กลยุทธ์การให้บริการทางด้าน Logistic (Logistic Service Strategy)

ประกอบด้วย S 4 ตัว

--------------------------------------------------------------------------------
สำหรับท่านใดสนใจ Ebook ที่รวบรวม 15 เทคนิค ปรับกลยุทธ์โลจิสติกส์ (Logistics Strategy Handbook) 
--------------------------------------------------------------------------------
 
1. Standard :

การทำ ISO หรือการเน้นไปที่ Customer Requirment ให้ ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งต้องปรับตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ซึ่งเราจะต้องมีพื้นฐานการให้บริการเป็นมาตรฐานหลักก่อน แล้งค่อยไปเพิ่มเติมในลูกค้าแต่ละราย (Mass Customize)

KPI (KPI for Logistic)ใช้วัด คือใช้ SMART KPI 

S : Satisifile คือ ต้องกำหนดตัววัดให้เฉพาะเจาะจงลงไปว่าจะวัดเรื่องอะไร Specific ลงไป
M : Measurable คือ ต้องวัดผลได้
A : Achievable คือ ตั้ง KPI ให้มีความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เป็นอุดมคติเกินไป
R : Realistic คือ ตั้งอยู่บนพื้นฐ่านความเป็นจริง เกี่ยวพันกับธุรกิจและลูกค้า
T : Time Relate คือ เป็นตัววัดที่ทันสมัย

โดยสรุป คือ ต้องมี ISO เป็นพืนฐาน และอาศัย Customer Requirment และ Customer Experience ในตัวที่จะเป็น Additional ในแต่ละลูกค้า 

2. Speed :

รวดเร็ว เนื่องจากปัจจุบัน จะมี Economy of time (Economy of Speed) เพราะ ถ้าใช้เวลาขนส่งยิ่งนาน จำนวนวัน stock ก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องมีเครื่องมือที่ช่วย

2.1 IT ที่ได้นำมาใช้ดำเนินการ Logistic แบบครบวงจร เรียกว่า LMS (Logistic Management System) รวมตั้ง การจัดการเรื่องรถ เรื่องการขนส่ง และด้าน warehouse

2.2 One Stop Service เพื่อให้เกิดความเร็วในการให้บริการ >>> ความรวดเร็วที่ว่าคือ การรับโทรศัพท์, การเสนอราคา, เมื่อเกิดปัญหา การเข้าไปแก้ไขต้องรวดเร็ว และการวางบิล ซึ่งจะเห็นว่าต้องเร็วทั้งระบบ Supply Chain ส่วนอันสุดท้ายที่สำคัญ เราต้องตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าที่รวดเร็วให้ได้ >>> KPI ตั้งแล้วทำไม่ได้ แสดงว่าไม่สะท้อนความเป็นจริง (unrealistic) >>> และอะไรที่ทำให้องค์กรบางองค์กรทำ KPI ได้ บางที่ทำไม่ได้ คือ เราต้องเข้าใจก่อนเลยว่า Logistic มันเกี่ยวกับคน ทำอย่างไรถึงจะบริหารคนให้ขยับไปได้ ซึ่งเราถึงต้องจัดการเรื่องคน ให้เขารู้สึกรัก รู้สึกภูมิใจ รู้สึกเป็นเจ้าของ กับงานที่เขาทำ

 
2.3 Team Work

3. Safety :

เพราะในเรื่องของ Logistics คือการเคลื่อนย้ายของ ซึ่งทั้งเป็นการดูแลทุกๆที่ ไม่ว่าจะระหว่างขนส่ง ขนส่ง หรือแท้กระทั่งตอนอยู่ในคลังสินค้า ยิ่งขนส่งวัตถุอันตรายยิ่งต้องให้ความปลอดภัยสูงมาก
แล้วจะทำอย่างไร ถึงจะเริ่ม safety ได้ >>> เริ่มจาก Top Management ต้องออกมาเป็นนโยบายการจัดการความปลอดภัย >>> ต้องมีการฝึกฝน ซ้อมแผนฉุกเฉินกันบ่อยๆ และจะฝึกซ้อมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (ตามกฏหมาย) ส่วนใหญ่แผนสินค้าทั่วไป ยังไม่เห็นแผนพวกนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกวัตถุอันตราย
ถ้าเป็น SME ต้องทำอย่างไรบ้าง 1. ถ้าเป็นโรงงานขนาดเล็ก ควรทำ Check List เพื่อที่ได้รู้ว่าทุกเช้าเราต้องตรวจสอบอะไรบ้าง เพื่อสร้างระบบ Monitering นิดหน่อยให้กับโรงงาน
2. ถ้าเป็นโรงงานขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย เราสามารถทำ Safety talk คุยกับผู้ปฏิบัติงานเช่น พนักงานขับรถ อาจมีการหยิบภาพผู้ประสบอุบัติเหตุ มาให้ดูเป็นอุทาหรณ์
การบริหารความปลอดภัย อย่าคิดว่าเป็นต้นทุน ให้คิดว่าเป็นการลงทุนที่ทำให้เกิดกำไร เพราะรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะเกิดค่าเสียโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าการที่เราเสีย ไปเพื่อการเตรียมตัวหรือป้องกัน

4. Satisfaction :

เนื่องจากธุรกิจนี้มีเกี่ยวเนื่องกับคนมาก จึงต้องทำอย่างไรให้คนที่ให้บริการ มี service mind ซึ่งเราถึงต้องมีการ traning ซึ่งจะ training อะไร น่าจะประกอบด้วย

1. หลักการให้บริการ โดยเฉพาะพนักงานขัยรถที่ถือว่าเป็น contact point พบลูกค้าบ่อยสุด
2. ความรู้เกี่ยวกับตัวสินค้า คืออะไร ควรระวังอย่างไร
3. การถ่ายทอดความต้องการของลูกค้า จากฝ่ายการตลาดหรือการขาย ถ่ายทอดมาถึงฝ่ายปฏิบัติการ หรือ logistic อย่ากั๊กข้อมูลกัน


เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่อง :
Logistic Cost

Comments