากวันนี้เป็นต้นไปมันหมายความว่า เราจะต้องพิจารณาคู่ค้าของเรามากขึ้น สมมติว่าเราไปเปิดสาขาทั้ง 14 สาขากับห้างใดห้างหนึ่ง ห้างเปิดที่ไหน เราก็ตามไปเปิดด้วย ถ้าเขาเกิดยกเลิกสัญญาเราเนี่ยะ มันอาจจะปิดเลยทีเดียว 14 ร้าน เพราะบางทีเราอาจะคิดว่าการพ่วงสัญญา สบายเรา เขาเปิดไหนเราก็ตามไปเปิดด้วย แต่อย่าลืมว่าการพ่วงสัญญา มันได้ตอนที่โอกาศมันดี หากเขามีให้เรา แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งเขาอยากเปลี่ยนลุค เปลี่ยนรูปแบบ อยากจะหาร้านที่ตรง concept มากกว่า ตรง Position ใหม่มากกว่า ก็อาจจะขอยกเลิกสัญญากับเรา ซึ่งเราอาจะตั้งรับไม่ทัน
คุณโชคจึงมองว่า สาขาที่ 15 ของ Umm Milk เนี่ยะ จะสามารถสร้างอำนาจการต่อรองอย่างไรเพราะตอนที่เริ่มต้น มี 1 หรือ 2 สาขาในห้างใด้ห้าง ถือว่าเป็นต่อ เพราะว่าห้างไหนๆ ก็อยากได้ แต่พอมีมากขึ้น เราจะกลายเป็นรองละ เพราะว่า ความเสี่ยงมันจะตกอยู่กับเรา คุณโชคจึงต้องเริ่มวางแผนสาขาที่ 15 เป้าหมายคือไร ซึ่งคุณโชคยังบอกด้วยว่าในไตรมาสแรกของปีหน้าจะไม่มีการเปิดสาขาใหม่ เพราะจะให้ส่วน audit ทำการ audit ทั้งหมด เพื่อตรวจสอบ Operation ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบขนส่ง การเก็บเงิน สัญญาเช่า เป็นต้น ถ้าคนทำงานเหล่านั้นสามารถตอบคำถาม ผ่านการตรวจสอบได้ แสดงว่ารู้จริง ความเสี่ยงก็จะน้อยลง
ซึ่งคุณโชคเชื่อว่า มีน้อยบริษัทที่จะทำเหมือนเรา เนื่องจากว่ายังมีโอกาสในการเปิดสาขาอยู่มาก ถ้าเป็นบริษัทอื่นอาจะเห็นว่าเป็นช่วงโอกาสดี รีบขยายสาขามากขึ้นๆ แต่เรากลับเลือกที่จะหยุดมากกว่า เพื่อที่จะเตรียมตัวและช่วยในการบริหารความเสี่ยงให้น้อยลง
ในส่วนการเตรียมล่วงหน้านั้น ว่าเรื่องไหนควรคิดไม่คิด จะต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และสามัญสำนึก ซึ่งประสบการณ์จะเพิ่มพูนไปตามเวลา ส่วนสามัญสำนึกอาจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับนิสัยและประสบการณ์ที่ตัวเองพบเจอมาด้วย คนที่เติบโตมาจากวิกฤตจึงจะมีความแข็งแกร่งมากกว่าคนที่เก่งแต่ไม่เคยเผชิญประสบการณ์วิกฤตมาแต่อย่างใด
เราจึงต้องรู้จักสร้างสถานการณ์ (Simulation) เพื่อบริหารความเสี่ยง เพราะถ้าไม่มีการสร้างสถานการณ์ขึ้นมาบ้าง บริษัทก็จะอยู่ในสภาวะเคยชินกับสภาพการทำงานเดิมๆ ซึ่งพอเกิดสถานการณ์วิกฤตขึ้นมาจริงๆ องค์กรก็ปรับตัวไม่ทัน ไม่สามารถรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ จนอาจล้มละลาย ส่วนวิธีการ Simulate คุณโชค ให้ความเห็นว่า ต่างองค์กร ต่างธุรกิจ จะมีวิธีการจำลองแบบ แตกต่างกันไป จะต้องพูดเป็นกรณีๆ ไป
คุณโชคให้ความเห็นสรุปว่า ถ้าคุณไม่มีการสร้างสถานการณ์สมมติ ไม่มีการซ้อม แล้ววันที่เกิดวิกฤตขึ้นจริงๆ คุณจะตั้งรับอย่างไร ซึ่งบริษัทที่พังกันไปนั้น ไม่ใช่ไม่รู้ แต่ไม่เคยซ้อม รู้ในเชิงทฤษฎี แต่คิดว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้น ธุรกิจที่มีความมั่งคงหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจคราวนี้ ก็จะเป็นแนว SME ที่มี Creative แยะ ประสิทธิภาพสูง พนักงานน้อยแต่ครอบคลุมโลก เช่น Google ในส่วนบริษัทที่ใหญ่ก็จะมีจุดอ่อนมากกว่าบริษัทเล็ก(Small but Beautiful) ซึ่งจะน่าเป็นทฤษีของการทำธุรกิจในอนาคต (รบด้วยโลห์ : จากตัวอย่างหนังเรื่อง 300)
เนื้อหาที่เกี่ยวกับคุณโชค บูลกุล :
การบริหารการเปลี่ยนแปลงสไตล์ โชค บูลกุล (Changing Management)
การสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นในองค์กร โดย โชค บูลกุล
เคล็ดลับบริหารคนในธุรกิจครอบครัว (HR Management in Family Business) โดย โชค บูลกุล
Comments
Post a Comment