เห็นชื่อเรื่องแบบนี้ คงนึกว่าวันนี้ผมมาออกแนวฮาหรือเปล่า ก็ไม่มีไรครับ ขอตามกระแสกับเค้าหน่อย ที่ยอดดูตอนนี้เกิน 100 ล้านครั้งเข้าไปแล้ว มันช่างกังนัมสไตล์จริงๆ ว่าแต่....มาเข้าเรื่องของเราดีกว่า ที่ขึ้นชื่อว่า "กรีน นำ สไตล์" มีความหมายนะครับ ไม่ใช่จะบ้าตามกระแสอย่างเดียว แต่มันหมายถึง กระแสสีเขียว ที่กำลังอินเทรนด์สุดๆ ซึ่งตอนนี้หันไปทางไหนใครๆ ต่างก็ให้ความสนใจ โดยเฉพาะในแง่ของอุตสาหกรรมที่เป็นตัวการสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง จึงทำให้หลายประเทศทั่วโลกพยายามที่จะผลักดันในการเปลี่ยนประเทศตัวเองให้เป็น อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ให้ได้ เพื่อจะใช้เป็นอำนาจการต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศในอนาคต วันนี้เราจึงมาดูกันว่า ไอ้ที่ว่า ตอนนี้ ต้อง "กรีน นำ สไตล์" เท่านั้น กระแสแรงไปแล้วทั่วโลกเนี่ยะ มันเป็นอย่างไร แล้วทำไมต้องให้ความสำคัญกันด้วยนะ ว่าแล้วเราก็ไป ไป กรีน นำ ไตล์ กันดีกว่า
ตอนนี้ ต้อง "กรีน นำ สไตล์" เท่าั้นั้น
ตอนที่ 1 : ทำไมต้อง "กรีน นำ สไตล์"
ตอนที่ 2 : ตัวอย่าง Green Industry
เมื่อจะพูดถึง Green Industry ก่อนอื่นมาดูภาพนี้กันก่อนดีกว่า
เอ่ะ แล้วมันรอยทีน เอ้ย! รอยเท้าใครหว่า? .....
มันเป็นรอยเท้าของพวกเราชาวโลกนิ่แหล่ะครับ ที่อาศัยอยู่ตามประเทศต่างๆ ว่าตัวเราประเทศของเรามีการปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมาทำร้ายโลกมากน้อยแค่ไหน หรือที่เรียกว่า Carbon Emission นั่นเอง (หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องทำเป็นรูปรอยเท้าด้วย ตามไปอ่านกันได้ครับที่ Carbon Footprint) กลับมากันที่ Carbon Emission กันต่อ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดในระดับสากลที่ว่า ประเทศไหนทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน
จากรูปรอยเท้าข้างซ้าย ก็คือ ปริมาณคาร์บอนที่แต่ละประเทศได้ช่วยปล่อยออกมารมควันโลกกัน ทั้งหมดทั้งมวลก็มีประมาณ 3.4 หมื่นล้านตัน (ปี 2010) เราไปดู 5 อันดับแรกกันดีกว่าว่ามีประเทศอะไรบ้าง
อันดับหนึ่ง ก็ พี่จีนของเรานั่นเอง ประมาณ 8.24 พันล้านตัน
อันดับสอง ก็สหรัฐอเมริกา นิ่เป็นแชมป์เก่ามาหลายสมัย เพิ่งมาโดนพี่จีนแซงหน้าไปได้ในช่วงศตวรรษที่ 21 นี้แหล่ะครับ ปล่อยควันไปประมาณ 5.49 พันล้านตัน
อันดับสาม ก็อินตาระเดีย นะจ๊ะนายจ๋า ปล่อยควันไป 2.07 พันล้านตัน
อันดับสี่ ก็รัสเซีย ปล่อยควันไป 1.69 พันล้านตัน
อันดับห้า ญี่ปุ่น ปล่อยควันไป 1.14 พันล้านตัน
จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า กลุ่ม G20 จะมีการปล่อยก๊าซ คาร์บอน (CO2) ออกมาเป็นจำนวนมากมาย คิดเป็นประมาณ 80% ของก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาทั้งหมด (G20 ก็ประกอบด้วย กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 8 ประเทศ และกลุ่มประเทศระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market) ขนาดใหญ่อีก 11 ประเทศ และรวม EU เข้าไป จึงเป็น G20 ซึ่งขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G20 คิดเป็นประมาณ 90% ของเศรษฐกิจโลก และมีประชากรประมาณ 2 ใน 3 ของโลก)
อย่างนี้แปลว่าอะไร ??
งั้นต่อไปเศรษฐกิจยิ่งโต ประเทศต่างๆ พัฒนามากขึ้นๆ ก็ต้องมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมารมควันกันมากขึ้นงั้นรึ เพราะมองทางมุมเศรษฐกิจ ตัว GDP ก็ยังเป็นตัวชีวัดที่สำคัญซะด้วย บางประเทศที่เพิ่งพัฒนาหรือกำลังพัฒนา ยกตัวอย่างง่ายๆ เลยนะ ก็กลุ่มประเทศ AEC ที่ยังไงก็ต้องมีการลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ในกลุ่มประเทศเหล่านี้มากขึ้นไปอีกอย่างแน่นอน แต่อาจจะไม่ได้ให้ความสนใจกับการปล่อยก๊าซสักเท่าไหร่ ก็จะเป็นไรไปละ ฉันมันเป็นประเทศเล็กๆ ปล่อยก็ออกมาไม่แยะ ไปจัดการประเทศที่ปล่อยออกมาหนักๆ มากๆ ไม่ดีกว่าหรอ ซึ่งถ้าคิดแบบนั้นก็ถือว่ามองแต่มุมของตัวเอง เพราะถ้ามองอีกมุมหนึ่ง (ที่ควรจะต้องมองด้วยซ้ำ) คนปล่อยอาจจะปล่อยน้อย แต่คนรับมันรับอยู่คนเดียว หลายคนปล่อยถึงแม้จะน้อย พอมารวมของที่มันมีมากอยู่แล้ว คนรับคนเดียวก็คือโลกของเราจะไหวหรอ
โดย กลุ่มประเทศ AEC (สมาชิกรวม 10 ประเทศ) มีการปล่อยก๊าซคาร์บอน (Carbon Emission) รวมกันประมาณ 1.3 พันล้านตัน ประมาณ 4% จากการปริมาณการปล่อยควันทั้งหมดของโลก ซึ่งนำโดย อินโดนีเซีย 476 ล้านตัน, ไทย 321 ล้านตัน และ มาเลเซีย 234 ล้านตัน เอ่อ เมื่อมารวมกันแล้วก็มากอยู่เหมือนกันนะ กลุ่ม AEC เนี่ย ถ้าดูเป็นอันดับโลก จะขึ้นไปอยู่ที่ห้า แทนญี่ปุ่นเลยนะนั่น
เพราะฉะนั้น จึงเป็นคำถามว่า สำหรับประเทศหรือกลุ่มประเทศเล็กๆ ที่เริ่มจะมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น ควรจะทำอย่างไรละ ถามง่าย ก็ตอบง่ายๆ เลยว่า ก็ควรใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมนะสิ เพราะอย่างที่บอกไอ้ตัว Carbon Emission เนี่ย จะถูกใช้เป็นอำนาจการต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศแน่ในอนาคต ถ้าเรายังไม่อยากเป็นแค่โรงงานนรก ที่เป็นฐานผลิตให้ประเทศที่มีการปล่อยควันพิษมาก แล้วจะลดการปล่อยด้วยการกระจายโรงงานต่างๆ มาผลิตในแถบนี้แทน (นรกจริงๆ ด้วย) ก็คงต้องหันมาให้ความใส่ใจกันอย่างจริงจัง
อย่างปัจจุบันนี้ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ ต่างหันมาให้ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น โดยผลักดันให้เป็นวาระแห่งโลกเลย (วาระแห่งชาติคงไม่พอ) เพื่อที่จะควบคุมและลดปริมาณการปล่อยควันพิษออกมาสู่โลกของเรา พร้อมๆ กับการที่จะผลักดันตัวเองให้กลายเป็น Green Industry (นิ่ ควบคุมกันแล้วหรอเนี่ยะ)
เอ่ะ ยังมีรอยเท้าข้างขวาที่ยังไม่ได้พูดถึงนิ่....
อันนี้ก็เป็นการปล่อยสารคาร์บอนเหมือนกัน แต่เป็นการดูในลักษณะต่อหัว (Carbon emission per capita) จะเห็นได้ว่า จีนที่มีปริมาณปล่อยควันพิษมาเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ด้วยจำนวนประชากรในประเทศที่มาก (น่าจะประมาณสัก 1,350 ล้านคน 20% ของประชากรทั้งหมดทั่วโลก) จึงทำให้ปริมาณปล่อยควันพิษต่อหัวของจีน จึงยังน้อยอยู่ จะเห็นได้ว่า กลายเป็นตาปลาเล็กๆ ด้านขวาบนของเท้าแทน ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 6.15 ตันต่อคน ส่วนอเมริกาอยู่ที่ 17.56 ตันต่่อคน ส่วนอินเดียอยู่ที่ 1.7 ตันต่อคน เท่านั้น
แต่เราลองมาดูประเทศที่มีปริมาณปล่อยสารคาร์บอนต่อหัวมากสุด ก็คือ Gibraltar หรือ ยิบรอลตาล์ เอ่ะ มันเป็นประเทศหรือเปล่าเนี่ยะ เคยได้ยินแต่ช่องแคบยิบยอลตาล์ น่าจะเป็นที่เดียวกัน (ประวัติความเป็นมา จะเป็นอย่างไรลองหาอ่านกัันได้ wikipedia ครับ) โดยการที่ Gibraltar มีปริมาณปล่อยควันพิษต่อหัวมาก ก็เนื่องจาก มีการนำเข้าสินค้้าอุตสาหกรรมจำนวนมากนั่นเอง แต่พอมองเป็นประเทศแล้ว โห่ะ เล็กเหมือนเสี้ยนตำเท้า เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า การพยายามที่จะเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็หนีไม่พ้นที่จะต้องพึ่งพิงภาคอุตสาหกรรมที่ต้องผลิต ผลิต แล้วก็ผลิต (ทั้งสินค้าและพลังงาน) ฉะนั้น ก็เหมือนเป็นตัวการที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามไปด้วย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเรามีการเติบโตทางเศรษฐกิจ แล้วก็สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมพร้อมกันไปด้วย ไว้คราวหน้าเราจะมาดูกันว่า ในหลายๆ ประเทศเค้าได้ตื่นตัวและได้เริ่มทำอะไรกันไปแล้วบ้าง เพื่อที่จะเข้ากระแส "กรีน นำ สไตล์"
Comments
Post a Comment